วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

การปกครองของอูมัยยะ

18 – การปกครองของสมัยอุมัยยะห์

การสืบราชวงศ์

            เมื่อครั้งที่ยังเป็นสาธารณรัฐนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะห์ถูกเลือกตั้งโดยประชาชนและการเลือกตั้งกระทำในมัสยิดนั่นเองแต่หลังจากสมัยของท่าน อะลีซึ่งเป็นเคาะลีฟะห์ที่สี่แล้ว กฎเกณฑ์ที่ดีเช่นนี้ก็ถูกยกเลิกไป ตำแหน่งกษัตริย์ถูกผูกขาดเป็นสมบัติส่วนตัว มูอาวิยะห์ตระหนักถึงความสับสนที่มีอยู่ในการเลือกตั้งสมัยก่อน ๆ จึงได้เจตนาทิ้งแบบอย่างนั้นเสียและแต่งตั้งยะซิดโอรสของท่านเป็นผู้สืบสันติวงศ์ต่อจากท่าน นับตั้งแต่นั้นมาตำแหน่งเคาะลีฟะห์ของท่านศาสดา ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นตำแหน่งกษัตริย์ ยะซิดได้แต่งตั้งอุมาวิยะห์ที่ 2 เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อมา ในสมัยของมัรวาน ( Marwanid ) คือตระกูลของมัรวาน จึงได้มีการแต่งตั้งผู้สืบต่อตำแหน่งไว้สองท่าน มัรวานได้แต่งตั้งโอรสของท่านคือ วะลิด กับ สุลัยมานเป็นผู้สืบต่อตำแหน่งต่อ ต่อมาสุลัยมานก็แต่งตั้งลูกพี่ลูกน้องท่านหนึ่งกับอนุชาท่านหนึ่งคือ อุมัรที่ 2 และยะซิดที่ 2 ส่วนยะซิดที่สองได้แต่งตั้งอนุชาท่านหนึ่งกับโอรสท่านหนึ่ง คือ ฮิชามกับวะลิดที่ 2 การแต่งตั้งผู้สืบตำแหน่งไว้สองท่านในเวลาเดียวกันนี้ ทำให้เกิดผลร้ายอย่างใหม่ขึ้นคือ ผู้อาวุโสที่มีความสามารถเป็นจำนวนมากความหวังที่จะได้เป็นผู้สืบต่อเคาะลีฟะห์วิธีการแต่งตั้งแบบนี้ก่อให้เกิดความระส่ำระส่ายหนักในสมัยวะลิดที่ 1 ซึ่งในที่สุดก็ถูกลอบสังหาร การฆาตกรรมวะลิดที่ 2 นี้ในที่สุดก็เป็นการแบ่งแยกราชวงศอุมัยยะห์ออกเป็นสองพวกและการแบ่งแยกนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์อุมัยยะห์มีอันต้องถึงอวสาน

สภาพของสภาที่ปรึกษา (Shura)
ในสมันต้นๆนั้น ชูรอเป็นองค์กรอันประกอบด้วยผุ้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นตัวแทน ในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุษมานได้ละทิ้งที่ปรึกษาระบบเช่นนี้เสีย ในสมัยที่ยังเป็นผู้ปกครองแคว้นหิยาซนั้น อุมัรที่ 2 ได้แต่งตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้น และทำการปรึกษาหารือกับสภานี้ในเรื่องสำคัญๆทุกอย่างของแคว้น เมื่อได้เป็นเคาะลีฟะฮ์แล้ว ท่านก็ทรงพยายามอย่างดีที่สุดที่จะรวบรวมคนดีๆไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่รัชสมัยของท่านสิ้นเสียโดยยังไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก
            เคาะลีฟะห์ในราชวงศ์สมัยต้น ๆ ไม่ได้คิดถึงการแต่งตั้งองครักษ์เพื่อความปลอดภัยให้ตนเองเลย แต่หลังจากมีผู้พยายามคร่าชีวิต ท่านมุอาวิยะห์ก็ได้แต่งตั้งทหารองครักษ์ขึ้น แม้แต่ในมัสยิดท่านก็ได้สร้างฉากแบ่งที่ทำนมัสการเป็นห้องเล็ก ๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกลอบปลงพระชนม์

