วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้รู้วิชาฮาดีษ

อบูอัมรู อับดุรเราะหฺมาน อัลเอาซาอีย์
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 157)

   ชื่อจริงของท่าน คือ อบูอัมรฺ อับดุรเราะหฺมาน บิน อัมรฺ อัชชามีย์ อัดดิมัสกีย์ ท่านเป็นนักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟิกฮฺ)ที่เมืองชาม เกิดเมื่อปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 88
   ชาวเมืองชามและมัฆริบีย์(ตะวันตก)สังกัดมัซฮับของท่านก่อนที่จะเข้าอยู่ในมัซฮับของอิมามมาลิก
   ท่านคืออุลามาอ์ตาบิอีตตาบิอีนคนหนึ่ง ได้รับหะดีษจากบรรดาตาบิอีน ได้แก่ อะฏออ์ บิน อบีเราะบาหฺ , เกาะตาดะฮฺ , นาฟิอฺ , อัซซุฮฺรีย์ , ยะหฺยา บิน อบีกะษีร และคนอื่นๆ
   บรรดาอิมามที่รายงานหะดีษจากท่าน ได้แก่ สุฟยาน , มาลิก , ชุอฺบะฮฺ , อิบนุมุบาร็อก และคนอื่นๆ
   บรรดาอุลามาอ์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า อัลเอาซาอีย์ คือ ผู้มีความรู้ยิ่งในด้านหะดีษและฟิกฮฺ
   อับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดีย์ กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดในเมืองชามที่รอบรู้เรื่องสุนนะฮฺ นอกจาก ท่านเอาซาอีย์
   หุก็อล กล่าวว่า ท่านเอาซาอีย์สามารถตอบคำถามปัญหาต่างๆได้ 1,000 เรื่อง และบรรดาอุลามาอ์ต่างยอมรับในความสูงส่งในความรู้ของท่าน
   บรรดาอุลามาอ์ร่วมสมัยกับท่านกล่าวว่า ท่านคือผู้นำในสาขาวิชาหะดีษและฟิกฮฺ และท่านคือผู้กล้าหาญคนหนึ่งในการประกาศสัจธรรมต่อผู้มีอำนาจ
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 157 ที่เบรุต

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านอัลเอาซาอีย์ ในหนังสือตะหฺซีบุล อัสมาอ์ เขียนโดยอิมามนะวะวีย์ หมายเลข 1 : 298)

สุฟยาน อัษเษารีย์
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 191)

   ชื่อเดิมของท่าน คือ อบูอับดิลลาฮ สุฟยาน บิน สะอีด บิน มัสรูก อัลกูฟีย์  ท่านคือ นักท่องจำที่รอบคอบ ท่านเกิดที่เมืองกูฟะฮฺ ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 97 สะอดฺ บิดาของท่าน เป็นหนึ่งในบรรดาอุลามาอ์ของเมืองกูฟะฮฺ ท่านมีความพิถีพิถัน รอบคอบมากในการรายงานหะดีษ จนกระทั่ง ท่านชุอฺบะฮฺ บิน อัลหัจญาจย์ , สุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ และยะหฺยา บิน มะอิน ได้ยกยอให้ท่านเป็น อมีรุลมุอฺมินีน ฟิล หะดีษ” (ผู้นำของผู้ศรัทธาในวิชาหะดีษ) ฉายานามเหมือนกันนี้ได้ถูกเรียกโดยท่านมาลิก บิน อนัส
   ท่านเริ่มต้นศึกษาเรียนรู้จากบิดาของท่านเอง แล้วศึกษาจากผู้มีความสามารถมากมายในสมัยนั้น จนสามารถมีความเชี่ยวชาญอย่างมากในสาขาวิชาหะดีษและศาสนศาสตร์ ท่านได้ก่อตั้งสำนักคิดนิติศาสตร์(มัซฮับ)หนึ่ง(-ชื่อว่า มัซฮับอิมามอัษเษารีย์-)ที่ดำรงอยู่นานถึง 2 ศตวรรษ
   อัลคอฏีบ อัลบัฆดาดีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับตัวท่านไว้ว่า สุฟยาน(อัษเษารีย์) คือ หนึ่งในบรรดาอิมามของมุสลิม และเป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้นำศาสนา การเป็นผู้นำของท่านเป็นที่ยอมรับโดยทั่วของบรรดาอุลามาอ์ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องใดๆทั้งสิ้น(หมายถึง เป็นที่ยอมรับและรู้กันทั่วทั้งหมด)
   ท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ รายงานหะดีษจากอัลอะอฺมาสีย์(สุลัยมาน บิน มิหฺรอน) , อับดุลลอฮ บิน ดินาร , อาชิม อัลอะหฺวาล , อิบนุ อัลมุนเกาะดิร และคนอืนๆ
   ส่วนผู้ที่รายงานหะดีษจากท่านนั้น ได้แก่ อับดุรเราะหฺมาน เอาซาอีย์ , อับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดี , มิสอัร บิน กิดาม และอับบาน บิน อับดุลลอฮ อัลอะหฺมาสีย์ คนสุดท้ายที่ได้รายงานหะดีษจากท่านคือ อลี บิน อัลญะอดฺ
   อับดุลลอฮ บิน มุบาร็อก กล่าวว่า ฉันได้สังเกตอาจารย์ทั้งหลายจำนวน 1,000 ท่าน และฉันไม่เคยสังเกตเห็นผู้ใดที่เขาจะมีความประเสริฐยิ่งมากไปกว่าท่านสุฟยานแต่ทว่า มีอุลามาอ์บางท่านรายงานจากอิบนุ มุบาร็อก ว่า ท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ บางครั้งก็รายงานหะดีษมุดัลลัส(คือ หะดีษที่มีการปกปิดสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ)
   อิบนุ มุบาร็อก กล่าวว่า ฉันเคยเล่าหะดีษให้แก่สุฟยาน แล้วโอกาสต่อมาฉันได้ไปเจอเขาในขณะที่เขากำลังตัดลีส(ปกปิดสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถือ)หะดีษดังกล่าว และเมื่อเขาเห็นฉัน เขาจึงอายและกล่าวว่า ฉันรายงานสิ่งที่มาจากท่านหากเรื่องนี้เป็นความจริง เพื่อความสอดคล้องกันระหว่างสองคำพูดของอิบนุมุบาร็อกแล้ว การตัดลีสของท่านสุฟยานนั้น ก็มิได้เป็นการตัดลิสที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด ดังนั้น ท่าน(สุฟยาน)จึงได้กล่าวกับอิบนุมุบาร็อกว่า ฉันรายงานสิ่งที่มาจากท่านด้วยคำพูดดังกล่าวนี้ สายรานงานหะดีษที่รายงานถึงท่านดีงกล่าวนี้จึงมีความน่าเชื่อถือ
   ท่านอัษเษารีย์ เสียชีวิตที่เมืองบัศเราะฮฺ ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 161

