วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

วะลีดที่ 1 (Walid 1) และสุลัยมาน (Sulaiman)

วะลีดที่ 1 (Walid 1) และสุลัยมาน (Sulaiman)
วะลิดที่ 1 (ฮ.ศ. 863-96 ค.ศ. 705-715)
เมื่ออับดุลมาลิกสิ้นพระชนม์ วะลีดที่ 1 ซึ่งเป็นโอรสก็ขึ้นครองราชในดามัสกัส ในสมัยของท่านราชอาณาจักรเต็มไปด้วยความสงบสันติ อำนาจของพวกคอริญีย์ถูกบดขยี้ลงและไม่มีการกบฏเกิดขึ้นเลย วะลีดดำเนินนโยบายตามราชบิดาคือให้ฮัจญาจบินยูซุฟเป็นผู้ครองแคว้นทางด้านตะวันออก แต่ดินแดนอาราเบียนั้นทรงมอบให้ลูกพี่ลูกน้องของท่านคือ อุมัร บินอับดุลอาซิส ผู้ใจบุญปกครองอยู่หลายปี มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ได้รับการปกครองที่ดี อุมัรได้ตั้งสภาราษฏรผู้มีความรู้ขึ้นเป็นที่ปรึกษาในราชการการบริหารทุกอย่าง ได้ตกแต่งมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ด้วยอาคารอันสวยงามมากมาย ปรับปรุงถนนที่เชื่อมเมืองต่างๆในแคว้นเข้ากับเมืองหลวงเพื่อความสดวกของประชาชน เขาพยายามอย่างดีที่สุดที่จะปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น การปกครองแบบสุภาพอ่อนโยนของเขาทำให้ประชาชนจำนวนมากหนีจากกำมืออันหนักของฮัจญาจที่อิรักมาอยู่ในมะดีนะฮ์และมักกะฮ์ ฮัจญาจรู้สึกโกรธเคืองในเรื่องนี้ จึงฟ้องต่อวะลีดว่า อุมัรอนุญาตให้ประชาชนที่ประพฤติผิดของเขาเข้ามาอยู่ในเมืองอันศักดิสิทธิ์ วะลีดจึงถอดอุมัรออกจากตำแหน่ง

การขยายอาณาจักร
รัชสมัยของวะลีดที่ 1 มีชื่อเสียงในเรื่องการขยายอาณาจักรออกไป ได้มีการพิชิตประเทศอื่นๆทั้วทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทางทิศตะวันออกและเอเชียกลางและแคว้น สินธ์ของอินเดียได้ตกอยู่ใต้ความครอบครองของท่าน

การพิชิตเอเชียกลาง
ทรานโซเซียนา ( Transoniana ) ดินแดนของชาวเตอร์ก อันประกอบด้วยอาณาจักรใหญ่น้อยมากมาย ราชอาณาจักรบัลค์ (Balkh )ตูคาริสถาน (Tukharistan ) บุคอรอ (Bukhoro ) ฟัรฆอนะ ( Farghana ) และควาริสม์ ( khwarism )เป็นอาณาจักรที่สำคัญที่สุด พวกเตอร์กโกมาน ( Turkoman ) มักจะก่อความเดือดร้อนให้แก่ชาวมุสลิมโดยก่อการกบฏอยู่บ่อยๆนายทัพชื่อกุตัยบะฮ์ ( Gutayba ) เป็นผู้ปราบปรามได้ เอเชียกลางทั้งหมดจึงตกมาอยู่ภายใต้ความครอบครองของมุสลิม เขายึดได้เมืองต่างๆจนถึงชายแดนจีน
ในปี ค.ศ. 714 เขาไปบุกเตอรกีสถานของจีนด้วย และได้กาชกัร ( Kaskghar ) มาอยู่ในครอบครอง แต่เคาะลีฟะฮ์สิ้นชีพลงในตอนนั้นเขาจึงต้องถอยทัพกลับไป

