วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

ยะซิดที่ 2

ยะซิดที่ 2 (ฮศ. 101-105)หรือ คศ. 702-724     

เมื่ออุมัรที่ 2 สิ้นชีพลง ยะซิดที่ 2 ก็ขึ้นครองราช ท่านเป็นหลานของเคาะลีฟะฮ์ยะซิดที่ 1 ทรงอภิเษกกับสตรีกลุ่มมุฏอรีย์ นางหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลต่อท่านมาก ความสัมพันธ์นี้เป็นผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง พวกมุฏอรีย์ กับพวก ฮิมรีย์
พวกฮาชิมอันเป็นเผ่าเดียวกันกับท่านศาสดา ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาคือ พวกอับบาซียะฮ์ ( Abbasid ) กับพวกอะลี ( Alid ) ทั้งสองพวกนี้ถือว่าตนเป็นผู้มีสิทธิที่ถูกต้องที่จะเป็นเคาะลีฟะฮและถือว่า พวกอุมัยยะฮ์เป็นผู้ชิงอำนาจ อบูอับบาส ( Abu Abbas ) ซึ่งเป็นลุงของท่านศาสดาได้ทิ้งบุตรชายไว้สี่คน คือ อับดุลลอฮ ( Abdullah ) ฟัฎล์ (Fazl ) อุบัยดุลลอฮ์ (Ubai dullah) และกอซิม (Qasem) คนแรกรู้จักกันในนามว่า "อับบาส" มากกว่า เมื่อ อะลี สิ้นชีพลง บุตรชายของเขาชื่อ มุฮัมมัด (Muhammad) เป็นคนแรกที่คิดจะครองตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ จึงสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นเพื่อใช้เป็นเหตุผลที่คนในตระกูลของตนได้เป็นเคาะลีฟะฮ์ ในการฆาตกรรมท่านหุสัยน์ที่ทุ่งกัรบาลานั้น ตำแหน่งผู้นำอิสลามมิได้ตกทอดมาถึงอะลี (หรือซัยนุลอาบีดีน) บุตรชายที่รอดชีวิตมาของท่าน แต่กลับไปตกอยู่กับมุฮัมมัด อัลหะนีฟะฮ์ ซึ่งเป็นบุตรชายของท่านอะลีกับภรรยาคนเผ่าหะนีฟะฮ์ของท่าน เมื่ออัลหะนีฟะฮ์สิ้นชีพลง ตำแหน่งก็ตกมายังอบูฮาชิม บุตรชายของท่านซึ่งได้ยกตำแหน่งให้แก่มุฮัมมัด บินอะลี บินอับดุลลอฮ์ มีคนเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยอมรับเขาผู้นี้เป็นผู้นำของอิสลาม แต่คนส่วนมากทางฝ่ายอับบาซียะฮ์ ประกาศว่าพวกเขากำลังทำงานเพื่อตระกูลของท่านศาสดา พรรคพวกฝ่ายนางฟาติมะฮ์ คือพวกฟิฏีมียะห์ ก็สนับสนุนและให้ความคุ้มครองแก่มุฮัมมัดและพรรคพวกของเขาเหมือนกัน

ฮิชาม ( ฮศ. 105 – 125 หรือ คศ. 724 – 743 )

ฮิชาม อนุชาของยะซิดที่
2 ขึ้นครองราชศ์ต่อจาก ยาซิด ต้องเผชิญหน้ากับความยุ่งยากลำบาก ทั้งในประเทศและนอกประเทศในรัชสมัยของท่าน การต่อสู้ระหว่างพวกอุมัยยะห์กับพวกอับบาซียะห์ ดำเนินไปอย่างรุนแรง ฮิชามเป็นโอรสของ อบุลอัศร ( Abul Asr ) แห่งราชวงศ์ อุมัยยะห์ ในขณะที่อับบาสเป็นบุตรของอับดุลมุมุฏเฏาะลิบ แห่งราชวงศ์ฮาซิม ก่อนท่านศาสดาเกิดก็เคยมีการเเก่งแย่งชิงดีระหว่างสองฝ่ายนี้มาแล้ว ท่านศาสดายังได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากพวกของอุมัยยะห์ทั้งในสนามรบและในเมืองจนกระทั่งท่านพิชิตมักกะฮได้ พวกกุร็อยช์ทั้งหมดจึงได้รับเข้าอิสลาม เพื่อนและศัตรูถูกหล่อหลอมเข้าด้วยกันภายในพันธะของอิสลาม