(คักลอดจาก ชีวประวัติท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ ในหนังสือเฏาะบะกอต ของอิบนุสะอดฺ 6 : 257 และหนังสือตะหฺซีบ อัตตะหฺซีบ ของอิบนุหะญัร อัลกัสเกาะลานีย์ 4 : 111)

สุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198)

   ชื่อจริงของท่านคือ อบูมุหัมมัด สุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ บิน มัยมูน อัลหิลาลีย์ อัลกูฟีย์ ท่านได้พบกับตาบิอีนจำนวน 87 คน และได้ฟังหะดีษจาก 70 คนในหมู่พวกเขา บุคคลที่เป็นที่รู้จัก(ที่เขาได้ฟัง/เรียนหะดีษมา)ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ญะอฺฟัร อัศศอดิก , หุมัยดฺ อัฏเฏาลฺ , อับดุลลอฮ บิน ดินาร , อบูอัซซะนาด และศอลิหฺ บิน กัยสาน 
   บรรดาลูกศิษย์ของท่านที่รายงานหะดีษจากท่านให้แก่ผู้อื่นต่อนั้น ได้แก่ อัลอะอฺมาชีย์ , มิสอัร บิน กิดาม , อับดุลลอฮ บิน มุบาร็อก , อัชชาฟิอีย์ , อะหฺมัด บิน หัมบัล , ยะหฺยา บิน มะอิน และอลี บิน มะดินีย์
   ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 16 ท่านได้อพยพจากกูฟะฮฺไปยังเมืองมักกะฮฺ ท่านพักอาศัยอยู่ที่นี้ สอนหะดีษและอัลกุรอานแก่ประชาชนชาวฮิญาซจนกระทั่งท่านเสียชีวิตไป
   อิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับตัวท่านว่า เขา(สุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ)เป็นคนที่น่าเชือถือคนหนึ่ง เป็นนักหาฟิซ(ท่องจำ) และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ เป็นไปได้ว่าเขาเคยทำการตัดลิสหะดีษ แต่(ตัดลิสบุคคล)จากบรราดาผู้ที่เชื่อถือได้
   ท่านรายงานหะดีษทั้งสิ้นประมาณ 7,000 หะดีษ อิมามชาฟิอีย์ ได้เป็นพยานในความรอบรู้ของท่าน โดยกล่าวว่า หากว่าไม่มีมาลิกและอิบนุ อุยัยนะฮฺแล้วไซร้ ความรู้ของชาวฮิญาซย่อมสูยหายอย่างแน่นอน
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198 ที่เมืองมักกะฮฺ ในขณะอายุ  91 ปี

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านอิบนุ อุยัยนะฮฺ จากหนังสือตัดซิกะรอต อัลหุฟฟาด เขียนโดยอิมามอัซซะฮะบีย์ 1 : 242 และหนังสือ อัลอิอฺติดาล โดยอิมามอัซซะฮะบีย์เช่นกัน 1 : 379)

อัลลัยษฺ บิน สะอดฺ
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 175)