การพิชิตอินเดียและปากีสถาน
มุฮัมมัด บิน กาซิม(Muhammad bin Qasim ) ได้นำทัพมุสลิมบุกไปถึงดินแดนอินเดียสาเหตุที่ต้องยกทัพไปก็เพราะว่าพวกโจรสลัดจากแคว้นสินธ์ของอินเดียมักจะมารบกวนผู้ครองแคว้นอาหรับอยู่บ่อยๆราชาแห่งแคว้นสินธ์คือดาหิร (Dahir )ปฏิเสธไม่ยอมทำตามคำขอร้องของผู้ครองแคว้นอาหรับ จนกระทั่ง มุฮัมมัด บิน กอซิม ยกทัพมาบุกราชอาณาจักรของดาหิรและได้รับชัยชนะในแคว้นสินธ์ มุลตัน (Multan) และส่วนหนึ่งของปัญจาปได้ตกเป็นของมุสลิม ในระยะนี้กองทัพมุสลิมได้บุกเข้าไปในเอเชียไมเนอร์และอาร์เมเนียด้วย

การพิชิตแอฟริกา
มูซา อิบนุ นุซัยร์ ( Musa ibn Nusayr ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ครอแคว้นฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียมจนถึงทิศใต้ของอียิปต์เขาพิชิตได้ดินแดนทางทิศตะวันตกมากมายได้ชัยชนะต่อพวกเบอร์เบอร์และขยายดินแดนไปจนถึงฝั่งมหาสมุทร แอตแลนติค เขาได้ส่งกองทัพไปตีพวกโรมัน ซึ่งคอยมารบกวนมุสลิมในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนด้วย กองทัพเรือ ยึดได้เกาะไอวิกา ( Ivica ) ไมนอร์กา ( Minorca ) และมาจอร์กา ( Marjorca ) ใกล้ฝั่งทะเลของสเปน

การพิชิตสเปน
สภาพของสเปนในขณะนั้นกำลังทรุด ทั่วทั้งประเทศตกอยู่ในความกดขี่ทรมานของกษัตริย์โกธิค ประเทศถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายฝ่าย การเกษตรก็ตกอยู่ใต้ภาระภาษีอย่างหนัก ชาวยิวซึ่งเป็นพวกที่ร่ำรวยในประเทศนั้นถูกประหัตประหารอย่างไม่ปราณี อาณาจักรสเปนในขณะนั้นอยู่ใต้อำนาจของกษัตริย์ โรเดอริค ( Roderlic ) เคาท์นจูเลียน ขุนนางผู้หนึ่งซึ่งถูกกษัตริย์โร เดอริค รุกรานได้เชิญมูซา อิบนุ ซัยร์ ไปบุกสเปนเพื่อช่วยเหลือเขา มุสลิมได้คอยโอกาสที่จะเข้าครองสเปนมานานแล้ว มูซาจึงส่งฏอริก ( Tariq ) เป็นแม่ทัพนำทหาร 7000 คน ไปยึดป้อมยิบรอลและแกรนาดา ( Granada ) ส่วนกษัตริย์โรเดอริก จมน้ำสิ้นพระชนม์ในขณะที่หนี ฏอริกก็ยึดได้เมืองคอร์โดวา ( Cor dova ) และโทเลโด ( Toledo ) เมืองหลวงของสเปน เป็นอันว่าสเปนทั้งประเทศตกอยู่ในความครอบครองของอิสลาม มูซาได้ไปสมทบกับฏอริกและยกทัพไปด้วยกัน ยึดเมืองซารากอสซา ( Saragossa ) เทอราโกนา ( Terragona ) และบาร์เซโลนา ( Barcelona ) ได้มูซาต้องการจะบุกยุโรปต่อไปแต่คอลีฟะฮ์ได้สั่งให้ยกทัพกลับเสียก่อน นับได้ว่ารัชสมัยของวะลีดที่ 1 เป็นยุคที่ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางที่สุดในสมัยของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ยังไม่ทันที่จะกลับไปถึงดามัสกัสเคาะลีฟะฮฺวะลีดที่ 1 ก็ได้สิ้นชีพเสียก่อน ( ค.ศ.715 )

