วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

อัส – สัฟฟาห์และอัล - มันซูร

อัส สัฟฟาห์ ( As – Saffah ) และ
อัล - มันซูร ( Al - Mansur) 

ลักษณะใหม่ของสมัยอับบาซียะห์เมื่อพวกอับบาซียะฮ์มีอำนาจขึ้น ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจสังเกตุได้ทุกหนทุกแห่ง ลักษณะใหม่อย่างแรกก็คือ แว่นแคว้นทั่วอาณาจักรอิสลามไม่ยอมรับผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะห์ อำนาจของราชวงศ์ใหม่นี้ไม่เคยเป็นที่ยอมรับในสเปนและทั่วแอฟริกายกเว้นในอียิปต์ และแว่นแคว้นทางทิศตะวันออกก็มีราชวงศ์อื่นๆตั้งตัวมีอำนาจขึ้นมาเหมือนกันความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่ปรากฎอยู่ท่านกลางประชาชนพลเมืองก็คือทัศนคติของราชวงศ์ใหม่ที่มีต่อประชาชน ความกระตือรือร้นในการทำสงครามกับชาวอาหรับได้หมดสิ้นไปแต่ก่อนนั้น ชีวิตอันยากลำบากของพวกเขาและการเริ่มแผ่ขยายของอิสลามทำให้ชาวอาหรับมีจิตใจฮึกเหิมต้องการต่อสู้ แต่ในสมัยนี้ชีวิตของพวกเขาสบาย ขึ้นมากแล้วจึงสิ้นความกระตือรือร้นในการต่อสู้ลงไป ทรัพย์สินที่ยึดจากผู้แพ้สงครามทำให้พวกเขาร่ำรวย จึงตั้งหลักแหล่งอยู่อย่างสบายและฟุ่มเฟือย นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งได้กล่าวว่า ชาวซาราเซนไม่ได้เป็นผู้พิชิตโลกอีกต่อไปแล้ว สมัยแห่งการพิชิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคแห่งอารยะธรรมได้เริ่มขึ้น
            เมืองหลวงได้ถูกย้ายจากซีเรียไปยังอิรักและชาวซีเรียซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนราชวงศ์อุมัยยะห์ อย่างแข็งขันได้สูญสิ้น อิทธิพลไปในยุคของราชสำนัก อับบาซียะห์  ภายใต้การปกครองของอับบาซียะห์ ระบบขุนนางแบบเก่าได้หมดความหมายไป ชนชั้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งมีอัครเสนาบดีหรือวะซีร ( Wazir or Vizier ) เป็นหัวหน้าได้เข้ามาแทน วะชีรนี้เป็นตัวแทนของเคาะลีฟะห์เขามีเพชฌฆาตเคียงคู่อยู่เสมอ ตำแหน่งนี้ไม่เคยมีมาในสมัยอุมัยยะห์ ในราชสำนักมีอิทธิพลชาวเปอร์เซียแทรกซึมอยู่เมื่ออิทธิพลของชาวเปอร์เซียมีมากขึ้นความหยาบกระด้างของชีวิตชาวอาหรับก็ค่อยอ่อนโยนขึ้น จึงเป็นการเปิดทางให้แก่ศักราชแห่งวัฒนธรรมการค้นคว้าทางด้านวิทยาการและความมีขันติธรรม

อับดุลอับบาส อัส - สัฟฟะห์ (Abdul Abbasas-Saffah) (ฮ.ศ. 133-137,ค.ศ. 750-754)