   ชื่อจริงของท่านคือ อัลลัยษฺ บิน สะอดฺ บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลฟะฮฺมีย์ ซึ่งได้รับขนานนามว่า อบูอัลหาริษ เป็นอาจารย์ใหญ่แห่งเมืองอียิปต์ เกิดที่เมืองก็อรก็อสยาน ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 94 ท่านเป็นคนร่ำรวยและใจกว้าง
   อิมามบุคอรีย์และมุสลิมรายงานหะดีษจากท่านเป็นจำนวนมาก อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล อิมามอัชชาฟิอีย ท่านสุฟยาน อัษเษารีย์ อัลอัจลีย์ และอุลามาอ์อีกจำนวนมากบอกว่า ท่านเป็นคนที่เชื่อถือได้
อิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า อัลลัยษฺ เชี่ยวชาญในเรื่องนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)มากกว่ามาลิกอิมามมาลิกเอง ได้กล่าวเป็นบ่อยครั้งในหนังสือของท่านว่า ได้มีรายงานมายังฉันจากผู้ทรงความรู้ยิ่งซึ่งดังกล่าวนั้นก็คือ ท่านอัลลัยษฺ บิน สะอดฺนั่นเอง
   อิมามนะวาวีย์กล่าวว่า สายรายงานของท่านอัลลัยษ์นั้นห่างไกลจากการตัดลิส  บรรดาอุลามาอ์ต่างเป็นพ้องกันว่าสายรายงานที่น่าเชื่อถือที่สุด(เศาะหีหฺ)จากอียิปต์นั้น คือ สายรางานจากท่านอัลลัยษฺ บิน สะอดฺ จากยะซ๊ด บิน อบีหะบีบ และผู้ที่รายงานหะดีษต่อจากท่านได้แก่ อับดุลลอฮ บิน มุบาร็อก และอับดุลลอฮ บิน วะฮฺฮาบ
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 175

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านอัลลัยษฺ ในหนังสือตารีค อัลบัฆดาดา เขียนโดยคอฏีบ บัฆดาดีย์ 13 : 3 และตัดซิกะรอต อัลหุฟฟาด เขียนโดย อิมามอัซซะฮะบีย์ 1 : 207)

ชุอฺบะฮฺ บิน อัลฮัจญาจญ์
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 160)

   ชื่อจริงของท่านคือ บุสฎัม ชุอฺบะฮฺ อิบนุ หัจญาจญ์ อัลอุตากียฺ อัลอัซดียฺ แด่เดิมท่านมาจาก วาสิฎ แล้วได้อพยพและพักอาศัยที่เมืองบัศเราะฮฺ ท่านเป็นหนึ่งในอุลามาอ์ตาบิอิตตาบิอีน และเป็นนักหาฟิซจากบรรดาแกนนำนักหะดีษ
   ท่านรับหะดีษจากอิบนุสีรีน , อัมรฺ บิน ดินาร , อัชชะอฺบีย์ และจากกลุ่มตาบีอีนคนอื่นๆ
   ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้รับรายงานหะดีษต่อจากท่าน คือ อัลอะอฺมะชีย์ , อัยยูบ อัสสัคตะยานีย์ มุหัมมัด อิบนุ อิสหาก , อัษเษรีย์ , อิบนุมะหฺดีย์ , วากิอฺ , อิบนุ มุบาร็อก , ยะหฺยา อัลก็อฏฏอน และคนอื่นๆ
   ท่านได้รับการนับถือเป็นอิมามหะดีษที่มีความจำดีเลิศ อิมามอะหฺมัด บิน หะมบัล กล่าวว่า ในสมัยของชุอฺบะฮฺ ไม่มีใครที่จะเหมือนกับเขาในด้านหะดีษ และไม่มีใครที่ดียิ่งในสาขาวิชาหะดีษมากกว่าเขา
   อิมาม ชาฟิอีย์ กล่าวว่า หากไม่มีชุอฺบะฮฺแล้วไซร้ ผู้คนแห่งอิรักจำนวนมาก็จะไม่รู้หะดีษในขณะที่สุฟยาน อัษเษารีย์กล่าวว่า ชุอฺบะฮฺ คือ อมีรุลมุอฺมินีน ในวิชาหะดีษและศอลิหฺ บิน มุหัมมัด กล่าวว่า อุลามาอ์ที่สมควรได้รับฉายาว่า ริญาลุหะดีษ(บุรุษแห่งหะดีษ)คือ อัชชุอฺบะฮฺ
   ท่านเสียชีวิตที่เมืองบัศเราะฮฺ ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 160 เมื่ออายุ 77 ปี

(คัดลิกจาก ชีวประวัติท่านชุอฺบะฮฺ บิน อัลหัจญาจย์ จากหนังสือตะหฺซีบุล อัสมาอ์ วัลลุฆอต ของอิมามนะวะวีย์ 1 : 244 และหนังสือตะหฺซีบ อัตตะหฺซีบ เขียนโดยอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ 6 : 358)

อบูหะนีฟะฮฺ
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 150)