เมื่อท่านอุษมานถูกฆ่าตายก็ได้มีการต่อสู้ระหว่างกลุ่มของมุอาวิยะห์และกลุ่มของท่านอะลี พวกคอวาริจญ์ซึ่งกระตือรือล้นพยายามจะแก้แค้นแทนท่านอุษมานจึงได้แข็งขึ้นต่อ
ท่านอะลี

ในสมัยของมุอาวิยะฮ์เรื่องนี้ก็สงบลงแต่การสิ้นชีวิตอย่างน่าเศร้าของท่านหุสัยน์กับครอบครัวของท่าน ที่ทุ่งกัรบาลา ปฏิกริยาอย่าง แรงไปในทางสนับสนุนฝ่ายท่านอะลี พวกคอวาริจญ์ ก็เข้าร่วมพรรคพวกของท่านอะลีอีก ในระหว่างนี้เกิดกลุ่มสนับสนุน อะลีหรือที่เรียกกันว่า ชีอะห์ ซึ่งหมายความว่า
พรรคพวกขึ้น ฝ่ายนี้โฆษณาสิทธิอันชอบธรรมของผู้สืบตระกูลท่านอะลีในอันที่จะขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮแห่งอิสลาม แต่ในขณะนั้นก็เกิดคู่แข่งขึ้นคนหนึ่งคือ มุฮัมมัด ผู้เป็นหลานปู่ของท่านศาสดา เขาเป็นผู้นำฝ่ายอับบาซียะห์ตัวแทนของเขาเคยปลอมตัวเป็นพ่อค้ามาเยือนแคว้น คูราซาน อยู่เนือง ๆ

ทางฝ่ายอับบาซียะห์ยังมีผู้สนับสนุนอย่างลับ ๆ อยู่อีกคือ พวกเตอร์โกมาน
( Turkoman ) และพวกอญัร ( Khajar ) พวกเหล่านี้พยายามที่จะโค่นอำนาจของราชวงศ์อุมัยยะห์ลง ฮิชามได้แต่งตั้งแม่ทัพหลายคนให้ไปปราบแต่ก็เอาชนะไม่ได้ ประชาชนต่างก็ไม่พอใจในการปกครองอย่างไม่สามารถและไม่เป็นแก่นสารของฮิชาม ในสถานะการณ์เช่นนี้ ต้องการผู้ที่ทำงานอย่างแข้มแข็ง จึงจะนำนาวาแห่งรัฐไปในที่ปลอดภัยได้ แต่ฮิชามไม่มีความสามารถเช่นนั้นท่านจึงทรงแต่งตั้งคอลิด บิน อับบดุลลอฮ ( Khalid bin Abdullah ) ให้เป็นผู้ปกครองอิรัก โดยที่ตัวท่านเป็นชาวยะมัน จึงสามารถรักษาความสมดุลระหว่างพวกมุฎอรีย์กับพวกยะมันไว้ได้ ท่านยังทรงเกรงอกเกรงใจและให้เสรีภาพแก่ชาวยิวคริสเตียนในราชอาณาจักรอีกด้วย เมื่อพวกคอวาริจญ์แข็งข้อเป็บกบฎขึ้นท่านก็ทรงปราบปราม อย่างขันแข็ง ภายใต้การปกครองที่ยุติธรรมของท่าน ประชาชนจึงสามารถอยู่ด้วยความสงบสุขได้ แต่ในที่สุดเหตุการณ์ก็ผันแปรไป