อัสสัฟฟะห์ประกาศตนเป็นเคาะลีฟะฮ์ในมัสยิดแห่งคูฟะฮ์ และได้มีการให้สัตยาบันโดยประชาชนเมื่อ ค.ศ. 750 เมื่อขึ้นครองตำแหน่งแล้วงานชิ้นแรกของท่านก็คือ การกวาดล้างเชื้อสายของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากหน้าแผ่นดินให้หมดสิ้น การพิฆาตเข่นฆ่าผู้คนอย่างมากมายเช่นนี้ได้ทำให้ประชาชนลืมความชั่วร้ายทุกอย่างที่ราชวงศ์ก่อนเคยถูกกล่าวหามาเสียสิ้น ผู้ที่กระทำการทารุณอย่างโหดร้ายที่สุดก็คือลุงของเคาะลีฟะฮ์ซึ่งอยู่ในปาเลสไตน์ การกระทำอันร้ายกาจเช่นนี้ก่อให้เกิดผลตามมา นั่นก็คือพรรคพวกของราชวงศ์อุมัยยะฮ์แข็งข้อเป็นกบฏต่อราชวงศ์อับบาซียะฮ์ขึ้นในซีเรียและเมโสโปเตเมีย อัสสัฟฟะฮ์ได้ส่งอนุชาของท่าน อบูญะฟัร (Abu Jafar) เป็นแม่ทัพไปปราบ และสามารถปราบกบฏได้ในเวลาไม่ช้า ยะซิด อิบนุ หุบัยเราะฮ์ (Yazid ibn Houbaira) ผู้เป็นอุปราชแห่งอิรักก็แข็งข้อขึ้น แต่ก็ถูกปราบได้ และตัวยะซิดเองถูกฆ่าตาย บัดนี้ อัสสัฟฟะฮ์จึงกลายเป็นผู้พิชิตอยู่ในเอเซีย อียิปต์และแอฟริกาตะวันตกก็ยอมรับอำนาจของท่านด้วย แต่ก็ยังมีการจลาจลวุ่นวานเกิดขึ้นในส่วนต่างๆของราชอาณาจักร เช่น ที่เมืองโมชุล( Mosul ) ประชาชนไม่ยอมต้อนรับผู้ปกครองคนใหม่ซึ่งเป็นผู้มีชาติกำเนิดอันต่ำต้อยจึงขับไล่เขาออกจากเมือง เคาะลีฟะห์พิโรธจึงส่ง ยะห์ยา ( Yahay ) ผู้เป็นอนุชาไปปราบ ประชาชนพลเมืองถูกฆ่าตายมากมายอย่างไร้ความเมตตา
            รัชสมัยของเคาะลีฟะห์อัส สัฟฟะห์ เต็มไปด้วยการนองเลือด ก่อนสิ้นชีพท่านได้ทรงแต่งตั้งอบูญะฟัร ผู้เป็นอนุชาให้สืบตำแหน่งต่อ เคาะลีฟะห์อัส สัฟฟะห์ นี้ได้รับขนานนามว่า ผู้กระหายเลืออดเพราะท่านไม่เคยเห็นค่าชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน แต่ทั้ง ๆ ที่เป็นคนทารุนโหดร้ายท่านก็ยังได้รับยอมรับว่า เป็นกษัตริย์ที่เอื้อเฟื้อที่ใจบุญเอาใจใส่ต่อหน้าที่
อบูญะฟัร อัล-มันซูร (Abu Jafar al-Mansur) (ฮ.ศ.137-159 , หรือ ค.ศ. 745-775)
ตอนที่อัฟ สัฟฟะห์สิ้นชีพนั้น อนุชาของท่านคือ อัล ญะฟัร กำลังทำฮัจย์อยู่ที่มักกะห์ จึงได้เดินทางกลับมาที่คูฟะห์เพื่อทรยศ อัล มันซูร ( ผู้มีชัย ) เมื่อ อัล มันซูร ขึ้นครองราชย์ บทใหม่ก็ได้เปิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของอับบาซียะห์ ผู้สืบต่อสองสาม คนแรกของอบุลอับบาซียะห์นั้นเป็นผู้ปกครองที่มีความสามารถและอุทิศเวลาพลังงาน และอำนาจของตนไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ได้อุทิศตนไปในการสร้างเมืองใหม่ ๆ สร้างถนนหนทาง คลอง น้ำพุ สถาบัน การกุศล และสถาบันทางการศึกษา สนับสนุนอักษรศาสตร์และการค้ารวมทั้งสันติภาพด้วย
ในทันทีที่ อัล-มันซูร ขึ้นครองราช อับดุลลอฮ์ บิน อาลี ผู้เป็นลุงของท่าน กับผู้ครองแคว้นซีเรียได้ตั้งตัวเป็นกบฏขึ้น อบูมุสลิมถูกส่งตัวไปปราบกบฏ