   ชื่อจริงของท่านคือ อันนุอฺมาน บิน ษาบิต บิน ซุฏอ ท่านเคยเป็นทาสของตัยมุลลอฮ บิน ษะอฺละบะฮฺ อัลกูฟีย์ ดั้งเดิมแล้วท่านมาจากเปอร์เซีย
   ท่านอบูหะนีฟะฮฺเป็นตาบิอีนท่านหนึ่ง เพราะท่านเคยพบเห็นเศาะหาบะฮฺบางท่าน เช่น ท่านอนัส บิน มาลิก , ท่านสะฮลฺ บิน สะอดฺ อัสสาอิดี , ท่านอับดุลลอฮ บนิ อบีเอาฟา และท่านอบูฏุฟัยลฺ อมีร บิน วาศิละฮฺ ท่านรายงานหะดีษจากบางคนจากพวกท่านเหล่านั้น แต่ก็มีอุลามาอ์บางท่านบอกว่าท่านอบูหะนีฟะฮฺรายงานหะดีษากพวกท่านเหล่านั้น(เศาะหาบะฮฺที่กล่าวรายชื่อข้างต้น)
   ท่านอบูหะนีฟะฮฺเรียนวิชาฟิกฮฺและหะดีษจากท่านอะฏออ์ , นาฟิอฺ อิบนุ มุรมูซ , หัมมาด บิน อบีสุลัยมาน , อัมรฺ บิน ดินาร และคนอื่นๆ ส่วนผู้ที่รายงานหะดีษจากท่าน ก็คือ บรรดาลูกศิษย์ของท่านเอง เช่น อบูยูสุฟ , ซุฮฺฟาร์ , อบูมุฏิอฺ อัลบัลคีย์ , อิบนุ มุบาร็อก , อัลหะสัน บิน ซิยาด , ดาวูด อัฏเฏาะลฺ และวากิอฺ
   บรรดาอุลามาอ์ต่างเป็นพยานยืนยันถึงความกว้างขวางแห่งความรู้ด้านนิติศาสตร์(ฟิกฮฺ)และความเข้มแข็งของหลักฐาน(ที่มาจากท่าน) อิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า สาขาวิชาฟิกฮฺ มีอยู่ใน(ตัว)อบูหะนีฟะฮฺ
   อัลลัยษฺ บิน สะอดฺ กล่าวว่า ฉันเคยพบกับท่านอิมามมาลิกที่มะดีนะฮฺ แล้วฉันก็กล่าวถามท่านว่า ฉันเห็นท่านเช็ดเหงื่อที่คิ้วของท่าน?” อิมามาลิกกล่าวตอบว่า ฉันได้ทำงานอย่างหนักกับอบูหะนีฟะฮฺ เขา คือ นักผู้เชี่ยวชาญวิชานิติศาสตร์ที่แท้จริง
   อิบนุ มุบาร็อก กล่าวว่า ผู้ที่เข้าใจในวิชาฟิกฮฺมากที่สุดนั้น ฉันไม่เคยพบเห็นผู้ใดเสมือนกับเขา หากว่าอัลลอฮมิทรงช่วยเหลือฉันผ่านทางอบูหะนีฟะฮฺแล้วไซร้ แน่แท้ ฉันก็จะเป็นเสมือนคนส่วนใหญ่(คือ เป็นคนธรรมดา ไม่มีความรู้ใดๆ) เขาเป็นคนใจบุญสุนทาน และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสำรวจตรวจสอบประเด็นปัญหาต่างๆ
   มุหัมมัด บิน มะหฺมูด ได้รวบรวมหะดีษ 15 สายรายจากท่าน ไว้ในหนังสืออัลอัตสัร งานเขียนของลูกศิษย์ของเขาชื่อ มุหัมมัด บิน อัลหะสัน มีหะดีษมากมายที่มุหัมมัด(บิน มะหฺมูด)ได้รวบรวมไว้ซึ่งนำมาจากท่าน(อบูหะนีฟะฮฺ)
   ท่านอบูหะนีฟะฮฺ คือ ผู้หนึ่งที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮอย่างยิ่ง ท่านทำงานเลี้ยงชีพด้วยตัวท่านเอง และไม่รับสิ่งของ(ปัจจัยยังชีพ)จากบรรดาอุลามาอ์คนอื่นๆ อบูญะอฺฟัรเคยบังคับท่านให้เป็นกอฎี(ผู้ตัดสินในชั้นศาล) แต่ท่านอบูหะนีฟะฮฺปฏิเสธ 
   ท่านเสียชีวิตภายในคุกที่แบกแดด ในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 150

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านอบูหะนีฟะฮฺ จากหนังสือตารีต บัฆดาด เขียนโดย อัลคอฏีบ บัฆดาดีย์ 13 : 323)

ยุคต่อไป >>>>> ยุคที่ 5

5.ผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน
   • อับดุลลอฮ บิน อัลมุบาร็อก (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 181) 
   • วากิอฺ บิน อัลญัรรอหฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 197) 
   • อับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198) 
   • ยะหฺยา บิน สะอีด อัลก็อฏฏอน (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺที่ 198) 
   • อิมามชาฟิอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 204) 

6. ลูกศิษย์ของผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน 
   • อะหฺมัด บิน หัมบัล (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 241) 
   • ยะหฺยา บิน มะอิน(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 233) 
   • อลี บิน อัลมะดะนี (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 234) 
   • อบูบักร บิน อบีชัยบะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 235) 
   • อิบนุ เราะหะวัยฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 238) 
   • อิบนุ กุตัยบะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 236) 

7. ลูกศิษย์ของพวกเขา : ลูกศิษย์ของลูกศิษย์ของผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน
   • อัลบุคอรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 256) 
   • มุสลิม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 271) 
   • อิบนุ มาญะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 273) 
   • อบูหาติม (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 277) 
   • อบูซุรอะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 264) 
   • อบูดาวูด (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 275) 
   • อัตติรมีซีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 279
   • อันนะสาอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 234) 

8. คนรุ่นต่อมาที่ได้ดำเนินตามเส้นทางของลูกศิษย์ของลูกศิษย์ของผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน 
   • อิบนุ ญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 310) 
   • อิบนุ คุซัยมะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 311) 
   • มุหัมมัด บิน สะอดฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 230) 
   • อัดดารุลกุฏนีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮศักราชที่ 385) 
   • อัฏเฏาะหาวีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 321) 
   • อัลอะญุรรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 360) 
   • อิบนุ หิบบาน (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 342) 
   • อัฏฏ็อบรอนีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 360) 
   • อัลหากิม อันนัยสาบุรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 405) 
   • อัลละลิกะอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 416) 
   • อัลบัยหะกีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 458) 
   • อัลคอฏิบ อัลบัฆดาดีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 463) 
   • อิบนุ กุดามะฮฺ อัลมักดีสีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 620) 

