วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

ท่านศาสดา ณ มาดีนะฮฺ

เมื่อท่านศาสดาได้มาอยู่ที่เมืองยัษริบแล้ว เมืองนั้นก็ได้รับขนานนามใหม่เป็นมะดีนะตุนนะบี (Madinat-un-nabi) หรือเมืองแห่งศาสดา ภารกิจแรกที่ท่านศาสดาทำที่เมืองนี้ก็คือสร้างมัสญิดขึ้นหนึ่งหลังซึ่งท่านได้ลงมือทำงานเองเหมือนกรรมกรคนหนึ่ง มัสญิดหลังนี้เป็นสถานที่แห่งแรกที่มุสลิมมาทำการนมัสการร่วมกันเมื่อตั้งตัวขึ้นที่มะดีนะฮ์ได้แล้วท่านศาสดาจึงได้พาครอบครัวของท่านไปอยู่ที่นั่นด้วย
ประชาชนที่มะดีนะฮ์
ในสมัยนั้นมะดีนะฮ์ประกอบด้วยกลุ่มคนหลายกลุ่ม สานุศิษย์ผู้จงรักภักดีต่อท่านศาสดาซึ่งได้ละทิ้งบ้านช่องติดตามท่านมายังมะดีนะฮ์เรียกกันว่ากลุ่ม มุฮาญิรูน (Muhajirun) หรือ “ผู้ลี้ภัย” ผู้รับศาสนาใหม่ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือท่านศาสดาในเวลาทุกข์ยาก เรียกว่า กลุ่มอันศอร (Ansar) หรือ “ผู้ช่วยเหลือ”
นอกจากช่วยเหลือท่านในยามคับขันแล้วคนเหล่านี้ยังเสียสละเงินทองในหนทางแห่งอิสลามอีกด้วย พวกเขาจัดหาบ้านเรือนและทรัพย์สมบัติให้แก่พวกลี้ภัย ความเป็นพี่น้องระหว่างพวกมุฮาญิรูนกับพวกอันศอรฺนั้นได้เป็นไปอย่างลึกซึ้งกระทั่งสามารถรับมรดกของกันและกันได้เวลาคนหนึ่งคนใดสิ้นชีวิตไป ส่วนพวกที่ยังไม่ยอมรับศาสนาใหม่ก็เงียบอยู่ในขณะที่ท่านศาสดามาถึงใหม่ๆจนดูเหมือนกับว่า ประชาชนชาวมะดีนะฮ์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้มีศรัทธาหรือไม่ ต่างก็พร้อมที่จะให้ความปกป้องท่านศาสดา แต่เมื่ออิสลามเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นกลุ่มอำนาจที่เป็นเอกเทศแยกออกไป บรรดาผู้ที่ถือรูปเคารพทั้งหลายต่างก็พากันอิจฉาริษยา มีบางคนที่ทำทีเป็นเข้ารับอิสลาม แต่ภายในนั้นตั้งใจที่จะต่อต้านท่านศาสดาอยู่อย่างลับๆพวกนี้เรียกว่าพวกมุนาฟิกูน (Munafikun) หรือพวกที่ขาดความจริงใจ คนเหล่านี้เป็นคนที่มีอันตรายมากยิ่งกว่าศัตรูที่เปิดเผยเสียอีก ส่วนชาวยิวในมะดีนะฮ์นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือตอนแรกพวกเขาร่วมกันกับชาวมะดีนะฮ์ในการต้อนรับท่านศาสดาเป็นอันดี และเพื่อที่จะรักษาความสัมพันธ์อันดีกับพวกยิวเหล่านั้นไว้ท่านศาสดาจึงได้รับเอาขนบธรรมเนียมและพิธีการบางอย่างของพวกเขามาใช้ด้วย ในขั้นแรกพวกยิวคิดว่าคงจะชักชวนท่านศาสดามาเข้าเป็นพวกของตนได้ แต่เมื่อภายหลังได้พบว่าพวกเขาไม่อาจจะทำได้ พวกเขาจึงค่อยๆถอนความช่วยเหลือออกไปทีละน้อยๆและได้กลายเป็นศัตรูของอิสลามไปในที่สุด
สถาบันทางการเมือง
 ท่านศาสดาได้พยายามเลิกการถือเผ่าโดยการรวมประชาชนในมะดีนะฮ์เข้าเป็นกลุ่มเดียวกันและใช้ชื่อร่วมกันว่าอันศอรฺหรือผู้ช่วยเหลือ เพื่อที่จะเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพวกอันศอรฺกับพวกมุฮาญิรูนให้ใกล้ชิดสนิทสนมกันยิ่งขึ้น
ท่านศาสดาจึงได้สร้างความรู้สึกว่าเป็นพี่น้องขึ้นระหว่างคนเหล่านั้น ท่านแลเห็นความจริงที่ว่าอาณาจักรอิสลามจะมีรากฐานที่แข็งแรงไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการค้ำจุนจากประชาชนทุกฝ่าย ความมีขันติต่อศาสนาอื่นๆ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในเมื่อมีคนหลายเผ่าหลายชาติอาศัยอยู่รวมกัน ด้วยวัตถุประสงค์นี้ท่านศาสดาจึงได้ตั้งระเบียบขึ้นเรียกว่า “ธรรมนูญแห่งมะดีนะฮ์” ซึ่งเป็นระเบียบเพื่อการเลิกล้มการอาฆาตพยาบาทกันระหว่างเผ่าและเพื่อให้สิทธ์ต่างๆแก่ประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะชาวยิวที่อาศัยอยู่ในมะดีนะฮ์และรอบๆมะดีนะฮ์
เนื้อความสำคัญในธรรมนูญนั้นมีอยู่ดังนี้