ในระหว่างรัชสมัยชองฮิชามบับเป็นเวลาหลายสิบปีกองทัพมุสลิมต้องพ่ายแพ้ต่อศัตรูหลายครั้งในแคว้นคูราซาน พวกมุฎอรีย์กับฮิมยะรีย์ เกิดขัดแย้งกันขึ้นอย่างรุนแรงและเแข็งข้ออย่างยากที่จะปราบปรามลงได้ง่าย ๆ อะซาด
( Asad ) ผู้เป็นผู้ปกครองแคว้นคูราซานได้ตั้งตนเป็นกบฎและทำให้เกิดความเดือดร้อนขึ้นมากมาย จนมุสลิมต้องได้รับความเดือดร้อน เป็นอย่างยิ่ง แต่ต่อมาไม่นานอะซาดก็สิ้นชีวิตลงและนัร อิบนุ ซัยยาร ( Nasr ibn Sayyar ) ขึ้นครองตำแหน่งแทน ท่านเป็นผู้ปกครองที่ฉลาดและยุติธรรม ภายใต้การปกครองของท่าน แคว้นต่าง ๆ ในเอเซียกลางเริ่มได้รับความสงบสุขหลังจากที่ต้องผจญกับสงครามและการปล้นสะดมภ์ มาเป็นเวลานาน

เปอร์เซียเหนือ อาร์เมเนียและอเซอร์ไบยาน
( Azerbaijan ) อยู่ใต้การปกครองของมัสละมะห์ ผู้เป็นน้องชายของฮิชาม พวกเติร์กได้เข้ามารุกรานหลายครั้งแต่ถูกตีกลับไป ส่วนในสเปนและแอฟริกากองทัพมุสลิมต้องประสบกับความยากลำบากอย่างมากมาย ในปี ฮศ. 116 หรือ คศ. 784 พวกเบอร์เบอร์ได้แข็งข้อ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลเรียกเก็บภาษีจากชาวมุสลิมใหม่ ๆ และส่วนหนึ่งเกิดจากการแตกแยกของพวก คอริญีย์ ออกเป็นก๊กเป็นเหล่า กองทัพมุสลิมพ่ายแพ้หลายครั้งหลายหนแต่ในมราสุดก็เอาชนะได้ด้วยความยากลำบาก สงครามที่เป็นจุดจำกัดได้ดีในประวัติศาสตร์ คือ สงครามทุ่งเจว็จในปี ฮศ. 117 หรือ คศ. 753 กับ การต่อสู้กับพวกผู้ดีซึ่งพวกหัวหน้าเผ่าอาหรับถูกฆ่าตายเสียมากมายในปี ฮศ. 117 หรือ คศ. 735 มุสลิมพิชิตได้ ซาร์ดิเนีย ( Sardinia ) และไปบุกซิซิลี ( Sicliy ) และซีราคิวส์
( Syarcuse ) จนกระทั่งยอมแพ้และจ่ายเครื่องบรรณาการให้แก่ฝ่ายมุสลิม

สเปนได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะเกิดกบฎขึ้นที่โน่นที่นี่เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนผู้ปกครองอยู่บ่อย ๆ เมื่ออัซซุมห์สิ้นชีวิตในการบุกดุลูส อับดุรเราะห์มานเข้าแทนที่ แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนต่อมาผู้ปกครองสเปนคนใหม่คือ อันบาซะฮ์
( Anbasah ) หลังจากที่เขาได้จัดการให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสเปนแล้ว เขาก็ยกกองทัพข้ามเทือกเขาพีเรนิสไปเพื่อกู้หน้ากองทัพมุสลิมที่เคยพ่ายแพ้ฝรั่งเศส ท่านตีได้เมืองคอร์เซซอน ( Corcessone ) นิมส์ ( Nimes ) และภาคใต้ของฝรั่งเศส แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกฆ่าตาย ในระหว่างหกปีต่อมา ได้มีผู้ไปปกครองนครสเปนถึงห้าคน ในระหว่างหกปีเกิดจลาจลวุ่นวายไปหมด ประเทศเป็นอัมพาตไปโดยสิ้นเชิง เมื่ออับดุลลอฮ์มานกลับมาเขาก็ได้ขับไล่หัวหน้าของพวกเบอร์เบอร์ออกไป ปีต่อมาท่านได้บุกไปทางเหนือและยึดได้ดินแดนไปจนถึงเมืองบอยเตียร์
( Pointire ) กองทัพฝรั่งเศสได้ยกมาปะทะกับกองทัพของมุสลิมระหว่างเมืองตูร์ (Tour ) กับปอยเตียร์ ได้เกิดการต่อสู้ รบกันอย่างนองเลือดซึ่งมุสลิมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และอับดุลลอฮ์มานถูกฆ่าตาย