9. ลูกศิษย์ของพวกเขา 
   • อิบนุ ดะกีก อัลอีด (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 702) 
   • อิบนุ ตัยมียะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 728) 
   • อัลมิซซีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 742) 
   • อิมาม อัซซะฮะบีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 748) 
   • อิมาม อิบนุลก็อยยิม  อัลเญาซียะฮฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 751) 
   • อิบนุ กะษีร (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 774) 
   • อัชชาฏิบีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 790) 
   • อิบนุ เราะญับ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 795) 

10. อุลามาอฺยุคหลัง
   • อัชชันอะนีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1182) 
   • มุหัมมัด บิน อัลดุลวะฮฮาบ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1206) 
   • มุหัมมัด ซิดดี้ก หะซัน คาน (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1307) 
   • อัลมุบาร็อกฟุรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1427) 
   • อับดุรเราะหฺมาน อัสสะอฺดีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1367) 
   • อะหฺมัด ชากิร (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1377) 
   • มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อาลุชชัยคฺ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1389) 
   • มุหัมมัด อะมีน อัชชันกิฎีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1393) 
   • มุหัมมัด นะศีรุดดีน อัลอัลบานีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1420) 
   • อับดุลอะซีซ บิน อับดิลลาฮ บิน บาซ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1420) 
   • หัมมาด อัลอันศอรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1418) 
   • หะมูด อัตตุวัยญิรีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1413) 
   • มุหัมมัด อัลญะมีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1416) 
   • มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัลอุษัยมีน (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1423) 
   • มุกบิล บิน ฮาดีย์ อัลวาดิอีย์ (เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 1423) 
   • ศอลิหฺ บิน เฟาซาน อัลเฟาซาน หะฟิเซาะฮุลลอฮ 
   • อัลดุลมุหฺซิน อัลอับบาด หะฟิเซาะฮุลลอฮ 
   • รอบิอฺ บิน ฮาดีย์ อัลมัดคอลีย์ หะฟิเซาะฮุลลอฮ 

ผู้ติดตามตาบิอิตตาบิอีน

อับดุลลอฮ บิน อัลมุบาร็อก
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 181)

   ชื่อจรงของท่านคือ อับดุรเราะหฺมาน อับดุลลอฮ บิน อัลมุบาร็อก อัลฮันซอลีย์ อัลมัรวาซีย์ เกิดเมื่อปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 118(คริศตศักราชที่ 736) บิดาเป็นคนตุรกี ส่วนมารดาเป็นคนเปอร์เซีย ท่านเป็นนักหะดีษชั้นนำและคนซื่อสัตย์ที่เป็นที่รู้จัก(ของคนในสังคม) ท่านอับดุลลอฮ บิน มุบาร็อก ศึกษาหาความรู้ภายใต้การอบรมสอนสั่งของอาจารย์ไม่กี่คนเท่านั้น จากเมืองเมอร์ฟฺ และที่อื่นๆ และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชาความรู้ ส่วนหนึ่งคือ วิชาหลักไวยกรณ์และวิชาวรรณคดี
   ท่านเป็นเศรษฐีคนหนึ่งที่ให้บริจาคทรัพย์สินจำนวนมากเพื่อช่วยเหลือคนยากจน ท่านมีหนังสือประพันธ์เกี่ยวกับหะดีษหลายเล่ม ส่วนหนึ่งจากหนังสือเหล่านั้น คือ สมถะที่เรายังพบเจอตราบถึงปัจจุบัน
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 181 ที่เมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยูพราท

อับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดีย์
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198)

   ชื่อจริงท่าน คือ อบูสะอีด อับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดีย์ บิน หะสัน บิน อับดุรเราะหฺมาน อัลอัมบารีย์ อัลบัศรีย์ ท่านเกิดเมื่อปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 135 เป็นอิมามวิชาหะดีษที่เป็นที่พึงพิงของอุมมะฮฺ(อิสลาม)ในสมัยของท่าน
   ท่านรับหะดีษจากคอลิด บิน ดินาร , มาลิก บิน มะคูล , มาลิก บิน อนัส , สุฟยาน อัษเษารีย์ , สุฟยาน บิน อุยัยนะฮฺ และคนอื่นๆ
   ส่วนหนึ่งจากผู้ที่รายงานหะดีษจากท่านคือ อิบนุ วะฮฺฮาบ , อะหฺมัด บิน หัมบัล , อิบนุมะอิน , อิบนุมะดีนี , อิสหาก บิน เราะหาวัยฮฺ , อบูอุบัยดฺ อัลกอสิม , อิบนุสะลาม และคนอื่นๆ
   บรรดาอุลามาอฺต่างยอมรับในความสูงส่งของความรู้ในด้านหะดีษของท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า อัลลอฮทรงบังเกิดอิบนุ มะหฺดีย์มาเพื่อเข้าใจหะดีษอลี บิน อัลมะดีนี กล่าวว่า ฉันไม่เคยพบเห็นผู้ที่มีความรู้ยิ่งไปกว่าอิบนุมะหฺดีย์
   ตัวท่านเองเคยกล่าวไว้ว่า บุคคลผู้หนึ่งไม่อาจะถูกกล่าวว่าเป็นอิมามในวิชาหะดีษได้ จนกว่า บุคคลดังกล่าวนั้น รู้ว่าหะดีษใดบ้างที่เป็นหะดีษเศาะหีหฺ และรู้จักค้นคว้าหาความรู้
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านอับดุรเราะหฺมาน บิน มะหฺดีย์ ในหนังสือตะหฺซีบ อัลอัสมาอ์ ของอิมามนะวะวี 11 : 304 และตะหฺซีบ อัตตะหฺซีบ ของอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ 6 : 279)
   