            มุอาวิยะห์มีอำนาจสูงสุดอยู่ในรัฐ ท่านเป็นผู้จัดระเบียบระดับสูงสุดของมุสลิม แต่อุมัรที่ 2 ได้พยายามแก้ไขความชั่วร้ายที่แทรกซึมเข้าไปในสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ท่านทรงคืนทรัพย์สินทั้งหมดของท่านเองและของมเหสีได้แก่กองคลังของรัฐ ทรงใช้ชีวิตอย่างง่าย ๆ เสวยอาหารจากโรงครัวรัฐ ที่มีไว้สำหรับแจกจ่ายให้คนยากจนและคนพิการ ทรงสั่งให้ข้าราชบริพาร นักร้อง กวี นักดนตรี และอื่น ๆ ออกจากวังไปเนื่องด้วยไม่สามารถบูรณะสภาที่ปรึกษาขึ้นมาในรูปแบบเดิมได้ ท่านจึงทรงพยายามติดต่อกับนักวิชาการและผู้คงแก่เรียนที่ยิ่งใหญ่อย่างเช่น ฮะซัน อัลบัศรีย์ ( Uasan al – Basri ) อยู่เสมอ
            แต่เมื่ออุมัร บิน อับดุล อาซีซ  ( Umar bin Abdul Aziz ) สิ้นชีพลงในวังก็กลับสู่สภาพเดิม แห่งความหรูหราฟุ่มเฟือยอีก รัฐบาลกลางในระบบการปกครองศุนย์กลางมีกระทรวงอยู่ 5 กระทรวงคือ กระกลาโหม ( Diwanul – Jund ) กระทรวงการคลัง
( Diwaunl Kharaj )  กระทรวงสื่อสาร ( Duwanul Rasail ) กระทรวงอัยการ ( Diwanul Khatam )  และกระทรวงไปรษณีย์ ( Diwaunl barid )
            ในสมัยอุมัยยะห์นี้ระบบการจ่ายเบี้ยหวัดรายปีให้แก่ชาวอาหรับทั้งหมดและทหารมุสลิมซึ่งเคาะลีฟะห์อุมัรที่ 1 นำมาใช้ ได้เปลี่ยนไป ฮิชามได้ล้มเลิกการจ่ายเบี้ยหวัดแม้กระทั่ง แก่พวกเจ้าชายในราชวงศ์อุมัยยะห์ซึ่งไม่เคยเข้าร่วมในสงครามด้วยตนเอง หรือส่งตัวแทนมาร่วมสำหรับส่วนแบ่ง ท่านได้ทรงมอบให้ยากุต ( Yakut ) เป็นผู้ออกสงครามแทนท่าน
            สภากลางเป็นผู้บริหารการเงินของรัฐ มีหน้าที่จัดทำใบจ่ายเงินและบันทึกเกี่ยวกับการใช่จ่ายของวันนั้น
            ในสมัยอุมัยยะห์ได้มีการตั้งสภาโต้ตอบสาส์นขึ้นมีหน้าที่โต้ตอบจดหมาย ออกจดหมายเวียนและประสานงานระหว่างสภาอื่น ๆ ทั้งหมด มุอาวิยะห์ได้ตั้งศาลขึ้น คำสั่งทุกอย่างของเคาะลีฟะห์ที่ออกไปจะถูกบันทึกไว้โดยสภานี้แล้วจึงปิดผนึกคำสั่งที่ต้นฉบับและส่งไป
            มุอาวิยะห์เป็นกษัตริย์มุสลิมท่านแรกที่ตั้งระบบนี้ขึ้น แต่แรก แผนกงานนี้ตั้งไว้สำหรับใช้งานของรัฐ แต่ต่อมาภายหลังประชาชนได้เข้ามาใช้ด้วย สมัยนั้นใช้ม้าและอูฐเป็นผู้นำข่าวสาส์น ในสมัยของอับดลุมาลิกระบบการไปรษณีย์ได้รับการปรับปรุงขึ้นเป็นอย่างมาก

รายได้ของรัฐ

            ในสมัยเคาะลีฟะห์ท่านทั้งสี่ท่านแรกนั้นทรัพย์สมบัติของรัฐก็คือของประชาชน และประชาชนทุกคนในรัฐมีสิทธิ์ในสมบัตินั้น แต่หลังจากสมัยอุอาวิยะห์ ทรัพย์สมบัติหรือรายได้ของรัฐกลายเป็นสมบัติของเคาะลีฟะห์ไป รายได้ของรัฐได้มาจากแหล่งเดียวกับรายได้ในสมัยของเคาะลีฟะห์ทั้งสี่ คือ
            1.ภาษีที่ดิน
            2.ภาษีรัชชูปการ เก็บจากประชาชานทิ่ไม่ใช่มุสลิม
            3.ซะกาต
            4.ภาษีศุลกากรและอากรสรรพสามิต
            5.เครื่องบรรณาการที่ได้รับตามสนธิสัญญา
            6.หนึ่งในห้าของทรัพย์สินจากสงคราม
            7.ภาษีที่ดินที่พิชิตมาได้
            8.ภาษีสินค้าส่งเข้าบางประเภท
            9.ของกำนัลในโอกาสพิเศษอย่างเช่น ในพิธีฉลอง ฯลฯ
            10.ภาษีเด็กเกิดใหม่จากพวกเบอร์เบอร์
            ภาษีต่าง ๆ ที่เก็บได้แต่ในแคว้นก็จ่ายให้แก่กองคลังของแคว้นนั้น ค่าใช้จ่ายในการปกรองแค้วนนั้นทั้งหมดได้มาจากกองคลังของแคว้นและส่วนที่เหลือ ก็ถูกส่งไปเข้ากองคลังของกษัตริย์ แต่ที่เมืองดามัสกัสมุอาวิยะห์ได้แต่งตั้งคูฟะห์ให้ทำการบริหารด้านการปกครอง และการทหาร แต่มอบหมายหน้าที่เก็บภาษีโดยเฉพาะภาษีที่ดินให้แก่เจ้าหน้าที่พิเศษซึ่งทำหน้าที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อผู้ครองแค้วนแต่ขึ้นตรงต่อเคาะลีฟะห์