เมื่ออับดุลเราะห์มานสิ้นชีพการปกครองสเปนก็ได้เปลี่ยนแปลงไปสิ้น ท่านเป็นแม่ทัพที่ดีที่สุด ราชวงศ์อุมัยยะห์ส่งมาปกครองสเปนภายใต้การปกครองของท่าน สเปนได้พบกับความสงบสุขและเจริญรุ่งเรือง การต่อสู้ที่เมืองตูร์นั้นประวัติศาสตร์ยุโรปถือว่าเป็นการต่อสู้ที่สำคัญครั้งหนึ่ง เนื่องด้วนมันเป็นการตัดสินชะตากรรมของยุโรป ถ้ากองทัพฝรั่งเศสพ่ายแพ้ ทวีปยุโรปทั้งหมดก็อาจตกเป็นของมุสลิม อิสลามก็จะขยายไปถึงที่นั่น

หลังจากมุสลิมพ่ายแพ้แล้วเคาะลีฟะฮ์ก็ได้แต่งตั้งให้อับดุลมาลิกเป็นผู้ปกครองสเปน ในสมัยของท่านสามารถพิชิตเมือง อวิกนัน
( Avignon ) ได้ แต่เป็นคนที่มีนิสัยโหดร้ายชอบทำการรุนแรงจึงถูกถอนออกจากตำแหน่ง และอุกบะฮ์ ( Ugbah ) ผู้มีความยุติธรรมมีนิสัยใจคอที่ไร้ที่ติ ได้เข้ามาปกครองแทน ท่านพิชิตเมืองอาร์ล ( Arles ) และเมืองอื่น ๆ อีก และยกกองทัพไปล้อมเมือง วาเลนเซีย ( Valencia ) และลีออง (Lyons ) และได้ตีเมืองเบยอร์กันดี
( Burgrndy ) และดับลิน แต่ภายหลังฝรั่งเศษกลังตีทัพมุสลิม ถอยร่นไปจนถึง นาร์บอน ( Narbonne ) คราวนี้ฝ่ายมุสลิมได้รับความพ่ายแพ้ยับเยินยิ่งกว่าคราวก่อน

อุกบะฮ์สิ้นชีพลงในท่ามกลางการจลาจลยุ่งเหยิงในสเปน และประเทศนั้นก็ตกอยู่บนความวุ่นวายต่อมาจนกระทั่งเคาะลีฟะฮ์ฮิชามสิ้นชีพลง

ทางด้านอิรักนั้นได้กล่าวแล้วว่าคอลิด
( Khalid ) ได้ปกครองมาเป็นอย่างดีเป็นเวลา 15 ปี แต่การปกครองที่มีชื่อเสียงของท่านได้ก่อให้เกิดศัตรูมากมาย และพวกนี้ก็ได้คอยเป่าหูเคาะลีฟะฮ์ให้ริษยาและระแวงท่าน เคาะลีฟะห์จึงได้ถอดคอลิดออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งยูซุฟ บิน อัมร์ ( Yusufbin Umr ) ให้เป็นผู้ปกครองอิรักแทน ยูซุฟได้จับคอลิดจำขังไว้ซึ่งได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นทั่วไป โดยเฉพาะในเผ่ายะมัน ยูซุฟได้พบว่าคอลิดได้มอบเงินจำนวนมากมาย ให้แก่ ซัย บิน อะลี  ( Sayd bin Ali ) หลานปู่ของ ท่านหุสัยน์ เพื่อช่วยเหลือฮิชาม จึงเกิดสงสัยว่า ซัยด์ จะมาผูกสัมพันธ์ไมตรีกับคอลิดเพื่อจะแย่งเอาตำแหน่งเคาะลีฟะห์ ท่านจึงไม่พอพระทัยอย่างยิ่ง จึงยกทัพไปโจมตี ซัยด์ก็หนีไปพึ่งพาความช่วยเหลือจากชาวอิรัก แต่ก็ไม่มีใครช่วย จากการทรยศของขาวอิรักนี้เองซัยด์จึงพ่ายแพ้และถูกฆ่าตาย ความตายของซัยด์ ทำให้พวกอับบาซียะห์ มีข้อกล่าวหา ราขวงศ์อุมัยยะห์ มากขึ้น