1. ชุมชนทั้งหลายที่ลงนามในพันธะสัญญา นี้จักเป็นชาติเดียวกัน
2. ถ้ากลุ่มชนใดที่ลงนามในพันธะสัญญานี้ถูกข้าศึกศัตรูรุกราน ชนกลุ่มอื่นจะรวมกำลังกันช่วย ทำการปกป้อง
3. จะไม่มีกลุ่มชนใดในชาติเดียวกันนี้ไปทำสนธิสัญญาอย่างลับๆกับพวกกุร็อยช์ หรือให้ที่พึ่งพาอาศัยแก่คนเหล่านั้นให้ต่อต้านชาวมะดีนะฮ์
4. ชาวมุสลิม ชาวยิว นับตั้งแต่นี้ไปการทำให้เลือดตกยางออก การฆ่าและความรุนแรงต่างๆถือว่าเป็นสิ่งหะรอม (น่ารังเกียจ) ในมะดีนะฮ์ และชุมชนอื่นๆ ของสาธารณรัฐนี้ ย่อมมีอิสระที่จะนับถือศาสนาของตนได้โดยไม่มีใครขัดขวาง
5. การกระทำผิดส่วนตัวเล็กๆน้อยๆของผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจะต้องถือว่าเป็นความผิดส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่บุคคลนั้นอยู่
6. ผู้ที่ถูกกดขี่จะต้องได้รับการปกป้อง
7. นับตั้งแต่นี้ไป การทำให้เลือดตกยางออกการฆ่าและความรุนแรงต่างๆถือว่าเป็นสิ่งหะรอม(น่ารังเกียจ) ในมะดีนะฮ์
8. ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ศาสดาแห่งพระผู้เป็นเจ้าจะเป็นประธานของสาธารณรัฐ และจะเป็นศาลอุทธรณ์สูงสุดในดินแดนนี้
ความสำคัญของธรรมนูญนี้อยู่ตรงที่ว่าเป็นธรรมนูญฉบับแรกในโลกที่เขียนไว้เป็นลักษณ์อักษร ก่อนหน้าท่านศาสดาได้มีผู้ปกครองจำนวนมากที่ทำการปกครอง แต่ก็ไม่มีใครเคยให้รัฐธรรมนูญที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ประชาชนของตน
ท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นคนแรกที่ประจักษ์ถึงความสำคัญของ ความร่วมมือและการให้ความสำคัญต่อประชาชนในการบริหารรัฐและการรักษาสัญญานี้ยังได้แสดงให้เห็นด้วยว่าท่านศาสดามุฮัมมัดมิใช่เป็นแต่นักสั่งสอนศาสนาเท่านั้นแต่ยังเป็นรัฐบุรุษที่เป็นนักปกครองที่ดีด้วย
สถาบันศาสนา
ครั้งแรก ชาวมุสลิมได้รับเชิญเป็นส่วนตัวให้ไปมัสญิดเพื่อทำการนมัสการ เนื่องจากว่าการประกาศเรียกให้มุสลิม มาทำนมัสการอย่างโจ่งแจ้งนั้นอาจจะเป็นการเพิ่มความเป็นศัตรูแก่บรรดาผู้นับถือรูปเคารพทั้งหลายได้มีการประชุมพิเศษกันครั้งหนึ่งภายใต้การนำของท่านศาสดา
อุมัรได้บอกท่านศาสดาถึงเรื่องที่ท่านฝันไปว่าท่านได้รับคำสอนให้เรียกบรรดามุสลิมมานมัสการกันโดยการอะซาน (การเชิญชวนสู่พิธีนมาซ) บิลาลเป็นท่านแรกที่ทำหน้าที่อะซาน นับตั้งแต่นั้นมาได้กำหนดเวลาทำการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า (นมาซ) ไว้ห้าเวลาด้วยกัน และการนมาซในวันศุกร์ก็เป็นไปในรูปสาธารณะยิ่งขึ้นซึ่งบรรดาผู้ศรัทธาจะมาร่วมกัน ครั้งแรกผู้นมาซจะหันหน้าไปทางกรุงเยรูซาเล็ม แต่เมื่อท่านศาสดาได้พบว่าอิสลามไม่อาจจะไปกับศาสนาจูดายได้ท่านจึงได้เปลี่ยนกิบลัต (คือทิศทางที่หันหน้าไปเวลาทำนมัสการ) เสียใหม่โดยให้หันหน้าไปทางเมืองมักกะฮ์คือสถานกะอ์บะฮ์แทน
สถาบันทางสังคม การทำสุนัต (Cirumcise) มีอยู่แล้วในบรรดาชาวอาหรับ โดยถือว่าเป็นพิธีการ ตามศาสดาของศาสนาอิบรอฮิม (อับราฮัม) ท่านศาสดาได้ให้ประชาชนของท่านปฏิบัติต่อไป ได้มีการนำเอากฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงานใหม่การหย่าและการรับมรดกทรัพย์สินมาใช้ ล้มเลิกการดื่มสุรา การพนัน การปล้นสดมภ์ และการปฏิบัติที่เลวทรามอื่นๆ
สงครามบัดร์ (Badr`war)