ตำแหน่งอุปราช

            ราชอาณาจักรแบ่งออกเป็น 5 แคว้นด้วยกันคือ หิยาช ยะมัน และอารเบียกลางอยู่ภายใต้การปกครองของอุปราชคนหนึ่ง อียิปต์เหนือและใต้เป็นอีกแคว้นหนึ่ง อิรัก อชัม ( คือบาบิโลเนียและคอลเดีย ) อิรัก อซัม ( คือเปอร์เซีย ) รวมทั้งยะมัน บาฮ์เรน
( bahrayan )  คิรมาน ( Kirman )ซิสถาน ( Sistan ) กาบูล ( Kabul )คูราซาน ( Khurasan )ทรานโซเซียนา( Teansoxiana ) สินธ์ ( Sind ) และส่วนหนึ่งของปัฐจาปเป็นแคว้นใหญ่อีกแคว้นหนึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของอุปราชแห่งอิรัก เมโสโปเตเมีย อาร์เมเนีย และอเซอร์ไบญาณ ( Azerbaiyan ) รวมกันอีกเป็นแคว้นหนึ่ง แอฟริกาเหนือ สเปนและภาคใต้ของฝรั่งเศสรวมกับซิชิลี ซาร์ดิเนีย ( Sardinia ) และหมู่เกาะบาเลริค ( Balaeric ) รวมกันเป็นแคว้นที่สำคัญที่สุด ในด้านการบริหารนั้น แต่ละแคว้นแต่ก็มีอำนาจการปกครองของตัวเองเป็นเอกเทศเป็นอย่างมาก ส่วนค่าใช้จ่ายของแต่ละแคว้นก็ได้มาจากรายได้ของแคว้นนั้น ๆ เอง
            ผู้เป็นอุปราชมีอำนาจเต็มที่ในด้านการทหารและการปกครองของแคว้นของตน หน้าที่ทางราชการของอุปราชมีอยู่กว้างขวางมาก ส่วนงานด้านศาสนานั้น เคาะลีฟะห์เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาที่มีหน้าที่นำนมาซสาธารณะด้วย
            เมื่อแคว้นต่าง ๆ ขยายออกและพัฒนาขึ้นก็จำเป็นจะต้องแต่งตั้งเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองต่าง ๆ ในจังหวัดแต่ละจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหารของรัฐบาล การแต่งตั้งเจ้าพนักงานเหล่านี้ อุปราชเป็นผู้แต่งตั้งเองโดยไม่ต้องผ่านเคาะลีฟะห์ เพียงแต่ต้องส่งรายชื่อไปยังเคาะลีฟะห์เท่านั้นการบริหารงานศาลสถิตย์ยุติธรรมในหมู่ประชาชนที่ไม่ใช่มุสลิมนั้นมอบให้แก่หัวหน้าด้านศาสนาของคนกลุ่มนั้น ๆ โดยวัตถุประสงค์ที่จะกันอิทธิพลของต่างชาติออกจากกิจการของรัฐ มาตากรที่สำคัญที่สุดของอับดุลมาลิกก็คือ ถอดถอนชาวเปอร์เซียและคริสเตียนออกเสียจากตำแหน่งของงานรัฐและแต่งตั้งชาวอาหรับเข้าแทนที่ ท่านยังนำเอาภาษาอาหรับมาเป็นภาษาราชการแทนภาษากรีกและภาษาเปอร์เซียด้วย เจ้าหน้าที่ชาวอาหรับจำนวนมาก ได้รับการฝึกฝนและการศึกษา เพื่อความมุ่งหมายนี้มาตรการที่สำคัญพอ ๆ กันอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้เงินอาหรับและการถอดเงินตราต่างประเทศออกจากการหนุนเวียน