มุฮัมมัด บิน อะลี บิน อับดุลลอฮ์ มีชีวิตอยู่ไม่ทันเห็นผลงานของท่าน แต่งานโฆษณาของท่านก็ไม่ได้ยุติเพียงแค่นั้น เพราะมีผู้เข้ามาร่วมฝ่ายท่านมากเสียยิ่งกว่าตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เสียอีก
ท่านได้ทิ้งไว้ให้บุตรชาย คือ อิบรอฮีม ( lbrahim ) ทำต่อไปและยังแต่งตั้งอบูมุสลิม ( Abu Muslum ) ชาวเมืองอิสฟาฮาน ( lspahan ) ให้นำคำโฆษณาไปจนถึงคูราซานอีกด้วย เพราะเหตุนี้การแข็งข้อต่อราชวงศ์อุมัยยะห์ จึงแข็งข้อขึ้นทุกวัน การสิ้นชีพของฮิชามและสภาพความวุ่นวายปั่นป่วนของประเทศ ยิ่งทำให้งานของเขาง่ายยิ่งขึ้นอีก

ถึงแม้ว่ามีความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมายเพียงไรก็ตามเมื่อสิ้นแผ่นดินของเคาะลีฟะฮ์ฮิชามแล้วก็ปรากฎว่าอาณาจักรมุสลิมแผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล เกาะมาจอร์กา
( Majouca ) ไมนอร์กา ( Minorca ) อิวิกา ( lvica ) คอร์วิกา ( Corsica ) ซาร์ดิเนีย ( Sardinia ) และไซปรัส ( Zcyprus) ตกเป็นของมุสลิม

ในทวีปยุโรป ภาคใต้ของฝรั่งเศษ และเกือบทั้งหมด สเปนก็ตกอยู่ในความครอบครองของมุสลิม

ในแอฟริกา ตั้งแต่ช่องแคบยิบรอลตา ไปจนถึงคอคอดสุเอชก็เป็นอาณาจักรของมุสลิมและในทวีปเอเซียตั้งแต่ทะเลทรายซีนาย
( Sinai )ไปถึงทุ่งหญ้ามองโกเลีย( Mongolia )  

เคาะลีฟะห์ฮิชามสิ้นชีพลงในปี ฮศ. 126 หรือ คศ. 743 หลังจากครองราชได้ 19 ปี 9 เดืน 9 วัน ท่านทรงเป็นกษัตริย์สำคัญที่สุดท้ายของราชวงศ์อุมัยยะห์ เป็นกษัตริย์ใจบุญปราศจากความชั่วร้าย  ท่านทรงใช้จ่ายเงินรายได้ของแผ่นดินไปในการขุดคลอง สร้างปราสาท และจัดสวน ทรงมีขันติธรรมต่อชาวคริสเตียนและทรงนับถือท่านอะลีเป็นอย่างสูง ทรงเป็นนักวิชาการและผู้อุปถัมภ์ศิลปะและวรรณกรรม แต่ท่านก็ทรงมีข้อเสียอยู่คือ เป็นคนขี้ระแวงและโลภมาก ไม่ทรงไว้วางใจใครจึงทรงเปลี่ยนผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ อยู่บ่อย ๆ ทำให้ต้องสูญเสียผู้ปกครองที่ดีไปอย่างเช่น คอลิด อัลก็อศรีย์ ( Khalid al – Qasri ) ความโลภของท่าน ทำให้ทรงเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ทรงขายผลิตผลทางการเกษตรด้วยอัตราสูง และทรงกดขี่พรรคพวกของท่านอะลีอย่างรุนแรง ซึ่งทำให้ท่านไม่เป็นที่นิยมของประชาชนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์อุมัยยะห์ต้องถูกโค่นล้มลง