อับดุลลอฮ์ หนีไปในที่สุดก็ถูกจับได้และถูกส่งตัวมาอยู่ในความควบคุมของสุลัยมาน น้องชายของเขาซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองบัศเราะห์อยู่ในขณะนั้น แทนที่เคาะลีฟะห์จะทดแทนบุญคุณ ให้แก่อบูมุสลิมผู้ปราบกบฎได้กลับมาหาทางทำร้ายเขา อิทธิพลของอบูมุสลิมทำให้เคาะลีฟะห์อิจฉา ริษยา และเกลียดชังเขา อบูมุสลิมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองแคว้นคูราซานแต่แล้วก็ถูกเคาะลีฟะห์สั่งให้สังหารชีวิตเสีย อบูมุสลิมนั้นเป็นคนหนุ่มอายุยังไม่ถึงสามสิบห้าปี เป็นคนฉลาดเฉลียวกระตือรือร้นและโอบอ้อมอารี เขาเป็นผู้นับได้ว่าเปลี่ยนโฉมหน้าของอิสลามทั้งหมดและสร้างราชวงศ์อับบาซียะห์ขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์อุมัยยะห์ที่ถูกโค่นล้มไป ฉะนั้น เมื่อเขาถูกฆ่าตายจึงได้เกิดจลาจลอันยิ่งใหญ่ขึ้นในเปอร์เซียโดยมีซุนบัดฮ์ ( Sunbudh ) ผู้ต้องการแก้แค้นแทนอบูมุสลิมเป็นหัวหน้าได้เกิดการกบฏคล้ายๆกันขึ้นอีกในเมโสโปเมียแต่การกบฏทั้งสองแห่งนี้ก็ถูกปราบได้ในเวลานาน ส่วนอับดุลลอฮบินอะลีนั้นก็ถูกส่งตัวมาจำขังในคุกและสิ้นชีวิตไปเพราะที่คุมขังพังทับ   
ในระหว่างปี ฮ..140 หรือ คศ. 757 พวกไบแซนไตน์ได้เข้ามารุกรานราชอาณาจักร แต่ถูกขับไล่ไป และจักรพรรดิ์แห่งคอนสแตนติโนเปิลต้องทำสัญญาสันติภาพกับราชอาณาจักรอิสลามเป็นเวลา 7 ปี
            ในปี ฮศ. 141 หรือ คศ. 758  เคาะลีฟะห์ไปทำฮัจญ์ได้ทรงผ่านซีเรียและเมโสโปเตเมียไปเยือนเยรูซาเล็มด้วยในระหว่างนี้ชาวเปอร์เซีย ลัทธิหนึ่งซึ่งเรียกว่าพวกรอบีดียะห์ ( Ravendiyah ) ตามชื่อเมืองที่พวกเขาอยู่ ผู้ซึ่งถือเคาะลีฟะห์เป็นเสมือนพระเจ้าได้ขู่จะเอาชีวิตของ อัล มันซูร พวกเขาได้เข้าล้อมพระราชวังไว้ ทำให้เคาะลีฟะห์ต้องสั่งให้จับตัวพวกหัวหน้าของเหล่านี้ไปจำขังไว้เป็นจำนวน 200 คน การปฏิบัติอย่างแข็งกร้าวของอัล มันซูร นี้ทำให้คนเหล่านั้นเกรี้ยวโกรธจึงเข้าบุกที่คุมขังและก่อจลาจลทั่ว ๆ ไป แต่ในที่สุดพวกรอบินดียะห์เหล่านี้ก็ถูกกำจัดไปสิ้น ต่อมาไม่นานผู้ปกครองแคว้นคูราซานได้ก่อการกบฎขึ้น อัล มันซูร ได้ส่งกองทัพไปปราบ พวกกบฎถูกจับตัวได้ และถูกส่งตัวมายังเคาะลีฟะห์ ซึ่งสั่งให้ทำการทรมานพวกเขาอย่างโหดร้าย
            ต่อมากองทัพมุสลิมก็หันไปหาตาบาริสถาน ประชาชนของเมืองนี้ได้แข็งข้อขึ้น แต่เมื่อกองทัพมุสลิมเข้าโจมตีเมืองอย่างหนัก พวกเขาก็จำเป็นต้องเปิดประตูเมืองให้ทหารมุสลิม แล้วตาบาริสถานก็ถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิสลาม ไม่นานนักหลังจากนี้ประชาชนแห่งเมืองบาลัด ( Dielam ) ก็แข็งข้อขึ้นและเข้ามารุกรานราชอาณาจักรแต่ถูกขับไล่ถอยร่นไป