ระบบการทหาร

            ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญทางด้านการทหารในสมัยอุมัยยะห์ ในการทำสงครามกับชาวไบแซนไตน์นั้นชาวอาหรับได้เรียนรู้ความก้าวหน้าของวิธีการทางด้านทหารโรมันมา จึงนำมาใช้เป็นตัวอย่าง แม่ทัพมุสลิมต้องฝึกการตั้งค่ายแบบโรมัน มีการตั้งกระโจมที่มีประตูสองหรือสี่ยาน และคุ้มกันด้านเชิงเทินและคู การตั้งค่ายระบบนี้ใช้อยู่ตลอดสมัยอุมัยยะห์
            เมืองอัลคูฟะห์ อัล บัศเราะห์ และต่อมาภายหลังเมืองต่าง ๆ ด้านตะวันตกได้ถูกใช้เป็นเกณฑ์ทหารสำหรับกองทัพของแคว้นทางทิศตะวันออกในสมัยเคาะลีฟะห์แรกของราชวงศ์อุมัยยะห์ทหารม้าจำนวน 60,000 คน และค่าใช้จ่ายประจำปีในด้านการทหารตกปีละ 60 ล้านดินาร์  ทหารคนหนึ่ง ๆ ได้รับเงินปีเป็นจำนวน 1,000 ดิรฮัม รวมทั้งเงินช่วยเหลือครอบครัวด้วย แต่ต่อมา ได้มีการตัดเงินเดือนทหารน้อยลงเพราะเกิดความปั่นป่วนด้านเศรษฐกิจขึ้น แต่กระนั้นก็ดีในสมัยมัรวานที่ 2 ก็ยังมีทหารเป็นจำนวนหนึ่ง 1,200,000 นาย มุสลิมทุกคนสามารถเป็นทหารได้ จึงมีผู้ที่เปลี่ยนศาสนาใหม่ ๆ มาเป็นทหารกันมากขึ้น
            ทหารบางคนก็อาสาสมัครทำการรบเพื่ออิสลามโดยไม่ต้องการเงิน บางครั้งพวกผู้หญิงและพวกเด็ก ๆ ก็ไปกับพวกทหารด้วย
            ในสมัยอุมัยยะห์พวกทหารราบใช้แหลน คันธนูและลูกธนูใส่กระบอก หลาว หอก ดาบสองคม และเขนที่มีปมเหล็กหนัก ๆ กับโล่ยาว ๆ ทหารสวมหมวกเหล็ก และเสื้อหนังซึ่งพับซ้อน ๆ หลายชั้น เพื่อปกป้องร่างกาย
กองทัพเรือ
            เมื่อสิ้นสมัยเคาะลีฟะห์ทั้งสี่แล้วกษัตริย์ราชวงศ์อุมัยยะห์ก็ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ดามัสกัสและให้ความสนใจต่อกิจการทัพเรือเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากว่าชาวโรมันได้ยกทัพมารุกรานชายฝั่งทะเลซีเรีย เมื่อปี ฮศ.49 หรือ คศ. 669 มุอาวิยะห์จึงต้องหาทางป้องกัน
            ในตอนนั้นชาวอาหรับมีอู่ต่อเรืออยู่แห่งเดียวที่อียิปต์จึงจำเป็นต้องสร้างอู่เช่นนั้นไว้ที่ซีเรียอีกแห่งหนึ่งโดยได้ระดมผู้เชี่ยวชาญมาสร้างเรือรบขึ้นที่ชายฝั่งทะเลซีเรียโดยมีเมืองอัคคา ( Akka ) เป็นศูนย์กลาง หลังจากนี้มุอาวิยะห์ก็พยายามที่จะกีดกันไม่ให้ชาวโรมันล้วงล้ำเข้ามาและพยายามเข้าครอบครองเกาะต่าง ๆ ในทะเลเมดิเตอเรเนียนไว้และส่งทหารไปประจำตามเกาะเหล่านั้น และท่านก็เข้าโจมตีเกาะซิซิลีและส่งกองทัพไปเกาะโรดส์จากชาวไบแซนไตน์ได้  และสร้างความหวาดหวั่นให้แก่ชาวกรีกผู้หวาดกลัว กองทัพเรืออยู่เสมอ ท่านได้สร้างชุมชนอาหรับขึ้นที่นั่นในปี ฮศ. 54 หรือ คศ. 673 ก็ปราบเกาะอิรวาด ( lrwad ) ซึ่งอยู่ใกล้เมืองคอนสแตนติโนเปิลได้ แล้วก็เข้าโจมตีเกาะ
ครีท ( Crete )
           