วะลีดที่
2
และยะซิดที่ 3


วะลีดที่
2
ขึ้นครองราชย์ต่อมา ในตอนแรกท่านพยายามเอาชนะใจประชาชนโดยเพิ่มเงินช่วยเหลือให้แก่คนยากจน คนชรา และคนพิการแต่ความโหดร้ายที่ทรงมีต่อครอบครัวท่านอะลีของฮาชิม และการใช้ชีวิตอย่างไม่ดีงามของท่าน ก็ทำให้ชื่อเสียงของท่านฉาวโฉ่ทั่วประเทศ

คอลิด อัลก็อศรีย์ ผู้ปกครองเก่าแคว้นคูฟะห์ได้หลบหนีความโหดร้ายของยูซุฟไปอาศัยอยู่ที่ดามัสกัส วะลีดทรงกริ้วเขาเพราะคอลิดไม่ยอมแสดงความเคารพต่อโอรสของท่าน จึงส่งตัวคอลิดไปยังยูซุฟ ยูซุฟก็ได้ฆ่าคอลิดตาย การปฏิบัติตัวต่อคอลิดเช่นนี้ ก่อให้เกิดความแค้นเคืองอย่างมากในหมู่ชาวยะมัน ซึ่งเป็นเผ่าของวะลิด อีกทั้งสมัยของท่านเช่นกันที่ยะห์ยา
( Yahya ) ถูกฆ่าตาย ความตายของบุคคลผู้นี้ก่อให้เกิดความโกรธเคืองขึ้นใน แคว้นคูราซานเป็นอย่างยิ่ง พวกอุมัยยะห์เองก็เกลียดชังเคาะลีฟะห์ผู้นี้เหมือนกัน ในระหว่างนี้ยะซิดโอรสของเคาะลีฟะห์วะลิดที่ 1 ได้ตั้งตัวเป็นกบฎขึ้น ท่านได้รับความสนับสนุนจากชาวยะมัน ซึ่งตั้งท่านเป็นเคาะลีฟะห์ ท่านได้ส่งกองทัพไปโจมตีเคาะลีฟะห์วะลีด วะลีดถูกฆ่าตายในการต่อสู้ โดยครองราชย์มาได้ไม่ถึงปี