            ต่อมาราชวงศ์นี้ก็ถูกขู่เข็ญด้วยอันตรายอย่างใหม่ ซึ่งจากเชื้อสายสองคนของท่านหุสัยน์คือมุฮัมมัดและอิบรอฮีม ผู้ซึ่งอยากได้ตำแหน่งเคาะลีฟะห์คนทั้งสองนี้อยู่ในเมืองมาดินะฮ์ และมีอิทธิพลเป็นอย่างยิ่ง เหนือประชาชนในเมืองนั้น อัล มันซูร จึงสั่งให้จับตัวมาแต่คนทั้งสองได้หลบหนีไปยังเอเดน และแคว้นสินธ์เสียก่อน อัล มันซูร จึงทรงสั่งตัวสมาชิกตัวสำคัญ ๆ ทุกคนในบ้านรวมทั้งบิดา ชราของคนทั้งสองทรมานอย่างโหดร้าย ความร้ายกาจนี้ทำให้มุฮัมมัด และอิบรอฮีมแข็งข้อขึ้นพร้อมกันในเมือง มะดีนะฮ์และบัศเราะห์ อัล มันซูร ส่งกองทัพไปปราบมุฮัมมัดก่อนมุฮัมมัดสิ้นชีพในที่รบ ถูกตัดศรีษให้เคาะลีฟะห์แต่การรบยังดำเนินการต่อไปโดยอิบรอฮีม ที่เมืองบัศเราะฮ์ แต่ในที่สุดอิบรอฮีมก็สิ้นชีพลงอีกคนหนึ่งในที่รบ หลังจากที่ทำให้ราชอาณาจักรต้องหวาดหวั่นอยู่เป็นเวลาสามเดือน ก็สงบลง
            เมื่อการจลาจลหมดสิ้นไปแล้ว อัล มันซูร ก็ทรงเลือกที่ตั้งเมืองหลวงใหม่ คือบัฆดาด ( แบกแดด ) และเมื่อเริ่มก่อสร้างเมื่อปี ฮศ. 145หรือ คศ. 762 หลังจากนั้นมันก็กลายเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์อับบาซียะห์ และเป็นศูนย์กลางของความดึงดูดใจแห่งสมัยกลาง บัฆดาด ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทกริส นอกจากนั้นท่านยังทรงสร้างเมืองเราะห์ฟีเกาะห์ ( Rafika ) และเสริมกำลังป้องกัน เมืองคูฟะห์และบัศเราะห์อีกด้วย
ในปีที่ 11 นับตั้งแต่ครองราชย์ ท่านได้แต่งตั้งมะฮ์ดี ( Mahdi ) ผู้เป็นโอรสให้เป็นผู้สืบต่อตำแหน่งแทนหลานชายคือ อีซา ( lsa )  ผู้ถูกบังคับให้สละสิทธ์  อัล มันซูร ต้องการจะพิชิตสเปนซึ่งอับดุลเราะห์มาน ( Abdur Rahman ) หลานปู่ของเคาะลีฟะห์ ฮิชาม แห่งราชวงศ์อุมัยยะห์ตั้งตัวเองมีอำนาจสูงสุดหลังจากที่หนีมาจากซีเรีย แต่กองทัพของอัล มันซูร พ่ายแพ้แก่กองทัพอับดุลเราะห์มาน ดังนั้น ความหวังของ อัล มันซูร ที่จะพิชิตสเปนจึงเป็นอันล้มเหลว
            แอฟริกาเป็นแหล่งที่ก่อความเดือดร้อนและอันตรายแก่เคาะลีฟะห์อยู่เนือง ๆ ทั้งชาวเบอร์เบอร์และอาหรับ ซึ่งเอนเอียงไปเข้าพวกคอริญีย์ ( Kharijite ) ไม่ยอมรับความเป็นเคาะลีฟะห์ของราชวงศ์อับบาซียะห์  นายทัพถูกส่งไปปราบปรามพวกนี้อยู่บ่อย ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
            ต่อมาพวกคอวาริจญ์มาล้อมเมืองหลวงของแอฟริกาไว้และฆ่าอุปราชตาย คอวอริจญ์ยึดได้เมืองฆ อยรอวาน ( Kairawan ) เคาะลีฟะห์ทรงพิโรธจึงส่งอุปราชคนใหม่คือ ยะซิด อิบนุ มุฮัลลับ ( Yazid ibn Muhallab ) มาปราบ มุฮัลลับ ได้ชัยฃนะฆ่าหัวหน้าของพวกคอวาริจญ์ตาย สันติสุขจึงกลับมาสู่แอฟริกา
            ถึงแม้ว่าแอฟริกาจะสงบปราศจากการกระด้างและเดื่องแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีเรื่องเดือดร้อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง ในอาร์เมเนีย พวกคอซัร ( Khasar ) ได้เข้ามาบุกรุกจับเอาประชาชนหญิงชายไปเป็นนักโทษจำนวนมาก ทางด้านตะวันออก ก่อการกบฎขึ้นโดยมี อุสตาดซีซ ( Ustadh Sheesh ) ผู้ปกครองเมืองเฮรัต ( Heart ) เป็นหัวหน้าและยังเกิดจลาจลหนัก ๆ ขึ้นรอบ ๆ เมืองโมซุลด้วย ประชาชนในเมืองฮามาดาน ( Hamadan ) ก็สนับสนุนพวกอะลีอยู่ทั่ว ๆ ไปเคาะลีฟะห์รู้สึกควาดหวั่นมาก เนืองจากพวกเคิร์ด(Kurd )  ได้ก่อความเดือดร้อน ครั้งแล้วคั้งเล่า ท่านจึงทรงแต่งตั้งคอลิด ( Khalid ) ชาวบัรมากิ