วากิอฺ บิน อัลญัรรอหฺ
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 197)

   ชื่อจริงของท่าน คือ อบูสุฟยาน วากิอฺ บิน อัลญัรรอหฺ บิน มาลิก บิน อะดียฺ เกิดเมื่อปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 127 ท่านเป็นอุลามาอฺจากตาบิอิตตาบิอีนคนหนึ่ง และเป็นนักท่องจำผู้เชี่ยวชาญหะดีษที่ยิ่งใหญ่ เป็นผู้นำของบรรดาอุลามาอฺที่เมืองกูฟะฮฺในด้านหะดีษและวิชาอื่นๆ 
   ท่านรับหะดีษมาจาก อัลอะอฺมาซีย์ ฮิชาม บิน อุรวะฮฺ , อับดุลลอฮ บิน เอานฺ , อัษเษารีย์ , อิบนุอุยัยนะฮฺ และคนอื่นๆ บรรดาอุลมาอฺต่างยอมรับในความสูงส่งของความรู้ในด้านหะดีษและการท่องจำของท่านวากิอฺ อิมาม อะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า มีการบอกเล่าแก่ฉันโดยชายคนหนึ่งที่สายตาของพวกท่านไม่เคยแลเห็นเขาทั้งที่มีสมควร เขาคือ วากิอฺ บิน อัลญัรรอหฺ
   อะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวอีกว่า ฉันไม่เคยเห็นอุลามาอฺท่านใดที่จะมีความรู้(อย่างลึกซึ้ง)ในการท่องจำสายรายงานหะดีษ นอกจากวากิอฺ เขาท่องจำหะดีษ มีความสามารถลึกซึ้งในวิชาฟิกฮฺและการอิจติฮาด และเขาไม่เคยท่อดอใคร
   อิบนุ มะอิน กล่าวว่า ฉันไม่เคยพบเห็นผู้ใดที่รายงานหะดีษเพื่อพระองค์อัลลอฮอย่างแท้จริง เว้นแต่ วากิอฺ
   อิบนุ อมัร กล่าวว่า ไม่มีผู้ใดในเมืองกูฟะฮฺที่จะรอบรู้และท่องจำ(หะดีษ)ยิ่งไปกว่าวากิอฺ ในยุคของเขานั้น เขามีสถานะเหมือนกับเอาซาอีย์”  
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 197

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านวากิอฺ บิน อัลญัรรอหฺ ในหนังสือตะหฺซีบ อัลอัสมาอ์ ของอิมามนะวะวี 11 : 123 และตะหฺซีบ อัตตะหฺซีบ ของอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ 11 : 144)
   
ยะหฺยา บิน สะอีด เกาะหฺฏอน
(เสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198)

   ชื่อจริงของท่าน คือ อบูสะอีด ยะหฺยา สะอีด บิน ฟารุค อัตตะมีมี อัลบัศรีย์ อัลเกาะหฺฏอน เป็นอุลามาอฺท่านหนึ่งในยุคสมัยของตาบิอิตตาบิอีน เกิดในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 127
   ท่านรับหะดีษจาก ยะหฺยา บิน สะอีด อัลอันศอรีย์ , อิบนุญุร็อยจญ์ , สะอีด บิน อะรูบะฮฺ ,อัษเษารีย์ , อิบนุอุยัยนะฮฺ , มาลิก , ชุอฺบะฮฺ และคนอื่นๆ
   ลูกศิษย์ของท่านส่วนหนึ่ง ได้แก่ อะหฺมัด บิน หัมบัล , ยะหฺยา บิน มะอิน , อลี บิน อัลมะดะนี , อิสหาก บิน เราะหะวัยฮฺ , อิบนุมันดียฺ , อบูอุบัยดฺ อัลกอสม บิน สะลาม และอื่นๆ
   บรรดาลุมาอฺเห็นลงมติเห็นพ้องกันว่าท่านคืออุลามาอฺที่ยิ่งใหญ่ในสาขาวิชาหะดีษ มีความจำที่หนักแน่น มีความรู้ที่กว้างขวาง และเป็นที่รู้กจักในฐานะของคนศอลิหฺ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เป็นที่ยอมรับของอุลามาอฺหะดีษหลากหลายท่าน อะหฺมัด บิน หัมบัล กล่าวว่า  “ฉันไม่เคยเห็นอุลามาอฺท่านใดที่เทียบเคียงกับท่านยะหฺยาในการเป็นอยู่ได้เลย
   อิบนุ มันญุวัยฮฺ กล่าวว่า ยะหฺยา อัลเกาะหฺฏอน คือ คนชั้นแนวหน้าในวิชาความร็ ไม่ว่าจะเป็นวิชาหะดีษ หรือวิชาฟิกฮฺ ท่านเป็นผู้ริเริ่มการเขียนหะดีษในบรรดาอุลามาอฺที่เมืองอิรัก และท่านจะกระตือรือร้นในการพูดคุยหารือเกี่ยวกับนักรายงานหะดีษที่น่าเชื่อถือ(สิเกาะฮฺ)
   ท่านเสียชีวิตในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ 198