ท่านศาสดาได้ทำสงครามสู้รบกับพวกกุร็อยช์หลายครั้งหลายหน ครั้งที่สำคัญที่สุดและเป็นครั้งแรกก็คือสงครามบัดร์ สาเหตุของสงคราม ตอนนี่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้เป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสิทธ์ขาดของมะดีนะฮ์แล้ว ในระหว่างหกเดือนแรกที่อยู่ที่มะดีนะฮ์ท่านอยู่โดยสงบโดยไม่ถูกรบกวนแต่เมื่อท่านมีอำนาจมากขึ้นพวกกุร็อยช์ก็มีความอิจฉาริษยาและมีความเป็นปรปักษ์ต่อท่านมากขึ้นทุกทีจนถึงกับพยายามที่จะทำอันตรายท่านและสานุศิษย์ของท่านรวมทั้งชาวมะดีนะฮ์ที่ให้ที่พักอาศัยแก่ท่านและบรรดามุสลิมทั้งหลายในเมืองนั้นด้วย โดยถือว่าคนเหล่านั้นเป็นคนทรยศ ควรถูกลงโทษพร้อมกับท่านศาสดา ถึงแม้ว่าประชาชนชาวมะดีนะฮ์จะยอมรับว่าท่านเป็นศาสดาผู้เผยแพร่ศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าก็ตาม แต่กระนั้นก็ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีความระแวงสงสัยและริษยา พวกนี้ไม่อาจทนเห็นศาสดามีอำนาจขึ้นมาได้จึงทำงานกันอย่างลับๆที่จะขับไล่ท่านออกจากเมือง คนพวกนี้ได้ร่วมมือกับพวกกุร็อยช์ ภายใต้การนำของอัดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัยยะฮฺ (Abdullah Umayyah) ผู้หวังว่าจะตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดิน แต่ความหวังของเขาลดน้อยลงเมื่อท่านศาสดามาถึง ความร่วมมือของพวกมุสลิมแต่ในนามในเมืองนั้นได้ช่วยทำให้ฝ่ายศัตรูมีกำลังเข้มแข็งยิ่งขึ้น พวกยิวก็ได้เริ่มคบคิดกับพวกกุร็อยช์อย่างลับๆเหมือนกันในอันที่จะคอยขัดขวางมิให้ท่านศาสดามีอำนาจมากขึ้นได้ พวกกุร็อยช์ มักจะคอยดักปล้นสะดมคนเดินทางอยู่ที่นอกเมืองมะดีนะฮ์บ่อยๆ ท่านศาสดาได้ส่งกลุ่มคนเก้าคนโดยมีอับดุลลอฮ อิบนุ ญะฮฺช์ (Abdullah ibn Jahsh) ออกไปคอยจับตาดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายศัตรู คนกลุ่มนั้นได้เข้าโจมตีกองคาราวานของพวกกุร็อยช์ที่นัคละฮ์ (Nakhlah) ใกล้เมืองมักกะฮ์ และฆ่าอัมร์ บิน ฮัฎรอมี (Amr bin Hazrami) หัวหน้าพวกกุร็อยช์ตาย เหตุการณ์ที่นัคละฮ์นี้ทำให้ความเป็นปรปักษ์ของสองฝ่ายทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ครั้งหนึ่งมีข่าวลือมาว่ากองคาราวานนั้นกลับมาจากซีเรีย เป็นเหตุให้พวกกุร็อยช์ส่งกองทัพใหญ่โดยมีอบูญะฮัล (Abu Jahl) เป็นผู้นำมาโจมตีกองคาราวานของอบูซุฟยาน ในขณะที่กลับจากซีเรียดังนั้นสงครามระหว่างฝ่าย กุร็อยช์กับฝ่ายท่านศาสดาจึงได้เกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง กองทัพทั้งสองฝ่ายคือของท่านศาสดาและฝ่ายพวกกุร็อยช์ต่างก็เคลื่อนที่ตรงไปยังเมืองบัดร์ซึ่งอยู่ห่างจากมะดีนะฮ์เพียงไม่กี่ไมล์ ท่านศาสดาสั่งให้ตั้งทัพอยู่ใกล้กับเนินเขาอัล อาริช (Al-`Arish) และเพื่อจะตัดน้ำจากฝ่ายข้าศึกซึ่งตั้งทัพอยู่ทางด้านใต้ของหุบเขา ท่านจึงได้สั่งขุดบ่อขนาดใหญ่ขึ้นหลายบ่อให้น้ำไหลกลับเข้ามาในบ่อเหล่านั้นทั้งนี้มิใช่เพียงเพื่อกั้นไว้ให้ฝ่ายมุสลิมใช้ด้วย ตอนเช้าตรู่ของ วันที่ 13 มีนาคม คศ. 624 ท่านศาสดาได้จัดทัพและให้คำแนะนำแก่พวกทหารของท่านก่อนจะเคลื่อนทัพไป ท่านได้วิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าขอให้มีชัยชนะต่อกองทัพอันมหาศาลของฝ่ายข้าศึกตอนนั้นฝ่ายมุสลิมมีจำนวนคนเพียง 313 คนที่จะต่อสู้กับฝ่ายกุร็อยช์ซึ่งมีกำลังถึงพันคน
ตามธรรมเนียมของอาหรับ นายทัพของทั้งสองฝ่ายจะต้องต่อสู้กันตัวต่อตัว นายทัพของฝ่ายกุร็อยช์มีชัยบะฮฺ อุตบะฮฺ และวะลีด บิน อุตบะฮฺได้ท้าทายนายทัพฝ่าย กุร็อยช์ ต่อสู้อย่างกล้าหาญแต่ก็แพ้และถูกฆ่าตายเกือบหมด กองทัพที่เหลือจึงหนีออกจากสนามรบและที่ถูกตามติดไปบ้างก็ถูกฆ่าตายบ้างก็ถูกจับตัวเป็นเชลยศึก อบูญะฮัล ผู้เป็นปรปักษ์ที่ร้ายกาจที่สุดของท่านปฏิบัติต่อเชลยศึกที่ไม่มีเสื้อผ้า และพวกเขาได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารเช่นเดียวกับฝ่ายมุสลิม มุสลิมบางคนถึงกับสละขนมปังให้เชลยศึกกินส่วนตัวเองกินเพียงอินทผลัม ต่อมาท่านศาสดาก็ตัดสินใจที่จะปล่อยเชลยศึกไปโดยให้มีการเสียค่าไถ่แม้แต่ญาติของท่านเองก็มิได้ละเว้น เชลยศึกที่รู้หนังสือก็สอนหนังสือให้แก่ เด็กชายมุสลิมสิบคนแทนการเสียค่าไถ่ ส่วนพวกที่ยากจนไม่มีเงินค่าไถ่ก็ได้รับการปล่อยตัวไปโดยสัญญาว่าจะไม่เป็นศัตรูกับมุสลิมอีกซึ่งไม่เคยมีมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์