 ( Barmaki ) เป็นผู้ปกครองเมืองเมาซิล ( Mawsil )  ในไม่ช้าคอลิดก็ทำให้แคว้นนั้นสงบขึ้นได้โดยตัดอำนาจของพวกเคิร์ดเสีย
            ปีต่อ ๆ มา รัชสมัยของ อัล มันซูร สงบสุขดี แต่สิ้นพระชนม์ในขณะที่กำลังเดินทางและศพถูกฝังไว้ในเมืองมักกะห์ เมื่อปี ฮศ. 159 หรือ คศ. 775 รวมเวลาที่ครองราชย์ได้เกือบ 22 ปี นับได้ว่าอัล มันซูร เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อับบาซียะห์อย่างแท้จริง  ถึงแม้ว่า อัสสัฟฟาห์ จะเป็นคนแรกของราชวงศ์นี้ก็ตาม อุปนิสัยในคอของท่านมีลักษณะตรงข้ามปนกันอยู่สองอย่าง สำหรับศัตรู ท่านทรงเป็นคนที่โหดร้านทารุณ ไม่เคยละเว้นชีวิตให้ใครที่จะเป็นอันตรายต่อราชบัลลังก์เลย แต่สำหรับมิตรสหาย แล้วทรงเป็นคนเมตตากรุณาและใจกว้าง การสังหารชีวิต อบูมุสลิมและอับดุลเราะห์ผู้เคยช่วยเหลือท่านอย่างมากมายและการปฏิบัติต่อเชื้อสายของท่านอะลีอย่างร้ายกาจกลายเป็นจุดด่างอยู่ในแระวัติศาสตร์อยู่ในราชวงศ์นี้ นับว่าท่านเป็นคนแรกที่ก่อความแตกร้าวขึ้นระหว่างพวกอับบาซียะห์และพวกอะลีก่อนหน้านั้นสองฝ่ายนี้เคยปรองดองกันเป็นอย่างดี
            ยกเว้นเรื่องเหล่านี้ท่านก็ทรงเป็นมุสลิมที่ดี ในราชสำนักของท่านไม่มีสิ่งน่ารังเกียจ ทรงเป็นผู้ให้ความยุติธรรมอย่างแท้จริง และทำตัวเป็นตัวอย่างแก่ประชาชนในเรื่องการเคารพต่อศาลสถิตยุติธรรม  ท่านทรงประทานรางวัลแก่ผู้พิพากษาในความไม่ลำเอียงของเขา ในฐานะนักปกครองรัฐบุรุษ และนักการเมือง ทรงเสียสละเวลาและแรงงาน ของท่านไปในการพัฒนาของประชาชน พลเมืองของท่านและที่อยู่อาศัย ของพวกเหล่านั้น
            ในสมัยของท่านประเทศตะวันออกเริ่มรับเอาแบบอย่างกริยามารยาท และนิสัยใจคอของชาวตะวันตก มาเป็นแบบอย่าง เครื่องแต่งกายแบบเปอร์เซีย กลายเป็นที่นิยมในราชสำนัก นักวิชาการจากตะวันออก ได้รับตำแหน่งสูง ๆ ชาวอาหรับสูญเสียความสำคัญ ที่มีอยู่แต่ก่อน ไม่เฉพาะแต่กองทัพหรือราชสำนักเท่านั้น แต่ในสังคมโดยทั่วไปอีกด้วย ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และศิลปวิทยา ทรงสร้างสถาบันการกุศล และการศึกษาทั่วราชอาณาจักร ในรัชสมัยของท่าน วรรณกรรม ประวัติศาสตร์การแพทย์ และดาราศาสตร์  เริ่มมีผู้สนใจ การศึกษาและมีการแปลหนังสือต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับศิลปและวิทยาศาสตร์มาเป็นภาษาอาหรับ  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น