วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

มัรวานที่ 2 และการโค่นล้มราชวงศ์

มัรวานที่ 2 ( ฮศ. 127 – 132 หรือ คศ. 744 – 750 )
 เมื่อขึ้นครองราช มัรวานได้รับความลำบากต่างๆนานา การที่ชนเผ่ามุฏอรีย์สนับสนุนท่าน ทำให้ฝ่ายยะมัรไม่พอใจ พวกคอวาริจญ์ก็แข็งข้อขึ้น และพวกฮาชิมก็แพร่ขยายตัวออกไปอย่างน่ากลัว เกิดความไม่พอใจและขุ่นแค้นคุกรุ่นขึ้นทั่วราชอาณาจักร กองทัพซีเรียก็อ่อนแอลง ฉะนั้นสมัยของมัรวานจึงเต็มไปด้วยการต่อสู้ ความจริงนั้นการกบฏต่างๆอาจถูกปราบลงได้ถ้าหากกองทัพของซีเรียจะรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง แต่ที่ไม่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความอิจฉาริษยากันในระหว่าเผ่าต่างๆอันเป็นผลร้ายอย่างยิ่งต่อการปกครองราชวงศ์อุมัยยะฮ์ งานชิ้นแรกของมัรวานก็คือย้ายเมืองเมืองหลวงจากดามัสกัสไปอยู่ที่ฮัรรอน( Harron ) ซึ่งทำให้ชาวซีเรียไม่พอใจและรวบรวมกำลังขึ้นต่อต้านเคาะลีฟะห์ ฮิมส์และดามัสกัสก็เป็นกบฎขึ้น แต่ก็ถูกปราบได้ในเวลาไม่ช้า ต่อมาไม่นานได้เกิดการกบฎขึ้นอย่างหนักในปาเลสไตน์แต่หัวหน้ากบฎคือ ษาบิต อิบนุ นุอัยม์ ( Thabit Noam ) กับบุตรชายทั้งสามของท่านก็ถูกจับตัวได้และถูกส่งไปกุมขังไว้ ในขณะเดียวกันก็มีผู้ตั้งตัวเป็นเคาะลีฟะห์ขึ้นในเมืองคูฟะฮ์ เมื่อถูกขับไล่ออกจากเมืองไปไม่นานก็เกิดกบฎครั้งสำคัญขึ้นอีก โดยมีสุลัยมานหัวหน้าคนหนึ่งของพวกคอริญีย์เป็นหัวหน้า เคาะลีฟะห์ได้ส่งกองทัพไปปราบ สุลัยมานจึงหนีไปอยู่ที่เมืองฮิมส์  กองทัพของเคาะลีฟะห์ก็เข้าล้อมเมืองฮิมส์ไว้
ในเวลาเดียวกันนั้น อิรักก็แข็งข้อขึ้นอันมี อัดดะห์ฮาก ( As – Dahhak ) หัวหน้าอีกคนหนึ่งของพวกคอริญีย์เป็นหัวหน้า เคาะลีฟะห์ได้ยกกองทัพไปปราบเองและได้ชัยชนะต่อพวกกบฎ แต่ฝ่ายกบฎก็ยึดเมืองอเซอร์ไบยานไว้ได้และก่อความเดือดร้อนไปทั่วราชอาณาจักร

ทางด้านตะวันตกด้านการปกครองก็อ่อนแอไม่เป็นระเบียบ ผู้ปกครองแคว้นทั่วแอฟริกา ต้องคอยต่อสู้กับพวกเบอร์เบอร์และพวกคอวาริจญ์อยู่เรื่อย ๆ สเปนก็กำลังจะหลุดมือไปจากกำมือของเคาะลีฟะห์ ชาวกรีกถือโอกาสเข้ามาประชิดชายแดนของเอเซียไมเนอร์และซีเรีย เมื่อทั่วราชอาณาจักรเต็มไปด้วยสัญณาณอันตรายมัรวานก็กลับมาที่
ฮัรรอน  และพำนักอยู่ที่นั่น ในระหว่างที่เกิดจลาจลขึ้นทั่วประเทศนี้ พวกอับบาซียะห์เห็นเป็นโอกาสที่จะชูธงกบฎในแคว้นคูราซาน อบูมุสลิมเป็นหัวหน้าฝ่ายกบฎนั้นได้ตำหนิติเตียนนโยบายของราชวงศ์อุมัยยะห์และปลุกเล้าประชาชนโดยพูดถึงครอบครัวของท่านอะลีในที่สุดเขาก็ได้พวกคอริญีย์ ยะมัน มุฎอรีย์ เปร์เซีย และพวกชีอะห์ ทั้งหมดมาเป็นพรรคพวก ครั้นแล้วก็ตัดสินใจที่จะทำสงครามกับนัศร์ ( Nasr ) ผู้ปกครองแคว้น คูราซานในปี คศ. 747