 ท่านศาสดาได้สั่งให้สานุศิษย์ของท่านปฏิบัติต่อเชลยศึกอย่างเมตตาปราณี เชลยศึกที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่ก็ได้รับแจกเสื้อผ้าและพวกเขาได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารเช่นเดียวกับฝ่ายมุสลิม ผลของครามบัดร์เป็นเหตุการณ์ที่มีความหมายต่อชะตากรรมของอิสลามอย่างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสลาม เพราะหากฝ่ายมุสลิม ไม่สามารถเอาชนะสงครามครั้งนี้ได้ อิสลามก็อาจจะถูกกวาดล้างให้สูญไปจากโลกนี้เลยก็ได้ ชัยชนะในสงครามครั้งนี้ได้ให้ความหวังแก่ชาวมุสลิมและเป็นกำลังใจแก่พวกเขาเป็นอย่างมาก ในสงครามนี้อำนาจของพวกกุร็อยช์ก็ถูกทำลายลงและความหยิ่งผยองของพวกเขาก็ลดลงไปด้วย ในขณะที่อิทธิพลของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และอำนาจของอิสลามเริ่มมีมากขึ้นตลอดไปถึงอาณาบริเวณนอกเมืองมะดีนะฮ์ด้วย สงครามครั้งนี้ยังมีผลกระทบกระเทือนอย่างหนักต่อชาวยิวและชนเผ่าใกล้เคียงคือเบดูอินพวกเขาได้รู้ว่าบัดนี้ได้มีพลังอันไม่อาจจะเอาชนะได้เกิดขึ้นแล้วในอารเบีย แต่ก่อนนี้พวกยิวไม่ได้ให้ความสำคัญอันใดแก่ชาวมุสลิมนักแต่เดี๋ยวนี้พวกเขาเริ่มรู้ถึงความเข้มแข็งของมุสลิมผนึกกำลังของอิสลามในมะดีนะฮ์และทำให้พวกเขาต่อสู้กับผู้คนที่ปราศจากหิริโอตปะในเมืองนั้นได้อย่างไม่หวั่นหวาด
สงครามอุฮุด (Uhud)
พวกกุร็อยช์ไม่อาจจะลืมความพ่ายแพ้อย่างยับเยินที่ฝ่ายตนได้รับในสงครามบัดร์ได้ทำให้หัวหน้าบางคนของพวกเขาอย่างเช่นอบูญะอฺช์และอุตบะฮ์ได้ถูกฆ่าตายไปในการต่อสู้ครั้งนั้น
นับแต่นั้นมาก็มีเสียงกู่ก้องแก้แค้น ดังขึ้นทั่วหุบเขาแห่งมักกะฮ์ นอกจากนั้นการที่พวกลูกหลานของฮาชิมมีอำนาจสูงขึ้นภายใต้การนำของท่านศาสดาก็ยังเป็นที่บาดใจของพวกอุมัยยะฮ์ (Umayyad) อีกด้วย ดั้งนั้นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนสองสาขาของตระกูลกุร็อยช์คือพวกฮาชิมกับอุมัยยะฮ์จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ในปีที่ แห่ง ฮิจญ์เราะฮ์พวกกุร็อยฮ์ได้เคลื่อนกองทัพมีจำนวน 3000 คน ภายใต้การนำของอุบูซุฟยานตรงมายังมะดีนะฮ์ หลังจากเดินมาได้สิบวันก็มาถึงหุบเขาอะกีก (Akik) ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของมะดีนะฮ์ประมาณห้าไมล์และได้ตั้งค่ายอยู่ที่เชิงเขาอุฮุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม คศ. 625 ภูเขาอุฮุดอยู่ทางเหนือของมะดีนะฮ์ ภายในภูเขามีถ้ำกว้างพอที่จะบรรจุคนได้หลายพันคน
เมื่อท่านศาสดาได้ข่าวว่า กองทัพพวกกุร็อยช์เคลื่อนมาจึงได้สั่งให้สานุศิษย์ของท่านเตรียมตัวไว้ ท่านศาสดาต้องการจะรับศึกจากในเมือง แต่บรรดาคนทั้งหลายนั้นกระตือรือร้น ใคร่จะออกไปรับมือข้าศึกที่นอกเมืองเป็นเหตุให้ท่านศาสดาต้องตัดสินใจ ฝ่ายมุสลิมจึงได้เริ่มยกทัพซึ่งมีจำนวนคนหนึ่งพันคนออกไปแต่ในระหว่างทางอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุบัยด์ (Abdul lan Ubay) กับพรรคพวกของเขาจำนวน 300 คนได้ละทิ้งกองทัพไปเสีย กองทัพของฝ่ายมุสลิมจึงเหลือคนอยู่เพียง 700 คนในเช้าวันเสาร์กองทัพ ของมุสลิมก็ถึงที่ราบทะเลทรายใต้ยอดเขาอุฮุดเช้าวันรุ่งขึ้นท่านศาสดาก็เดินทัพอ้อมภูเขาอุฮุดและใช้ถ้ำในภูเขาเป็นที่ตั้งค่ายทหารท่านตัดสินใจที่จะต่อสู้ตรงส่วน