            ในตอนปลายสมัยของมุอาวิยะห์ชาวอาหรับมีกำลังกำลังเรือถึง 1,700 ลำ นอกจากได้สร้างอู่ต่อเรือที่ชาวฝั่งทะเลซีเรียแล้ว ก็ยังสร้างอู่ขึ้นอีกหลายแห่งตามชายฝั่งทะเลอิยิปต์ด้วย อับดุลมาลิกได้สร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองตูนิส ( Tunis ) แต่เวลาส่วนใหญ่ของท่านใช้ไปในการปราบสงครามกลางเมือง จึงไม่สามารถสนพระทัยกองทัพเรือได้อย่างเต็มที่แต่ในสมัยวะลิด โอรสของท่านกองทัพเรือได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ในสมัยนั้นฮัจญาจญ์บินยูซุฟ เป็นผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก เรือพาณิชย์ของชาวมุสลิมได้ไปเยือนเกาะซีลอน ( ปัจจุบันนี้เป็นเมืองศรีลังกา ) เรือบางลำของมุสลิมถูกโจรสลัดอินเดียปล้น ฮัจญาจญ์บินยูซุฟจึงแก้แค้นโดยส่งกองทัพไปโจมตีแคว้นสินธุของอินเดีย และพิชิตได้ในทันทีในปี ฮศ. 93 หรือ คศ.711 เกาะต่าง ๆ ส่วนมากในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับสเปนและสินธุถูกพิชิตโดยความช่วยเหลือของกองทัพมุสลิมซึ่งทรงพลังอำนาจ ในสมัยเคาะลีฟะห์วะลีดนั้น กองทัพเรือแบ่งออกเป็นห้ากองทัพด้วยกันคือ กองทัพเรือของซีเรียมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเลาดิเซีย ( Lsudisia ) กองทัพของแอฟริกา( เช่น ตูนิส )กองทัพของอียิปต์( ซึ่งมีเมืองอเล็กซานเดรียเป็นจุดเริ่มต้น )
กองทัพเรือที่แม่น้ำไนล์ ( มีสำนักงานใหญ่ที่บาบิโลน ) และกองทัพเรือพิเศษสำหรับป้องกันปากแม่น้ำไนล์จากการรุกรานตามฝั่งทะเลโดยพวกไบแซนไตน์ พลังทัพเรือมุสลิมทำกิจกรรมอยู่ที่สองจุดใหญ่ ๆ คือ ที่มะเลเมดิเตอ์เรเนียนและที่มหาสมุทรอินเดีย เรือที่แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีขนาดใหญ่กว่าที่ทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย
พวกมะลาวี ( Malawi )
            ในประวัติศาสตร์อิสลามเรียกว่า มุสลิมใหม่ หรือมุสลิมที่เปลี่ยนศาสนาในอาณาจักรอาหรับว่า มะลาวี ( เอกพจน์ เมาลา ) เมื่อเปลี่ยนมารับนับถือศาสนาอิสลามแล้ว คนเหล่านี้ก็ผูกพันอยู่กับเผ่าอาหรับเพื่อปกป้องตนเองพวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองเล็ก ๆ  กับชาวอาหรับและทำการต่อสู้ในสงครามของอิสลาม ในสมัยที่ยังเต็มไปด้วยความยากลำบากในการขยายอาณาจักรอิสลามนั้นพวกมะลาวีเหล่านั้น ได้ทำคุณประโยชน์ให้ไว้ไม่น้อยกว่ามุสลิมชาวอาหรับเลย แต่กษัตริย์ในราชวงศ์อุมัยยะห์กับไม่ให้สิทธิพิเศษอันใดกับพวกเขาคนเหล่านี้ไม่ได้รับเงินส่วนแบ่งที่พวกเขามีสิทธ์ควรได้ ฐานะในสังคมของพวกเขาก็ไม่เท่าเทียมกับชาวอาหรับถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นประชาชนเหมือนกันและได้เสียสละจากบ้านเรือนมาเพื่ออิสลามก็ตาม ผลก็คือคนเหล่านี้รู้สึกห่างเหินไม่เป็นมิตรต่อรัฐบาลของราชวงศ์อุมัยยะห์และหาโอกาสที่จะโค่นล้มราชวงศ์นี้อยู่เสมอ เคาะลีฟะห์อุมัรที่ 2 ได้ตระหนักถึงความสำคัญพวกมะลาวีที่มีต่อกิจการของรัฐ ท่านจึงทรงยกเลิกภาษีให้พวกมุสลิมที่เปลี่ยนศาสนาใหม่ทุกคนและออกคำสั่งว่า มะลาวีทุกคนที่เป็นทหารอยู่ในกองทัพมุสลิม จะต้องได้รับเงินเท่าเทียมกับมุสลิมชาวอาหรับแต่ในตอนหลังพวกมะลาวีเหล่านี้ก็หันไปเข้าข้างพวกอับบาซียะห์และทำให้ราชวงศ์อุมัยยะห์ต้องโค่นลงเร็วขึ้น