ผลของการพิชิต
การที่มุสลิมพิชิตสปนได้นั้นเป็นการเปิดศักราชใหม่ในประวัติศาสตร์ของมุสลิม อิสลามได้กำจัดสิทธิพิเศษ และอำนาจของพวกผู้ดีชั้นสูงและพวกพระในประเทศนั้นออกไป ทำให้เกิดความเสมอภาคทางสังคมขึ้น ทั้งไพร่และผู้ดีมีความเสมอภาคกัน ภาษีอย่างหนักที่เคยเป็นภาระต่อชนชั้นกลางทั้งทีเป็นมุสลิมและไม่เป็นมุสลิมก็ลดน้อยลง พวกทาสหรือทาสติดที่ดินที่เคยได้รับความกดขี่จากนายเก่าก็ถูกปล่อยตัวเป็นอิสระ ชาวยิวและคริสเตียนผู้ที่แต่ก่อนนั้นเคยถูกประหัตประหารเพราะเรื่องศาสนา ได้รับเสรีภาพในการถือศาสนาการเกษตรได้รับการปรับปรุง การค้าและอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุน มุสลิมปกครองประเทศนั้นอย่างดีจนนักประวัติศาสตร์ผู้หนึ่งกล่าวว่า ‘ ชาวมัวร์ได้สร้างอาณาจักรแห่งคอร์โดวาอันน่าพิศวงขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในสมัยกลาง อันเป็นสมัยที่ยุโรปทั้งหมดยังจมอยู่ในความมืดมนป่าเถื่อน อาณาจักรคอร์โดวาเท่านั้นที่ได้ชูคบเพลิงแห่งความรู้และอารยธรรมขึ้นอย่างสดใสและสว่างไสวอยู่เบื้องหน้าโลกตะวันตก ’
เพื่อความสะดวกในการปกครอง มุสลิมได้แบ่งสเปนออกเป็น 4 แคว้นด้วยกัน แต่ละแคว้นให้อยู่ในการปกคองของผู้ครองแคว้นที่มีความสามารถ ได้มีการแต่งงานระหว่างผู้พิชิตกับผู้ถูกพิชิตประชาชนได้รับสิทธิ์ที่จะคิดและมีชีวิตอย่างป็นอิสระ มุสลิมได้สนับสนุนศิลปะและวิทยาศาสตร์
ดังนั้นสเปนจึงบรรลุถึงจุดรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยที่อยู่ใต้การปกครองของมุสลิม
ผลงานของเคาะลีฟะฮ์ วะลีดที่ 1