โค้งด้านนอกของภูเขาและได้สั่งให้ทหารธนูจำนวน 50 คนเข้าประจำที่บนเนินเขาอัยน์ (Ainain) ทหารแม่นธนูเหล่านี้ร่วมกับทหารม้ากองเล็กๆจะเป็นผู้คอยคุ้มครองทางผ่านระหว่างภูเขาอุฮุดกับเนินเขาอัยนัยน์ไม่ให้ฝ่ายข้าศึกโจมตีมาจากด้านหลังกองทัพของฝ่ายมุสลิมมาถึงแล้วก็ออกมารับมือด้วยกองทหารราบทั้งหมดกับกองทหารม้าอีกครึ่งกอง ภายใต้การนำของคอลิด บิน วะลีด (Khalid bin Walid) จะอ้อมไปโจมตีฝ่ายมุสลิมจากด้านหลัง
ในระหว่างการสู้รบ ตอนแรก ฝ่ายมุสลิมได้ชัยชนะหลายครั้ง แต่ยังไม่ทันที่การรบจะสิ้นสุดลง ทหารธนูก็ละทิ้งหน้าที่ไปเที่ยวแย่งชิงข้าวของของฝ่ายข้าศึกโดยคิดว่าการรบเสร็จสิ้นลงแล้ว กองทัพฝ่ายมุสลิมจึงระส่ำระสายไม่เป็นระเบียบคอลิดเห็นได้โอกาสจึงเข้าโจมตีกองทัพมุสลิมจากด้านหลังเมื่อไม่มีทางสู้ทหารฝ่ายมุสลิมจึงพากันแตกหนีจากสนามรบ ท่านศาสดาพยายามที่จะนำพวกเขากลับมาแต่ก็ไม่สำเร็จในขณะนั้น อิบนุ กะมีอะฮฺ (lbn Kamia) วีรบุรุษของฝ่ายกุร็อยช์ได้ขว้างก้อนหินมายังท่านศาสดาจนฟันหน้าของท่านหักไปหนึ่งซี่ท่านล้มลงกับพื้น จึงมีข่าวลือไปว่าท่านศาสดาถูกฆ่าเสียแล้ว อันที่จริงนั้นท่านเพียงแต่ตกตะลึงไปเท่านั้น
ต่อมาครู่หนึ่งก็มีผู้มาช่วยอุ้มท่านขึ้นและช่วยให้ไต่เข้าไปซ่อนในถ่ำในภูเขาอุฮุดซึ่งกองทัพส่วนใหญ่ของท่านกำลังรออยู่ฝ่ายมุสลิมเจ็ดสิบคนถูกฆ่าตายรวมทั้งฮัมซะฮ์ด้วย นางฮินด์ (Hind) ซึ่งเป็นภรรยาของอบูซุฟยานได้ผ่าท้องท่านฮัมซะฮฺแหวะเอาลำไส้ของท่านมากินเพื่อแก้แค้นที่ท่านเป็นคนฆ่าสามีของนางตายในสงครามบัดร์
เมื่ออบูซุฟยานรู้ว่าท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่เขาก็ต้องการจะสู้กับท่านอีกในสนามรบบัดร์ และแล้วกองทัพของท่านศาสดาก็ตีทัพของเขาล่าถอยไปสงครามครั้งนี้รู้จักกันในนามของสงครามบัดร์ครั้งที่สอง
สงครามคูเมือง
ถึงแม้ว่าฝ่ายมุสลิมจะพ่ายแพ้ในสงครามอุฮุด แต่ในเดือนต่อๆมาก็รวมกำลังกันได้เข้มแข็งกว่าเดิม พวกกุร็อยช์ยังต้องการที่จะเข่นฆ่าพวกมุสลิมอยู่ต่อไป พวกเบดูอินซึ่งไม่ชอบใจที่ท่านศาสดาคอยขัดขวางไม่ให้พวกเขาคอยดักปล้นสะดมคนเดินทางจึงเข้าสมทบกับพวกกุร็อยช์ด้วยหลังสงครามอุฮุด พวกยิวเผ่าลูกหลานของนะฎิรในเมืองมะดีนะฮ์ได้ถูกขับไล่ออกจากเมืองเพราะทำการทรยศและประพฤติมิชอบจึงได้คบคิด กับพวกกุร็อยช์และพวกเบดูอินต่อต้านมุสลิมแต่พวกเขาไม่ได้มีส่วนโดยตรงในการเข้ายึดมะดีนะฮ์
ในปี คศ. 627 พวกกุร็อยช์ เบดูอินและยิวรวมหัวกันตกลงจะโจมตีเมืองมะดีนะฮ์จึงยกกองทัพใหญ่ประกอบด้วยคน 10,000 คน พร้อมด้วยม้า 600 ตัวมาภายใต้การนำของอบูซุฟยาน เมื่อท่านศาสดาได้ข่าวข้าศึกก็รวบรวมกำลังคนได้ 3000 คน เพื่อรับเข้าศึกด้วยคำแนะนำของซัลมาน อัลอัสอารี ท่านศาสดาได้ให้ขุดคูยาวล้อมเมืองไว้ และสั่งให้ผู้คนที่อยู่นอกเมืองเข้ามารวมกันอยู่ในเมืองส่งพวกผู้หญิงและเด็กๆไปไว้ในหอคอยและป้อมต่างๆ  การโจมตีของกุร็อยช์ไม่ได้ผลแสดงถึงความอ่อนแอของทหารของฝ่ายนั้นศักดิ์ศรีของพวกกุร็อยช์จึงเสื่อมคลาย ผลของสงครามคูเมืองเป็นเสมือนหัวเลี้ยวหัวต่อในประวัติศาสตร์อิสลาม ตรงกันข้าม ชัยชนะในสงครามทำให้ท่านศาสดามีเกียรติยศสูงส่งขึ้นอีกในฐานะเป็นผู้ป้องกันเมืองไว้จากการรุกรานของศัตรูได้บัดนี้ชาวเมืองมะดีนะฮ์จึงถือว่าท่านเป็นผู้ปกครองเมืองนั้นอย่างเด็ดขาด ชัยชนะที่ฝ่ายมุสลิมอีกด้วย นับตั้งแต่นั้นมาอิสลามก็ได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว ในท่ามกลางชนเผ่าใกล้เคียง