นัศร์ได้ขอร้องให้เคาะลีฟะห์ส่งกำลังมาช่วย แต่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรจากเมืองหลวงเลยฝ่ายกบฎจึงเข้ายึดฟัรฆอนะฮ
( Farghana ) และคูราซานไว้ได้ ตัวนัศรเองหนีไปยังเมืองฟาร์ส ( Fars ) และสิ้นชีพลงในระหว่างทาง
                        ในระหว่างที่เหตุการณ์เหล่านี้ดำเนินไปทางด้านทิศตะวันออกนั้นมัรวานก็พยายามที่จะเริ่มหาว่าใครเป็นผู้นำให้เกิดการกบฎเหล่านี้ขึ้น สายลับของท่านรายงานว่าอิบรอฮีมเป็นต้นเหตุของการกบฎเขาจึงถูกจับตัวมาส่งที่หัรรอน แต่การที่อิบรอฮีมถูกจับนี้ก็ไม่มีเหตุผลต่อกองทัพฝ่ายอบูมุสลิมแต่ประการใด เมื่อเขาเอาชนะนัศรได้แล้วกองทัพของอบูมุสลิมก็เดินหน้าไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็ว ขับไล่ผู้ปกครองอิรักออกไปและยึดเมืองคูฟะฮไว้ได้ มัรวานเกรี้ยวโกรธมากในความพ่ายแพ้ครั้งนี้ จึงคร่าชีวิตอิบรอฮีมเสีย แต่ก่อนหน้านั้นอิบรอฮีมได้แต่งตั้งน้องชายของเขาคือ อับดุลอับบาสอับดุลลอฮ์ ( Abdul Abbas Adbullah ) ไว้เป็นผู้สืบต่อจากเขาแล้ว อับดุลอับบาสได้ปฏิญานตนว่า จะแก้แค้นแทนพี่ชาย แล้วหนีไปที่เมืองคูฟะฮ์ ซ่อนตัวอยู่ที่นั่น จนกระทั่งกองทัพของอบูมุสลิมยึดเมืองนั้นไว้ได้ อับดุล อับบาสจึงได้รับการเลือกตั้งจาก อบูมุสลิมและผู้คนในที่นั้นให้เป็นเคาะลีฟะฮ์ในนามของอัสสัฟฟะห์ ( As Saffah )

นับตั้งแต่นั้นมา อัสสัฟฟะห์ก็ได้เป็นอิมามและเคาะลีฟะห์ของมุสลิมพวกอับบาซียะห์จึงมีอำนาจมากขึ้นในขณะที่อุมัยยะห์เสื่อนโทรมลง
ในระหว่างนั้นได้เกิดจลาจลขึ้นในเมโสโปเตเมีย อัสสัฟฟาห์จึงส่งกองทัพไปเผชิญหน้ากองทัพของอับดุลลอฮ์ ซึ่งเป็นโอรสของมัรวาน และได้ชัยชนะต่ออับดุลลอฮ์ จึงได้ดินแดนของตะวันออกของเมืองโมซุล ( Mosul ) ไว้ในครอบครอง


ความพ่ายแพ้ของมัรวาน

นับตั้งแต่การสู้รบกับพวกคอวาริจญ์แล้ว มัรวานก็นิ่งเฉยอยู่ในเมืองหลวง แต่ความพ่ายแพ้ต่อโอรสของท่าน ทำให้ท่านตัดสินใจที่จะออกรบเองทรงยกทัพใหญ่มีจำนวนคนถึง 1,200,000 คน ไปปะทะที่ฝ่ายข้าศึกที่เกรดเตอร์แซบ ( Greater Zab ) และได้เกิดการต่อสู้กันอย่างขนานใหญ่ ในที่สุดมัรวานก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อันเป็นการปิดฉากของราชวงศ์อุมัยยะห์ ซึ่งเกิดขึ้นในปี ฮศ. 132 หรือ คศ. 750 หลังจากนั้นมัรวานก็หนีไปที่เมืองฮิมส์และต่อไปได้หนีไปยัง ดามัสกัส แต่เมื่อเห็นว่าดามัสกัสยังไม่ปลอดภัยพอจึงหนีไปต่อยังปาเลสไตน์ และในขณะที่กำลังจะหนีต่อไปยังอียิปต์ถูกจับได้และถูกฆ่าในโบสถ์แห่งหนึ่งที่อิยิปต์ในปี คศ. 750