วะลีดที่ 1 เป็นเคาะลีฟะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิมถึงแม้ว่าอับดุลมาลิกจะนับว่าเป็นเคาะลีฟะฮฺที่ยิ่งใหญ่แล้วก็ตาม แต่วะลีด ยังมีคุณสมบัติบางแง่เด่นกว่าพระราชบิดา เช่นมีจิตใจที่เสรีและมีมนุษยธรรมมากกว่า รัชสมัยของท่านเจริญรุ่งเรืองทั้งในประเทศและนอกประเทศ ท่านทรงปราบปรามการแข็งข้อของพวกชีอะฮฺและคอริญีย์ และกำจัดความอิจฉา ริษยา ระหว่างเผ่าลงได้ทรงขยายอาณาจักร ออกไปอย่างกว้างขวาง บุคคอรอ สะมัรก็อนด์ สินธ์ แอฟริกา และ สเปน ต่างก็ตกอยู่ในความครอบครองของท่าน อาณาจักรของท่านขยายจากชายแดนจีนไปจนถึงอ่าวบิสเคย์ ( Biscay ) และจากทะเลโอรอล ( Oral ) ไปจนถึงเขตแดนกุจญ์ราตและบอมเบย์ในอินเดีย ทรงสร้างโรงเรียนและพยาบาล และจัดหาเงินช่วยเหลือคนชรา คนตายและคนพิการ ทรงสร้างโรงพยาบาลให้คนตาบอดในรัชสมัยของท่าน ศิลปและวัฒนธรรมเริ่มเจริญรุ่งเรือง ทรงเป็นนักสร้างที่ยิ่งใหญ่ ทรงบูรณะและขยายมัสญิดแห่งมาดีนะห์และมัสญิด อัลอักซอ ( Aksa ) ในเยรูซาเล็ม ทรงจัดสร้างมัสยิดขึ้นทุกเมือง ได้มีการศึกษาอัลกุรอ่านและหะดิษอย่างเอาใจใส่เป็นอย่างมากในเมืองคูฟะฮ์และบัศเราะฮ์ ในรัชสมัยของท่านการค้าเจริญรุ่งเรืองและการเดินทางก็ปลอดภัย ทรงเสด็จไปเยือนตลาดด้วยตัวท่านเอง สนับสนุนการออกแบบและผลิตภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนสนใจในความก้าวหน้าของตนเอง รัชสมัยนี้เต็มไปด้วยความสงบและรุ่งเรือง นับได้ว่ารัขสมัยของท่านเคาะลีฟะฮฺวะลีดที่ 1 นี้เจริญก้าวหน้ามากกว่าสมัยใดๆที่ผ่านมาแล้ว

สุลัยมาน
( ฮศ. 96-99 คศ.715-717 )
เมื่อเคาะลีฟะฮฺวะลีพี่ชายสิ้นชีพลง สุลัยมานก็ขึ้นครองราชย์ต่อมาท่านได้ทรงปล่อยคนที่ถูกฮัจญาจญ์ บินยูซุฟสั่งให้คุมขังไว้ให้เป็นอิสระหมด ทรงปฏิบัติต่อผู้ที่สนับสนุนเคาะลีฮฺวะลีดอย่างรุนแรง มูซาและ ฏอริกก็ได้รับความกดขี่จากท่านด้วย อับดุลเลาะห์บินมูซา ( Abdullah Bin Musa ) ก็ถูกฆ่าตายและมูฮัมมัดบินกอเล็ม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ปกครองที่เมตตาในอินเดียก็ถูกเรียกตัวกลับและถูกประหัตประหาร การทีสุลัยมานปฏิบัติอย่างร้ายกาจต่อนักรที่มีชื่อเสียงเช่นนี้เป็นการหน่วงเหนี่ยวความเจริญก้าวหน้าของอิสลามให้ช้าลง
ในปี ฮศ.96 หรือ ฮศ.716 สุลัยมานได้คบคิดกับนายพลชาวไบแซนไตน์คนหนึ่งชื่อลีโอตั้งไจจะไปตีเมืองคอนแสตนติโนเปิล จึงทรงส่งกองทัพไปล้อมเมืองนั้นไว้ แต่โดยที่ไม่ได้คาดหมาย ลีโอได้ถูกพวกโรมันผู้ตื่นตกใจให้เป็นกษัตริย์ ลีโอจึงทิ้งสัญญาเสียอย่างไม่ใยดี ทหารมุสลิมจึงต้องหิวโหยอดอยากหนาวจึงต้องถอยทัพกลับ
สุลัยมานสิ้นชีพ หลังจากที่เป็นเคาะลีฟะฮฺได้ 2 ปีกับ 5 เดือน ท่านเป็นกษัตริย์ที่เมตตาต่อสหาย แต่โหดร้ายกับศัตรู มีชื่อเสียงในเรื่องฮาเล็มและการมีชีวิตอย่างหรูหรา

คุณประโยชน์อย่าวเดียวที่ท่านทำให้แก่รัฐก็คือแต่งตั้งให้ลูกพี่ลูกน้องของท่านที่ชื่ออุมัรขึ้นเป็นคอลีฟะอ์ซึ่งต่อมา   อุมัรผู้นี้ได้กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น