(คัดลอกจาก ชีวประวัติท่านยะหฺยา อัลเกาะหฺฏอน ในหนังสือตะหฺซีบ อัลอัสมาอ์ ของอิมามนะวะวี และหนังสือตะหฺซีบ อัตตะหฺซีบ ชองอิบนุ หะญัร อัลอัสเกาะลานีย์)




วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ เล่ามาจาก ตอวุสอัลยามานี

ประวัติ เล่ามาจาก ตอวุสอัลยามานี

มีชายคนหนึ่ง เขามีลูก 4 คน ต่อมาเขาล้มเจ็บลง บรรดาลูกทั้ง 4 ของเขา ก็เกี่ยงกันในการดูแล เพราะปรากฏว่าเขาไม่มีทรัพย์สินใดๆ ที่จะเป็นมรดกเมื่อเขาตายไปแล้ว และในที่สุดพี่ใหญ่ก็รับเป็นผู้เลี้ยงดูพ่อ ส่วนอีกสามคน ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไร ต่อมาชายผู้นั้ได้ถึงแก่ความตาย บุตรชายคนโตก็จัดการศพของพ่อจนครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่ได้รบกวนน้องๆ อีกสามคนเลย หลังจากเสร็จสิ้นการฝังศพแล้ว ตกกลางคืน บุตรชายคนโตก็เข้านอนหลับสนิทด้วยความอ่อนเพลีย และเขาก็ฝันว่า มีคนมาสั่งให้เขาไปขุดทองจำนวน 100 ดีนาร์ จากที่แห่งหนึ่ง และทองคำนี้จะไม่มีบารากัต เมื่อเขาตื่นนอนตอนเช้า เขาก็เล่าให้ภริยาของเขาฟังถึงความฝันที่เขาได้ฝันเมื่อคืนนี้ ภริยาของเขาจึงบอกให้เขารีบไปขุดเสียด้วยความละโมภ แต่เขาคัดค้านไม่ยอมไปขุด จนถึงคืนต่อมาเขาก็ฝันอีกว่า มีคนมาสั่งให้เขาไปขุดเอาทอง แต่จำนวนลดลงเหลือเพียง 10 ดีนาร์ แต่ไม่มีบารากัตเช่นเดียวกัน รุ่งเช้าเขาเล่าให้ภริยาฟัง ภริยาก็แนะนำให้เขาไปขุด แต่เขาคัดค้านไม่ยอมทำตาม และในคืนต่อมา เขาก็ฝันอีก แต่ในฝันแจ้งว่า เขาจะได้ทองเพียงดีนาร์เดียว แต่เป็นทองที่มีบารากัต รุ่งเช้าเขาจึงไปขุดทองจำนวนนั้นขึ้นมา แล้วเดินต่อไปยังตลาด เขาได้พบพ่อค้าปลาคนหนึ่งนั่งขายปลา ซึ่งมีเพียง 2 ตัว เขาถามว่าปลา 2 ตัวนี้ ราคาเท่าไร พ่อค้าก็ตอบว่า ราคาหนึ่งดีนาร์ เขาจึงซื้อปลานั้นไว้ แล้วนำกลับไปบ้าน เพื่อจัดการทำกับข้าว แต่เมื่อเขาผ่าท้องปลาทั้งสองตัวออก เขาก็พบว่า ในท้องปลานั้น มีอัญมณีอันสวยงาม ซึ่งเขาไม่เคยพบเห็นมาก่อน บรรจุอยู่ตัวละ 1 เม็ด ต่อมาเขาได้นำอัญมณีเม็ดหนึ่ง ถวายเจ้าเมือง แต่เมื่อเจ้าเมืองสังเกตอัญมณีเม็ดนั้นแล้ว ก็ทราบว่ายังมีคู่อีกเม็ดหนึ่ง จึงสั่งให้เขาไปเอามาถวาย พร้อมทั้งตอบแทนแก่เขาอย่างมหาศาล เป็นทองจำนวนถึง 60,000 ดีนาร์ หลังจากนั้น เขาได้ฝันอีก เห็นคนเดิมมาพูดกับเขาว่า เท่าที่เขาได้รับโชคมหาศาลถึงเพียงนี้ ก็เป็นเพราะเขาทำดีต่อพ่อของเขานั่นเอง ผลตอบแทนที่ได้นี้ เป็นเพียงบางส่วน ที่พระเจ้าได้ประทานให้ในโลกนี้เท่านั้น เขายังจะได้รับอีกมากมายในโลกหน้า