เมื่อมัรวานสิ้นชีพลงราชวงศ์อุมัยยะห์ถึงกาลอวสาน สมาชิกในราชวงศ์อุมัยยะห์ได้รับความทารุญอย่างมากจากเคาะลีฟะห์ท่านแรกจากราชวงศ์อับบาซียะห์


สาเหตุการโค่นล้มของราชวงศ์อุมัยยะห์


สาเหตุสำคัญของการที่มีผู้คิดจะโค่นราชวงศนี้ลง ก็คือความไม่สามารถในการปกครองของผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ รวมทั้งความบกพร่องในลักษณะนิสัยคนเหล่านั้นด้วย เคาะลีฟะห์แห่งราชวงศ์นี้มีอยู่เพียงไม่กี่ท่านเท่านั้นที่ทรงเป็นนักปกครองอย่างแท้จริง เช่น มุอาวิยะห์ อับดุลมาลิก วะลิดที่ 1.
นอกจากนั้นส่วนมากเป็นผู้ติดเหล้า เมายา หลงไหลในสตรี เพศ และการบันเทิง มีความไฝ่ดีต่อศาสนาและกิจการของประเทศแต่เพียงนิดน้อยเท่านั้น

ความเห็นแก่ตัวของเหล่าเสนาบดีและความทรยศของเหล่าบรรดาทหารก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการโค่นล้มของราชวงศ์นี้ มักจะมอบให้ข้าราชการของตนดูแลกิจการของรัฐด้วยความไว้วางใจ แต่คนเหล่านั้นเป็นคนเห็นแก่ตัว ละโมภโลภมาก จึงจัดกิจการของรัฐไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น และผลที่ได้รับก็คือความระส่ำระส่ายทั่วราขอาณาจักร กองทัพซึ่งรัฐเป็นผู้จ่ายเงินให้อย่างชักช้าหันไปเข้ากับฝ่ายศัตรูในยามคับขัน

การต่อสู้ระหว่างพวกมุฎอรีย์กับฮิมยะรีย์อย่างไม่หยุดหย่อนก็ทำให้พลังของอาณาจักรอ่อนแอลง แทนที่จะพยายามทำให้การต่อสู้วิวาทสงบลง เคาะลีฟะห์มักจะเข้าข้างฝ่ายหนึ่งและทำให้อีกฝ่ายหนึ่งครุ่นแค้นอยู่เสมอ ผลก็คือมุสลิมแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายและเป็นปรปักษ์กัน
การแบ่งแย่งนี้เป็นผลร้ายต่อราชอาณาจักร ความไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนในเรื่องตัวผู้สืบต่อตำแหน่งเคาะลีฟะห์ก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งอีกประการหนึ่ง

มุอาวิยะห์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้ได้ใช้นโยบายสายตาไกลโดยแต่งตั้งโอรสของท่านไว้เป็นผู้สืบต่อ แต่ขนบธรรมเนียมของชาวอาหรับนิยมให้ผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าฉะนั้นจึงขัดแย้งกับความทะเยอทะยานของเคาะลีฟะห์ผู้เป็นบิดาในอันที่จะให้โอรสของตนเป็นเคาะลีฟะห์ในภายหน้า ในบรรดาเคาะลีฟะห์
14 ท่าน จึงมีเพียง 4 ท่าน เท่านั้นที่โอรสได้สืบต่อตำแหน่งเคาะลีฟะห์ถัดมา ปัญหายิ่งซับซ้อนยุ่งยากขึ้นเมื่อผู้ก่อตั้งกลุ่มสาขามัรวานได้แต่งตั้งโอรสของท่านคือ อับดุลมาลิกให้เป็นผู้สืบต่อท่าน และตั้งโอรสอีกท่านหนึ่งชื่ออับดุลอาซีซให้คอยรับช่วงตำแหน่งต่อจากเชษฐา เมื่อมีอำนาจขึ้น อับดุลมาลิกก็กลับยกตำแหน่งซึ่งจะได้แก่อนุชาไปให้แก่โอรสของตนแทน คืออัลวะลิด และตั้งโอรสอีกท่านหนึ่งคือสุลัยมานให้รับช่วงตำแหน่ง ต่อจากนั้น อัลวะลิดพยายามจะมอบตำแหน่งให้แก่อนุชาของตนเอง แต่ไม่สำเร็จ การแย่งชิงกัน เช่น นื้ทำให้ความมั่นคงของอาณาจักรต้องสูญเสียไป