สภาพด้านสังคม

            ในระหว่างสมัยของผู้ปกครองราชวงศ์อุมัยยะห์ทั้ง ๆ ที่มีระบบที่ไม่ดีงามอยู่มากมายแต่สภาพสังคมทั่ว ๆ ไปก็อยู่ในความสงบและยุติธรรม ถึงแม้ว่ามุสลิมชาวอาหรับจะมีอำนาจมากอยู่ในราชอาณาจักร และมุสลิมที่มิใช่ชาวอาหรับจะไม่ได้รับความนับถือนักก็ตาม แต่ผู้ที่มิใช่มุสลิมก็ไม่เคยได้รับความเดือดร้อนอันใด ต่างอยู่ด้วยความสงบสุขและฉันท์มิตร ได้รับสิทธิพิเศษในรัฐตามสมควร เคาะลีฟะห์อุมัรที่ 2 ทรงมีสายตาไกลในเรื่องนี้ จึงทรงจัดสวัสดิการให้แก่คนเหล่านี้ เคาะลีฟะห์ต่าง ๆ ต่างก็ช่วยปกป้องคุ้มครองโบสถ์วิหาร และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่มิใช่มุสลิมทุกศาสนา บางครั้งก็ยังบูรณะซ่อมแซมสถานที่เช่นนั้นด้วนเงินกองคลังของมุสลิมด้วย นอกจากมีเสรีภาพในศาสนาแล้ว ผู้ที่มิใช่มุสลิมยังมีเสรีภาพในการศาลและกฎหมายอีกด้วย พวกเขาได้รับอนุญาตให้ใช้กฎหมายของพวกเขาเองโดยไม่ต้องอยู่ใต้กฎหมายมุสลิม ผู้บริหารกฎหมายก็คือ หัวหน้าทางศาสนาของแต่ละกลุ่มเอง นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับความปลอดภัยในเรื่องเกียรติยศชีวิต และทรัพย์สินอีกด้วย
            ดามัสกัสได้กลายเป็นเมืองที่สวยงามแห่งหนึ่งที่สุดในโลกเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม เคาะลีฟะห์ต่าง ๆ ได้ตกแต่งนครนี้ด้วยอาคารที่ใหญ่โตหรูหรา น้ำพุ และสถานบันเทิงต่าง ๆ ระบบการจ่ายน้ำ ในสมัยนี้มีชื่อเสียงมากไม่มีที่ใดทัดเทียมได้ บรรดาผู้ปกครองเมืองหลวงนอกจากอุมัรที่ 2 ต่างก็มีชีวิตอยู่อย่างหรูหราฟุ่มเฟือย และรักษาความมาตรฐานแบบอย่างของชีวิตในวังตามแบบของกษัตริย์โรมัน มุอาวียะห์ทรงชอบฟังเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และเกร็ดพงศาวดารเคาะลีฟะห์ต้องทรงเป็นประธานในการนมาชวันศุกร์และนมาซประจำวัน หน้าที่นี้มีแต่มุอาวิยะห์ อับดุลมาลิก และอุมัรที่ 2 เท่านั้นที่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
            แต่เคาะลีฟะห์ท่านอื่น ๆ นั้น ต่างก็เพิกเฉยไม่สนใจ นอกจากหน้าที่ทางด้านศาสนาแล้วเคาะลีฟะห์ยังต้องยังต้องทำหน้าที่เป็นศาลสูงสำหรับอุทธรณ์อีกด้วย จากเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนทั้งในที่สาธารณะและเป็นการส่วนตัวในขณะว่าราชการ เคาะลีฟะห์จะประทับบนบัลลังก์ในห้องโถง แวดล้อมด้วยพวกราชวงศ์นั่งอยู่ทางด้านขวาและขุนนางข้าราชบริพาร นั่งอยู่ทางด้านซ้าย
            ชีวิตส่วนตัวของเคาะลีฟะห์ในราชวงศ์อุมัยยะห์มิใช่ไร้เสียซึ่งมลทิน เคาะลีฟะห์ส่วนมากจะเก็บนางบำเรอไว้ในฮาเร็ม การดื่มเหล้าเริ่มมีขึ้นในสมัยของยะซิดที่ 1 เคาะลีฟะห์บางท่านดิ่มสุราทุกวัน บางท่านก็ดื่มเพียงบางวัน การดื่มสุราจะมีการเต้นรำทำเพลงร่วมไปด้วย การเล่นลูกเต๋าและไพ่ก็มีขึ้นในอาณาจักร ในสมัยอุมัยยะห์การแข่งขันม้าเป็นที่นิยมมาก มีการอุปถัมภ์การดนตรี และจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้แก่นักดนตรีที่มีชื่อเสียง ธรรมเนียมที่น่ารังเกลียดคือ การใช้ขันทีในฮาเร็มได้ถูกยืมมาจากราชสำนักของไบแซนไตน์ และระบบการตั้งวงดื่มสุราในสังคมก็เอามาจากกษัตริย์เปอร์เซีย
            ธรรมเนียมการแยกสตรีเพศออกไปต่างห่าง ๆ ได้เข้ามาในสังคมอาหรับในสมัยเคาะลีฟะห์วะลีดที่ 2 สมัยนั้นสตรีมีสถานะภาพที่สำคัญในสังคม ได้รับสิทธิเสรีภาพมากมาย มีส่วนร่วมในกิจการด้านการศึกษาทุกอย่าง สตรีบางคนมีชื่อเสียงเด่นในฐานะเป็นนักวิชาการและนักกวีชื่อดัง เช่น ซากีนะห์ ธิดาของท่านหุสัยน์ อุมมุลบะนีน  มะเหสี ของวะลีดที่ 1 และเราะห์บีอะห์ ( Rabbiah ) เป็นต้น
            เครื่องแต่งกายแตกต่างไปตามฐานะของผู้แต่ง การใช้ผ้าเช็ดปากและช้อนเข้ามาในสมัยอุมัยยะห์นี้ การเสริฟอาหารเป็นไปอย่างหรูหราตามแบบตะวันตก เคาะลีฟะห์ในสมัยนี้ทรงใช้โต๊ะและเก้าอี้
            ประชาชนถูกแบ่งออกไปเป็น 4 ชั้นใหญ่ ๆ ชนชั้นสูงสุดคือ ชนชั้นปกครอง ซึ่งมีเคาะลีหะเป็นหัวหน้า และพวกขุนนางผู้ดีทั้งหลายและมุสลิมชาวอาหรับผู้พิชิตถัดลงมาคือพวกมะลาวีหรือพวกมุสลิมใหม่ ซึ่งถึงแม้ทางทฤษฎีจะได้รับการยอมรับ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีสิทธิของการเป็นประชาชนอย่างเต็มที่ ชนชั้นที่สามประกอบด้วยพวกที่เรียกว่า อะห์ลุซ ซิมมะห์ ( Ahul al – Dhimmah ) เช่น พวกคริสเตียน  ยิว  และอื่น ๆ ซึ่งมุสลิมได้ทำสนธิสัญญาด้วยชนชั้นต่ำสุดของสังคมก็คือ พวกทาส  คำสั่งสอนของท่านศาสดาและการทำตนเป็นตัวอย่างของท่านไม่สนับสนุนการมีทาส ผลคือในสมัยเคาะลีฟะห์อุมัรที่ 1 ได้มีการเลิกทาสไห้หมดในสังคมชาวอาหรับ  แต่ระบบการมีทาสได้มีการฟื้นฟูใหม่ในสมัยอุมัยยะห์ เนื่องด้วยความร่ำรวยของประชาชน จึงใด้มีการสั่งทาสมาจากประเทศไกลๆ ผู้ปกครองอาณาจักรได้สั่งเก็บภาษีบุตรจากชาวเบอร์เบอร์และชาวอื่น ๆ ที่มีลูกดกจนเอามาขายเป็นทาส อุมัรที่ 2 ได้เลิกสั่งภาษีชนิดนี้เสีย ทาสในสมันต้นของอิสลามนั้นได้มาจากพวกเชลยศึกทั้งผู้หญิงและเด็กด้วย มิฉะนั้นก็ได้จากการยึดตัวไว้เรียกค่าไถ่ หรือการซื้อหามา ในปลายสมัยอุมัยยะห์ระบบศักดินาได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อย่างมั่นคงในราชอาณาจักรอิสลาม