ยะซิดที่ 3 ( ฮศ. 126 หรือ คศ. 744 )
เมื่อวะลิดที่ 2 สิ้นชีพลงแล้ว ยะซิดผู้ก่อกบฎก็ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ ในนามว่ายะซิดที่ 3 ท่าน เป็นคนใจบุญและเคร่งศาสนา เมื่อขึ้นครองราชได้สัญญาว่าจะปลดเปลื้องความเดือดร้องของประชาชน จะลดภาษีและจะปราบปรามข้าราชการที่ทุจริจคดโกงแต่ท่านทรงอยู่ในราชสมบัติได้ไม่นานพอที่จะทำตามที่ทรงสัญญาไว้ได้ ท่านต้องเผชิญกับความยากลำบากนานับประการมาตั้งแต่ต้น ประชาชนในแคว้น ฮิมส์ ( Hims ) และปาเลสไตน์ลุกฮือขึ้นแข็งข้อแต่ก็ถูกปราบได้ มัรวานผู้ปกครองอาร์เมเนียไม่ยอมให้สัตย์ปฏิณาญตนและได้หนีๆไปที่ซีเรียโดยต้องการจะยกโอรสท่านหนึ่งของวะลีดที่ 2 ขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์ ยะซิดจึงต้องยอมสัญญากับมัรวานว่า จะให้เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ครองแคว้นทุกแคว้นที่ตัวท่านและบิดาของท่านเคยครองมา มัรวานจึงยอมปฏิญาณตนต่อยะซิดต่อมาผู้ครองแคว้นคูราซานและผู้ปกครองก็แข็งข้อขึ้นมาบ้าง แต่ยังไม่ทันที่เคาะลีฟะห์จะทันจัดการอย่างไร ท่านก็สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน โดยครองราชได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น อิบรอฮีมอนุชาของยะซิดขึ้นเป็นเคาะลีฟะห์แทน แต่ได้รับการยอมรับจากคนเพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อมัรวานทราบข่าวการสิ้นชีพของยะซิดก็ยกทัพใหญ่มายังซีเรีย และเผชิญหน้ากับกองทัพของอิบรอฮีมที่หุบเขาแห่งหนึ่งระหว่างเมือง บาลเบค( Balbek ) กับดามัสกัส ในที่สุดอิบรอฮีมก็พ่ายแพ้และมัรวานก็ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์
ยะซิด บิน มุฮัลลับเป็นพวกฮิมยะรีย์ เคยปฏิบัติต่อครอบครัวของฮัจญาจย์อย่างเข้มงวดในสมัยของเคาะลีฟะฮสุลัยมาน เมื่อได้ข่าวว่ายะซิดที่ 2 ขึ้นครองราชย์ท่านก็เกรงว่ายะซิด คงจะไม่ยอมไว้ชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลมาจากมเหสี ดังนั้นท่านจึงหนีออกไปจากคุกไปยังอิรักและร่วมมือกับน้องชายของตนตั้งตัวแข็งข้อต่อต้านยะซิดขึ้นเคาะลีฟะฮ ยะซิดจึงส่งกองทัพใหญ่ให้มัสละมะฮและอับบาส บิน วะลีด (Abbas bin Walid ) เป็นแม่ทัพยกไปปราบปราม กองทัพของทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ทุ่งอะห์รอ ( Ahra ) บนฝั่งด้านขวาของแม่น้ำ ยูเฟรติส ยะซิร บินมุฮัลลับ พ่ายแพ้และถูกฆ่าตายในที่รบ การกบฎและความตายของยะซิร บิน มุฮัลลับนี้มีผลไปไกลในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อุมัยยะห์ คือพวกฮิมยะรีย์กับพวกมุฎอรีย์ต้องต่อสู้กันต่อไปอย่างเอาจริงเอาจังทั้งในสเปน แอฟริกา และดินแดนทิศตะวันออก สภาพของดินแดนเหล่านี้ก็เลวร้ายลงไปอีกศัตรูของอิสลามมีชัยชนะทุกหนแห่ง พวกคอวาริจญ์ ซึ่งสงบอยู่ในรัชสมัยของอุมัรที่ 2 ก็เริ่มไม่พอใจในตัวเคาะลีฟะฮซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นคนที่ไม่ยุติธรรมและเป็นผู้ไม่ควรครองราชเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่ประเทศกำลังตกอยู่ในวิกฤตการณ์เช่นนี้ท่านกลับใช้ เวลาหมกมุ่นอยู่กับนางสนมกำนัลในฮาเร็ม เมื่อนางสนมคนหนึ่งสิ้นชีวิตลง ยะซิดที่ 2 ก็สิ้นชีพตามนางไปในไม่ช้าหลังจากที่ครองราชย์มาได้ 4 ปีกว่า ๆ
ภายใต้การปกครองของยะซิดที่ 2 นี้ประชาชนทั่วประเทศต่างได้รับความเดือดร้อนทั่วหน้ากันและในระหว่างนั้นเองที่พวกอับบาซียะฮ์เริ่มมีอำนาจขึ้น การทรยศของมุอาวิยะฮ์ เหตุการณ์อันน่าเศร้าสลดใจที่กัรบาลา ความโหดร้ายของฮัจญาจญ์บิดยูซุฟ ความแตกต่างของมุสลิมชาวอาหรับและมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ ( โดยเฉพาะชาวเปอ์เซีย ) การกันมิให้ชาวมุสลิมได้รับตำแหน่งสูง ๆ และสังคมที่ดี ๆ รวมทั้งการไม่เอาใจใส่ในการปกครองของ ยะซิดที่ 2 เหล่านี้เป็นเหตุผลร้ายต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์ทั้งสิ้นทั้ง ๆ ที่เคาะลีฟะฮอุมัรที่ 2 ได้ทรงทำการบางอย่างที่จะลบล้างความผิดพลาดที่เคาะลีฟะฮท่านก่อน ๆ สร้างไว้ก็ตามแต่การปกครองอย่างร้ายกาจของยะซิดที่ 2 ก็ทำให้ลูกหลานของอับบาสแข็งข้อขึ้น และบูรณะตระกูลของท่านศาสดาขึ้นใหม่ ตอนแรกก็ทำกันอย่างลับ ๆ แต่ต่อมาก็ทำอย่างเปิดเผยเพื่อโค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะห์ลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น