การปฏิบัติต่อชาวอาหรับอย่างไม่เท่าเทียมกัมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์นี้ต้องถึงกาลอวสาน
ท่านศาสดาได้สร้างอาณาจักรอิมลามขึ้นมาโดยอาศัยนโยบายความเสมอภาคและความเป็นพี่น้องกันในหมู่ประชาชนของท่าน แต่ในสมัยอุมัยยะห์ ความคิดเรื่องควาเสมอภาคได้ถูกละทิ้งไป พวกมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับโดยทั่ว ๆ ไปและโดยเฉพาะมุสลิมชาวเปอร์เซียผู้ทำการต่อสู้หรือแม้แต่เสียชีวิตเพื่ออิสลามก็ยังไม่ได้รับความเสมอภาคในด้านสังคมและเศรษฐกิจเท่าเทียมกับมุสลิมชาวอาหรับ ผลก็คือคนเหล่านี้รู้สึกห่างเหินกับรัฐบาลอุมัยยะห์ และเริ่มมองหาโอกาสที่จะโค่นล้มราชวงศ์นี้เสีย พลังสำคัญในการนี้อยู่ที่เปอร์เซีย ชาวอิหร่านกำลังสร้างพลังต่อต้านขึ้นมาโดยใช้นิกายซีอะฮ์ ( Shi’ah ) เป็นเครื่องต่อรอง ชาวชีอะฮ์ ( Shi’ite ) ผู้แข็งข้อซึ่งไม่เคยเห็นด้วยแก่การปกครองของอุมัยยะห์ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นผู้แย่งชิงอำนาจ และไม่เคยยกโทษให้แก่คนเหล่านี้ในความผิดที่พวกเขากระทำต่อท่านอะบีและหุสัยน์ ก็ได้มีความแข็งแกร่งมากขึ้นกว่าเดิมการที่พวกเขามีความเสียสละอย่างจริงใจเพื่อเชื้อสายของท่านศาสดานั่นเอง ที่ทำให้คนจำนวนมากเห็นอกเห็นใจสบันสนุน บรรดาผู้ที่ไม่พอใจในเรื่องการปกครอง สังคม และเศรษฐกิจ ต่างก็เข้ามาเป็พวกฝ่ายพวกนี้ขณะเดียวกันในอิรักประชาชนส่วนมากเป็นพวกชีอะอ์ซึ่งสูญเสียอิสรภาพในความเป็คนของตนไป ก็ก่อก่รประท้วงในเรื่องศาสนาขึ้นแม้กระทั่งพวกซุนนี ( Sunnite ) ที่เคร่งครัดก็กล่าวหาเคาะลีฟะห์ว่าหลงระเริงในทางโลภและละทิ้งกฎหมายศาสนา

การเผยแผ่กฎหมายของนิกายชีอะฮ์ นับว่าเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อราชอาณาจักร
การที่พวกอับบาซียะห์มีอำนาจขึ้นมาก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์อุมัยยะห์โค่นลงเร็วขึ้น พวกอับบาซียะห์เป็นเชื่อสายของ อับ อับบาส อิบนุล มุฏฏอลิบ ( al – Abbas ibn al – Muttatib ) ลุงคนหนึ่งของท่านศาสดา ได้เริ่มอ้างสิทธิว่าตนควรจะได้ครองราช คนเหล่านี้เข้าร่วมกับพวกอะลี  ( คือพวกฝ่ายอะลี ) โดยเน้นสิทธิ์ต่าง ๆ ของตระกูลฮาซิมโดยการฉวยประโยชน์จากการที่มีความไม่พอใจแผ่ขยายอยู่ทั่วไปและการทำตนเป็นผู้พิทักษ์ความศรัทธาที่แท้จริง ในไม่ช้าเชื้อสายขอล อัล อับบาส ก็ได้กลายเป็นผู้นำของขบวนการต่อต้านอุมัยยะห์ แต่การดำเนินการขั้นสุดท้ายเป็นไปเมื่อพวกชีอะฮ์คูราซานและพวกอับบาซียะห์ได้รวมตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน มี อบุล อับบาส ( Abul Abbas ) เป็นผู้นำ อบุล อับบาส ผู้นี้เป็นหลานของปู่อัล อับบาส ขบวนการนี้ต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะห์โดยแสร้งอ้างว่า ต้องการการปกครองแบบเคาะลีฟะห์และต้องการกลับไปสู่สภาพอย่างสมัยท่านเคาะลีฟะห์ท่านที่สี่ ต่อจากท่านศาสดา
ในวันที่ 9 มิถุนายน คศ. 747จึงได้เกิดการกบฎขึ้นภายใต้การนำของอบูมุสลิม ( Aub Musllm ) ที่แคว้นคูราซาน และแผ่ขยายไปทั่วราชอาณาจักร เสียงเรียกร้องให้โค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะห์เริ่มดังก้องอยู่ทั่วไปและภายในเวลาไม่นาน ราชวงศ์อุมัยยะห์ก็ถูกโค่นล้มลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น