ระบบการศึกษา

            ท่านศาสดาแห่งอิสลามมิใช่เพียงสนับสนุนการศึกษาเท่านั้นแต่ยังไห้จัดมีการสอนขึ้นอย่างกว้างขวางด้วย ท่านได้ฝึกผู้สอนศาสนาและส่งไปสอนตามส่วนต่าง  ๆ ของดินแดนอารเบียในสมัยเคาะลีฟะห์รอชีด ได้มีการจัดการแบบเดียวกันนี้แต่เป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในระหว่างสมัยนี้วิชาที่ยอมรับกันมีเพียงไม่กี่สาขาเท่านั้นอย่างเช่นการศึกษาของกุรอ่าน ( al – Tafsir ) และพระวจนะของท่านศาสดา ( al – Hadith ) กฎหมาย ( al – Figh ) และการศึกษาถึงกวีนิพนธ์สมัยก่อนอิสลามเป็นต้น
            ในสมัยอุมัยยะห์ได้มีวิชาต่าง ๆ เกิดขึ้นอีกหลายสาขา เช่น ไวยากรณ์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่ในระยะต้นของสมัยอุมัยยะห์ไม่มีระบบการศึกษาแต่อย่างใด
            ในตอนนั้นเมืองบะดีเราะห์ ( Badirah ) ซึ่งอยู่ใกล้มักกะห์เป็นศูนย์กลางเดียวของวัฒนธรรมอาหรับ มีนักศึกษาจากส่วนต่าง ๆ ของราชอาณาจักรมารวมกันเพื่อเรียนการออกเสียงภาษาอาหรับ และการท่องบทกวี  ระบบศึกษาเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ และประชาชนคนสามัญก็เริ่มสนใจในการศึกษามากขึ้น ได้มีการให้การศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอ่านในมัสยิด ส่วนระบบการหาครูไปสอนกุรอ่านไปสอนให้เด็ก ๆ ตามบ้านนั้น เพิ่งมีในระยะหลัง โรงเรียนส่วนมากมักจะอยู่ติดกับมัสยิด และได้การจัดหาทรัพย์สิน โดยใช้มัสยิดนั้น ๆ เคาะลีฟะห์หลายท่านทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปและวรรณกรรม และได้ทรงสร้างโรงเรียน ขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของราชอาณาจักร
            เมืองบัศเราะห์ ( Basrah ) และคูฟะห์ ( Kufah ) เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของวัฒนธรรม กล่าวกันว่าวัฒนธรรมดินแดนอารเบียเริ่มขึ้นนจากสองเมืองนี้ ในเมืองบัศเราะห์ เคาะลิล บิน อะห์หมัด ( Khalil bin ahmad ) เป็นคนแรก ที่รวบรวมพจนานุกรมภาษาอาหรับขึ้น ในระยะนี้เองได้มีการวบรวม คำกล่าวของท่านศาสดา และผู้รวบรวมหะดิษ ที่มีชื่อเสียงสองท่านก็คือ ฮะซัน อัล บัศรีย์ ( Hasan al – Basri ) กับฮิชาบ อัซซุฮะรี ( Shihab al – Suhari )  ชาวมุสลิม ในสมัยนี้ยังต้องการ ทราบประวัติศาสตร์ของท่านศาสดา อีกด้วย นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่วิชาประวัติศาสตร์ ในสมัยนั้นนักประวัติศาสตร์และนักเล่าเรื่องราวที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นคือ อะบิด ( Abid ) และวะห์ฮาบ ( Wahab ) นอกจากนั้นคนในสมัยอุมัยยะห์ ยังมีความสนใจอย่างมากในวรรณกรรมอีกด้วย นักกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นก็มี อุมัร บิน อบีบะห์  ( Umar bin Abi Rabia ) ญะมิล ( Jamil ) ฮัมัด
( Hammad ) ญะรีร ( Jarir ) ฟะร็อชดัก ( Farajdak ) และอัคฏัล ( Akhtal )
            สมัยนี้ยังมีชื่อในเรื่องดนตรีอีก  ผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ก็คือ กัยส์ บิน มะลาวี  Qays bin Mulawe ) ผู้เป็นที่รู้จักกันในประวัติศาสตร์ในนามของมัจญ์นูน ( Majnun ) ผู้มีความรักอันลึกซื้งกับสาวงามไลลา จนกลายเป็นนิยายรักเลื่องชื่อมาจนทุกวันนี้ บทกวีของเขามีบรรยากาศแห่งความรักแท้ ซึ่งทำให้งานของเขามีเอกลักษณ์แตกต่างไปจากงานของคนอื่น ๆ
            ทางด้านความรู้ทางวิทยาศาสตร์เล่า สมัยนี้ก็มิได้ด้อยเหมือนกัน วิทยาศาสตร์การแพทย์เจริญถึงขีดสูงสุดในอารเบียในสมัยอุมัยยะห์นี้เอง คอลิด บิด ยะซิด ( Khalid bin Yazid ) เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องวิชาการแพทย์อย่างกว้างขวางได้เขียนหนังสือในเรื่องเหล่านี้ไว้หลายเล่ม  กล่าวกันว่าเขาเป็นคนแรกในหมู่ชาวมุสลิมที่แปลวิทยาศาสตร์กรีกมาเป็นภาษาอาหรับ เคาะลีฟะห์อุมัรที่ 2 ทรงอุปถัมภ์นักวิชาการและกล่าวกันว่าได้ทรงย้ายโรงเรียนทางการแพทย์จากเมืองอเล็กซานเดรียมาอยู่ที่แอนติอช ( Antioch ) ในสมัยของท่านได้มีการเปลี่ยนแปลงงานของกรีกออกเป็นภาษาอาหรับมากมาย หลานปู่ของท่านอะลีซึ่งมีนามว่า อิมามญะห์ฟัร ( Jafan ) เป็นผู้มีความรู้กว้างขวางในสมัยนั้นและเป็นผู้สร้างโรงเรียนปรัชญาที่สำคัญของอิสลามขึ้น ฮะซันอัล บัศรีย์และวาซิล บิน อะฎอ ( Wasil bin Ata   ผู้ตั้งสำนักปรัชญามุห์ตะซิละห์  ( Mutazilite ) ที่มีชื่อเสียงก็เป็นศิษย์ของอิมามญะห์ฟัรผู้นี้