ในปี คศ. ที่ 6 ท่านศาสดาได้ทำสัญญากับชาวคริสเตียน อันเป็นเหตุการณ์ที่มีขันติธรรมอย่างแท้จริงของท่าน ชาวคริสเตียนเหล่านั้นจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีอย่างอยุติธรรม พระของพวกเขาก็จะไม่ถูกขับไล่ออกจากโบสถ์ชาวคริสเตียนที่จะไปแสวงบุญจะไม่ถูกโค่นทำลายเพื่อเอามาก่อสร้างมัสญิด หญิงคริสเตียนที่แต่งงานกับมุสลิมก็มีสิทธ์ที่จะยังคงนับถือศาสนาเดิมของตนได้ ในเมื่อมีการซ่อมแซมโบสถ์คริสเตียนมุสลิมจะต้องให้ความร่วมมือช่วยเหลือด้วย
สนธิสัญญาหุดัยบียะฮ์ (Huday biyah )
 เวลาผ่านไปได้หกปีแล้วที่ชาวมุสลิมได้ทิ้งมักกะฮ์มาเพื่อศาสนาของเขา นับตั้งแต่นั้นมาพวกเขา ก็ยังไม่มีโอกาสได้ไปทำฮัจญ์หรือเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาเลย หลังจากสงครามคูเมืองแล้วพวกมุสลิมต่างก็กระตือรือร้นอยากกลับไปเยี่ยมเยียนบ้านเกิดของพวกเขา ท่านศาสดารู้ถึงความปารถนาอันแรงกล้าของพวกเขาจึงได้ประกาศว่าท่านจะไปเยือนมักกะฮ์ในปี คศ.ที่ 6 (คศ.628) ท่านก็ได้เดินทางมุ่งไปมักกะฮ์ เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวน 1400 คน ขณะนั้นเป็นเดือนซุลเกาะดะฮ์ ซี่งการทำสงครามในเดือนนั้น ถือเป็นสิ่งผิดทั่วแหลมอารเบียแต่พวกกุร็อยซ์ ไม่ต้องการให้ท่านศาสดาเข้ามาในเมืองมักกะฮ์ และ ประกอบพิธีฮัจญ์ดังนั้นเมื่อรู้ว่าท่านมา พวกเขาก็รีบมาขวางทางใว้ ท่านศาสดาจึงวกไปทางอื่นและหยุดพักอยู่ที่สถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อว่าหุดัยบียะฮ์ซึ่งอยู่ห่างจากมักกะฮ์เก้าไมล์และเรียกประชุมบุคคลสำคัญๆ  ท่านจึงส่งท่านอุษมานไปบอกคนเหล่านั้นว่าท่านไม่มีความตั้งใจอย่างอื่นนอกจากจะมาทำฮัจญ์ แต่คนเหล่านั้นก็ยังยืนกรานความตั้งใจของพวกเขาอยู่ตามเดิม
ในขณะนั้นเกิดมีข่าวลือแพร่ออกไปว่าท่านอุษมานถูกพวกกุร็อยซ์ฆ่าตายเสียแล้ว จึงก่อให้เกิดความวุ่นวายอย่างใหญ่โตขึ้นในค่ายพักของชาวมุสลิม ท่านศาสดาได้นั่งลงใต้ต้นไม้ และ ขอให้สานุศิษย์ของท่านให้สัตย์ปฏิญาณว่าจะจงรักภักดีต่อท่าน คนเหล่านั้นต่างก็ทำตาม และประกาศว่าพวกเขาจะทำการต่อสู้เพื่อหนทางของอิสลาม แต่แล้วท่านอุษมานก็กลับมาหลังจากนั้นสองสามวัน
พวกกุร็อยซ์รู้สึกกลัว และในที่สุดก็ยอมตกลงกับมุสลิม ได้มีการทำสนธิสัญญาขึ้นระหว่างพวกกุร็อยซ์กับท่านศาสดา ในสนธิสัญญานั้นบ่งว่าทั้งสองฝ่ายจะผัดผ่อนการสงครามไปเป็นเวลาสิบปี ผู้ใดที่ปารถนาจะเข้าเป็นฝ่ายมุฮัมมัด หรือทำสนธิสัญญากับเขาก็มีเสรีภาพที่จะทำอย่างนั้นเช่นกัน ถ้าผู้ใดไปขอเข้าเป็นฝ่ายมุฮัมมัดโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของเขาเขาควรจะถูกส่งตัวกลับมาหาผู้ปกครองของเขา แต่ถ้าสาวกคนใดของมุฮัมมัดมาเข้าข้างฝ่ายกุร็อยซ์ แล้วเขาก็ไม่ต้องถูกส่งตัวกลับ ในปีนั้นมุฮัมมัดจะกลับไปโดยไม่แวะเข้ามักกะฮ์ ในปีหน้าท่านและผู้ติดตามจึงจะเข้าเมืองมักกะฮ์ได้เป็นเวลาสามวัน ในระหว่างนั้นพวกกุร็อยซ์จะออกจากเมืองไปและเปิดเมืองให้แก่ท่าน แต่พวกท่านศาสดาจะต้องไม่มีอาวุธติดตัวมาด้วยนอกจากสิ่งจำเป็นที่ผู้เดินทางต้องใช้เท่านั้น
สนธิสัญญาหุดัยบียะฮ์ เป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่สำหรับอิสลาม ข้อความในสนธิสัญญาแสดงความยิ่งใหญ่ของท่านศาสดา และความดีงามในวิถีทางของท่าน ถึงแม้ว่าดูภายนอกสนธิสัญญานี้จะทำให้ฝ่ายมุสลิมเสียเกียรติก็ตามมันก็ให้ประโยชน์แก่ท่านศสาดาเป็นอย่างมาก เพราะสนธิสัญญานี้รับรู้สถานภาพทางการเมืองของท่านในฐานะที่มีอำนาจเป็นอิสระแก่ตัว ยิ่งกว่านั้นเวลาสงบศึกสิบปีนั้นก็เป็นการให้เวลาและโอกาสแก่อิสลามที่ขยายออกไปได้อย่างแข็งแกร่งพอที่จะเอาชนะพวกกุร็อยซ์ได้ทั้งในด้านการเมืองและ ด้านจิตวิญญาณ ผลของสนธิสัญญานี้ก็คือมีผู้มาเข้ารับอิสลามมากขึ้นอย่างมากมาย นักรบผู้สามารถอย่าง คอลิด บิน วะลีด และอัมร์ บินอัส(Amr bin’As)ก็ได้มาเข้ารับอิสลามหลังจากที่ได้ทำสนธิสัญญาหุดัยบียะฮ์นี้