มีหะดิษจากท่านศาสดามุหัมมัด
"ใครวางอาหารที่ดีไว้ในบ้านของตนเอง และเขาได้รับประทานอาหารนั้นเพียงลำพัง โดยไม่มีพ่อแม่ของเขาร่วมวงด้วย แน่นอนอัลลอฮฺจักทรงห้ามเขามิให้สัมผัสกับรสของอาหารจากสวรรค์ "
ใครนอนหลับตอนกลางคืนอย่างอิ่มหนำสำราญ โดยปล่อยให้คนใดคนหนึ่งจากพ่อแม่ของเขาต้องหิวหรือกระหาย แน่นอนอัลลอฮฺจักทรงขับเขา ให้ไปรวมกลุ่มในวันชาติหน้า ในสภาพหิวและกระหายและอัลลอฮฺไม่ทรงละอายที่จะลงโทษเขาในวันชาติหน้า
" สวรรค์จะส่งกลิ่นหอมหวลกระจายออกไปไกลถึงระยะทางเทียบเป็นเวลาได้ 500 ปี แต่ผู้เนรคุณพ่อแม่ จะไม่มีโอกาสได้สูดกลิ่นของมันเลย และผู้ตัดไมตรีกับญาติมิตร ก็ไม่ได้สูดกลิ่นเช่นเดียวกัน "
รายงานจากมุหัมมัด บินกะอับ อัลกุรฎี เล่าว่า
ในสมัยนบีอีซา อ.ฮ. มีชายคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรม โดยที่เขาเป็นผู้เนรคุณพ่อแม่ของตนเอง ต่อมาแม่ของเขาได้มาขอร้อง ต่อนบีอีซา ช่วยขอพรต่อพระเจ้า ให้ฟื้นคืนชีพของลูกชายขึ้นจากหลุมศพเป็นการชั่วคราว เพื่อนางจะได้ซักถามถึงสภาพของเขา นบีอีซาก็ทำตามที่นางขอร้อง ลูกชายของนางก็ฟืนขึ้นมาจริงๆ นางถามเขาว่า ขณะอยู่ในหลุมศพนั้นเขาเป็นอย่างไร... เขาตอบว่า เขาได้รับความทรมานเป็นที่สุด ผลจากการที่เขาตะคอกแม่ของเขาเมื่ออดีต ทำให้มลาอิกะฮฺที่เฝ้าประตูนรก แผดเสียงใส่เขาดังสุดขีด จนหูของเขาอื้อ แล้วก็แตก เลือดไหลโซมออกมา เขาทรมานเป็นที่สุด เขาตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ หมุนเวียนสลับกันไปตลอดเวลา

4 เนี๊ยะมัต

ท่าน อะมีลรุลมุอฺมินีน  อุมัร อิบนุ  ค๊อฏฏอบ  (ร.ฏ.)  กล่าวว่า  ไม่มีบะลาอฺใดที่มาประสบแก่ฉัน  นอกจากฉันเห็นว่ามันจะมี  อยู่ 4 เนี๊ยะมัต ด้วยกัน 

1. 
บะลอนั้นเกิดขึ้นในเรื่องของดุนยา  ไม่ใช่เรื่องศาสนา  เช่นเราได้รับบะลอโดยตกไปอยู่ในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง  นั่นย่อมเป็นบะลอที่เป็นความวิบัติ   แต่หากเราได้รับบะลอเกี่ยวกับดุนยา เช่นเราเจ็บป่วย  ดังกล่าว  ย่อมเป็นเนี๊ยะมัตที่ทำให้เราหวนกลับไปสู่อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)

2. 
บะลอที่เกิดขึ้นนั้น  มันไม่ใหญ่กว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  คือเราต้องคิดว่า  อัลเลาะฮฺให้เราประสบบะลอแค่นี้   ซึ่งดีกว่าคนอื่นที่อัลเลาะฮฺได้ให้เขามีอาการที่หนักกว่าเรา

3. 
อัลเลาะฮฺทรงให้ฉันมีความอดทนในสิ่งที่ฉันแบกรับมันอยู่

4. 
อัลเลาะฮฺได้สะสมผลบุญให้แก่เรา  เนื่องจากเรามีความอดทนต่อสิ่งที่อัลเลาะฮฺประทานให้แก่เราฃ

ดังนั้น  เมื่อเรารู้ถึงเนี๊ยะมัตที่สี่ประการดังกล่าวที่อัลเลาะฮฺทรงมอบให้แก่เรานั้น   หัวใจของเราก็จะเพิ่มพูนในความรักต่ออัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)  และทำการขอบคุณสรรญเสริญต่อพระองค์

ซึ่งอัลเลาะฮฺทรงตรัสว่า

وَعَسَى أَنْ تَكْرَهُوْا شَيْئاً وَهُوَ خَيْرٌ لَكُمْ وَعَسَى أَنْ تُحِبُّوْا شَيْئاً وَهُوَ شَرٌّ لَكُمْ وَاللهُ يَعْلَمُ وَأَنْتُمْ لاَتَعْلَمُوْنَ

"
แต่พวกทีพวกเจ้ารังเกียจสิ่งหนึ่ง  โดยที่สิ่งนั้นอาจเป็นความดีสำหรับพวกเจ้าก็ได้  และบางทีพวกเจ้าชอบในสิ่งหนึ่ง  โดยสิ่งนั้น  อาจจะเป็นความเลวร้ายสำหรับพวกเจ้าก็ได้  และอัลเลาะฮฺทรงรู้  โดยที่พวกเจ้าไม่รู้ "  อัลบะกอเราะฮฺ 116

ดังนั้น  พวกท่านทั้งหลายจงดำรงค์ชีวิตอยู่ให้สบายใจเถิด  ด้วยการ ริฏอ  พอใจในสิ่งที่อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานให้  บางครั้งผมยังคิดเลยว่า  อัลเลาะฮ์น่าจะประทานโรงประจำตัวสักโรคหนึ่งแก่กระผม  จะมาเตือนต่อมความหลงลืมต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา   ท่านผู้อ่านว่าเข้าท่าไหม?