สถาปัตยกรรมในสมัยอุมัยยะห์

  เคาะลีฟะห์แห่งราชวงศ์อุมัยยะห์เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปสถาปัตยกรรมอย่างสำคัญ ทรงสนใจในพัฒนาการทางด้านนี้ มุอาวิยะห์เป็นผู้นำเอาโดมมาใช้ มัสยิดที่ชื่อ โดม ออฟ เธอะร็อค ( Dome of the Rock ) ซึ่งอับดุลมาลิกทรงสร้างขึ้นที่เยรูซาเล็ม เมื่อ คศ. 691 นั้นเป็นตัวอย่างที่งดงามที่สุดของสถาปัตยกรรมระยะต้นของสมัยอุมัยยะห์ เป็นมัสยิดแห่งแรกที่มีโดมครอบ
            นอกจากนั้น อับดุลมาลิกยังสร้างมัสยิกอีกแห่งหนึ่งชื่อว่าอักซอ ( Agsa ) ที่เยรูซาเล็มซึ่งได้รับการสร้างขึ้นใหม่โดยเคาะลีฟะห์อับบาซียะห์  สมัยอับบาซียะห์ที่ชื่ออัล มันซูร ( Al – Mansur ) ด้วย มัสยิดแห่งดามัสกัส เป็นอาคารที่สำคัญถัดไปที่สร้างขึ้นในซีเรีย เคาะลีฟะห์วะลิดบินอับดุลมาลิกได้สร้างมัสยิดอันหรูหราหลังนี้ขึ้นเมื่อคริสศักราชที่ 8 วะลิดได้ทรงสร้างมัสยิดป่งมะเนะห์ขึ้นใหม่ เคาะลีฟะห์สุลัยมานทรงสร้างมัสยิดแห่งร็อมละห์ ( Ramkla ) อันงดงานขึ้น ทางด้านสถาปัตยกรรม สมัยอุมัยยะห์ได้ทิ้งอาคารอนุสรณ์ไว้เพียงไม่กี่แห่งซึ่งในจำนวนนั้นคือ กุสัยร์ อัมเราะห์ ( Qusayr Amrah ) หรือปราสาทน้อยแห่งอัมเราะก์ นับว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมชั้นยอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น