ในเมื่อท่านศาสดารู้สึกมั่นใจในตำแหน่งของท่าน ท่านก็ได้ส่งทูตไปยังผู้ปกครองแคว้นต่างๆของอารเบียเพื่อชักชวนให้เขาเหล่านั้นมาเข้ารับอิสลาม มีผู้ปกครองจำนวนมากที่เข้ารับอิสลาม แต่เจ้าผู้ครองเปอร์เซียกลับดูหมิ่นทูตที่ท่านศาสดาส่งไปและทูตอีกคนหนึ่งที่ถูกส่งไปยังเจ้าชายคริสเตียนแห่งดามัสกัสก็ถูกฆ่าตายอย่างทารุณ
การพิชิตค็อยบัร (khaybar)ในระหว่างขากลับจากหุดัยบียะฮ์ ในปีที่เจ็ดแห่ง คศ. ท่านศาสดาได้ทราบข่าวว่าชาวยิวที่เมืองค็อยบัรทำการขบถ นับตั้งแต่ถูกขับไล่จากมะดีนะฮ์มาพวกยิวก็มาอาศัยอยู่ทีค็อยบัรและ พยายามทำตัวเป็นศัตรูต่อชาวมุสลิมทุกวิถีทาง หลายครั้งหลายหนพวกเขาได้ปล้นสะดมทุ่งเลี้ยงสัตว์ของมุสลิมในเขตเมืองมะดีนะฮ์แล้วหลบหนีไปพร้อมด้วยสัตว์ที่ปล้นมา เพื่อที่จะลงโทษพวกเขา ท่านศาสดาได้นำกองทัพซึ่งมีจำนวนคน 1600 คน และม้า 200 ตัวไปโจมตีพวกยิวโดยไม่ทันรู้ตัว ป้อมปราการของยิวหลายแห่งตกอยู่ในมือของมุสลิม พวกยิวหมดทางสู้จึงขออภัยต่อท่าน ท่านศาสดาไม่เพียงแต่ยกโทษให้พวกศัตรูเท่านั้น แต่ยังคืนที่ดิน ทรัพย์สินพร้อมทั้งเสรีภาพในการนับถือศาสนาให้พวกเขาด้วยและกำหนดภาษีที่ดินที่พวกเขาจะต้องเสีย ให้เป็นไปอย่างยุติธรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างท่านศาสดากับชาวยิวท่านศาสดาได้ให้สัญญาแก่ชาวยิวซึ่งบ่งว่าพวกเขาจะได้รับประกันสิทธิทางการปกครองและศาสนา ชาวยิวก็ให้ประกันว่าพวกเขาจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่ชาวมุสลิม ยิ่งกว่านั้นพวกเขาจะช่วยมุสลิมด้วยถ้ามุสลิมถูกผู้ใดโจมตี
ก่อนที่ท่านศาสดาจะมายังเมืองมะดีนะฮ์ ชาวยิวในมะดีนะฮ์ก็รู้แล้วจากคัมภีร์ของเขาว่าจะมีศาสดามา และ เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัดมาอยู่ท่ามกลางพวกเขา พวกเขาก็รู้ว่านี่ต้องเป็นศาสดาที่ถูกกล่าวถึงนั่นเอง แต่แล้วพวกยิวก็มิได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ เมื่ออิสลามมีอำนาจมากขึ้นพวกเขาก็คิดว่านั่นเป็นความประสงค์ร้ายต่อความรุ่งเรืองทางด้านการค้าและเศรษฐกิจของพวกเขา ในไม่ช้าพวกเขาก็ลุกขึ้นต่อต้านอิสลาม ขั้นแรกพวกเขาพยายามจะก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่ชนเผ่าสำคัญๆในมะดีนะฮ์ ต่อมาพวกเขาก็ไปติดต่อกับพวกกุร็อยซ์แห่งมักกะฮ์ในระหว่างสงครามบัดร์ พวกยิวก็ไม่ได้ช่วยเหลือมุสลิมตามที่บ่งใว้ในสนธิสัญญา พอเสร็จสงครามบัดร์เท่านั้น ก็อบ(Qab) หัวหน้าชาวยิวก็ได้ประกาศเป็นศัตรูกับมุสลิมอย่างเปิดเผยและได้ติดต่ออย่างลับๆกับ อบูซุฟยานแห่งมักกะฮ์ และถึงกับพยายามจะฆ่าท่านศาสดาด้วย ในบรรดาชาวยิวสามกลุ่มคือกลุ่มบนู (ลูกหลานของ) กอยนุกออ์ บนูนาฏิร และบนูกุร็อยช์นั้น พวกบนูกอยนุกออ์ (Banu Quinukah1) เป็นพวกที่มั่งคั่งที่สุดและเป็นกลุ่มแรกที่ละเมิดสนธิสัญญา ท่านศาสดาพยายามที่จะเจรจากับพวกเขาโดยดีแต่ก็ไม่มีผลจึงต้องใช้กำลังทหารไป ล้อมยิวพวกกอยนุกออ์ไว้ และก็คือต้องขับไล่ชาวยิวออกจากเมืองมะดีนะฮ์ ในปีที่สามแห่ง ฮศ. ก็อบก็ถูกประหารชีวิต เนื่องจากทำการกบฏต่อมะดีนะฮ์และชาวมุสลิม
ในปีที่สี่แห่ง ฮศ. ชาวยิวกลุ่มบนูนะฏิร ได้วางแผนที่จะฆ่าท่านศาสดา พวกเขาได้คบคิดกับพวกกุร็อยช์จะแข็งข้อต่อมุสลิมในที่สุดจึงถูกขับไล่ออกจากมะดีนะฮ์ไป ชาวยิวกลุ่มบนูกุร็อยช์เป็นกลุ่มที่สามและกลุ่มสุดท้ายที่ทรยศ
ในระหว่างสงครามอุฮุดพวกเขาทรยศต่อมุสลิม ดังนั้นพวกเขาจึงได้รับการยกเว้นจากการเนรเทศ แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็ละเมิดคำสัญญาไปร่วมกับพวกกุร็อยช์อย่างเปิดเผยเพื่อที่จะต่อต้านมุสลิม และเร่งให้เกิดสงครามคูเมืองขึ้นในขณะที่มะดีนะฮ์ถูกล้อม พวกเขาก็ก่าอการร้ายขึ้นในเมืองจนถึงกับนองเลือด หลังจากสงคราม ยิวกลุ่มบนูกุร็อยช์ก็ถูกสั่งให้ออกจากเมืองไป แต่พวกเขาไม่ยอมทำตาม ท่านศาสดาจึงสั่งให้ล้อมที่อยู่ของพวกเขาใว้ ชาวยิวจึงยอมแพ้และขอเจรจาไกล่เกลี่ย ท่านศาสดาได้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจในพวกเขาเองเป็นคนพิจารณา ผลของการตัดสินปรากฏว่าผู้ชายสามสี่ร้อยคนถูกประหารชีวิต และคนที่เหลือก็ถูกเนรเทศไปยังซีเรีย เห็นได้ว่าชาวยิวทำการกบฏอย่างร้ายกาจ ซึ่งถ้าทำสำเร็จก็จะทำให้เกิดการฆ่าหมู่ชาวมุสลิม จึงสมควรได้รับโทษเช่นนั้น แต่กระนั้นท่านศาสดาก็ยังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะประนีประนอมกับพวกเขา แต่ทุกครั้งพวกเขากลับลอบทำร้ายชาวมุสลิมลับหลัง
ชาวยิวส่วนมากที่ถูกเนรเทศได้ไปอยู่ที่เมืองค็อยบัรใกล้เขตแดนซีเรีย พวกเขาเริ่มวางแผนร่วมกับพวกเบดูอินจะมารุกรานมะดีนะฮ์ พวกเขาทำการปล้นสะดมบ้านเรือน แย่งชิงเอาทรัพย์สมบัติไป ในปีที่เจ็ดแห่ง ฮศ. ป้อมปราการของพวกเขาที่ค็อยบัรก็ถูกทหารมุสลิมเข้าล้อมและยึดได้ พวกเขาได้รับอนุญาติให้อาศัยอยู่ที่นั่นได้อย่างเดิมแต่ต้องจ่ายเป็นผลิตผลบางอย่างเป็นบรรณาการให้แก่รัฐบาลกลาง แต่กระนั้นชาวยิวก็ยังไม่ล้มเลิกที่จะคิดร้ายต่อมุสลิมและท่านศาสดา ครั้งหนึ่งพวกเขาได้วางแผนฆ่าท่านโดยวางยาพิษแต่เคราะห์ดีที่ท่านปลอดภัย ท่านได้แสดงความปารถนาดีต่อพวกเขาอีกโดยมิได้ลงโทษแต่อย่างใด เพียงแต่คนที่วางยาพิษศาสดาคนเดียวเท่านั้นที่ถูกประหารชีวิต พวกเขายังคิดแผนการร้ายต่างๆ ต่อมุสลิมจนถึงสมัยของเคาะลีฟะฮฺ คนที่สองคือท่านอุมัร (Umar) จึงถูกขับไล่ออกจากซีเรียทั้งหมด นับแต่นั้นมาชาวยิวจึงไม่มีหลงเหลืออยู่ในอารเบียอยู่เลย
การทำฮัจญ์ในที่สุดเวลาที่ท่านศาสดาจะไปเยือนมักกะฮ์เพื่อทำฮัจญ์ได้ตามสนธิสัญญาหุดัยบียะฮฺ ก็มาถึง ท่านและผู้ติดตามได้ไปยังมักกะฮ์และพวกกุร็อยช์ก็ได้ทิ้งเมืองไปตามสัญญาปล่อยให้ท่านและพรรคพวกอยู่ในมักกะฮ์เป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้นมุสลิมก็เดินทางกลับมามะดีนะฮ์
การสู้รบที่มุอ์ตะฮฺ (Mutah)หลังจากกลับจากมักกะฮ์แล้วท่านศาสดาได้ส่งทูต 50 คนไปที่กลุ่มบนูซาลิม (Bnu salem) เพื่อเผยแพร่อิสลามแต่ทูตส่วนมากถูกฆ่าตาย หลังจากเหตุการณ์นี้ไม่นานท่านก็ได้ส่งทูต 15 คนไปยังซัตอัตลา (Dhat atla) ในเขตแดนซีเรียอีกแต่ทูตถูกระดมยิงด้วยธนูจนสิ้นชีวิตหมด เหลือรอดชีวิตมาได้คนเดียว ในขณะเดียวกันนี้ก็ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ขึ้นอีกอย่างหนึ่งซึ่งบังคับให้ท่านศาสดาต้องบุกเข้าไปในเขตแดนของโรมัน คือ ทูตคนหนึ่งถูกผู้ปกครองเมืองมุตะฮฺ ซึ่งเป็นคริสเตียนมีชื่อว่าชูรอบิล (Shurahbil) ฆ่าตายในขณะที่เขากำลังเดินทางไปหาเจ้าชายแห่งแคว้นฆ็อสสานิด (Chasanid) ที่เมือง บัสเราะฮฺ (Basrah) การกระทำเช่นนี้เป็นภัยต่อความสงบระหว่างประเทศ ท่านศาสดาจึงสั่งให้ซัยด์ (Zald) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของท่านนำทัพไปยังจุดที่ทูตศาสนาผู้นั้นถูกฆ่าตาย กองทัพของซัยด์ และ ซุเราะบีล พบกันที่จุดนี้ และเกิดการต่อสู้อย่างดุเดือดขึ้น
ซัยด์ ยะอฺฟัร (ja’far) และอับดุลเลาะฮฺ (Abdullah) สิ้นชีวิตลงแต่ คอลิด (Khalid) ก็แก้ไขสถานการณ์ได้ ทำให้กองทัพมุสลิมได้ชัยชนะฝ่ายข้าศึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น