วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติวันครู (อิสลามกับวันครู)

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่าที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้องจากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น วันครูโดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

อิสลามกับวันครู
ครูให้อะไรแก่ศิษย์ ? 
1) ให้ความรู้ 
ความรู้ที่จะยังประโยชน์แก่ศิษย์ในฐานะผู้รับ และแก่ตัวครูเองในฐานะผู้ให้ ทั้งในดุนยา และอาคิเราะฮ ความรู้ที่ครูได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ คือความรู้ที่ยังประโยชน์ เมื่อศิษย์ได้รับประโยชน์จากความรู้ อัลลอฮจึงให้ประโยชน์ดังกล่าวเป็นอานิสงส์ แก่ครูเช่นเดียวกัน
 

2) ให้โอกาส
 
ครูต้องให้โอกาสศิษย์เสมอในการศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่มีคำว่าสาย เมื่อโอกาส และจังหวะของชีวิตแต่ละคน อัลลอฮทรงกำหนดให้ไม่เหมือนกัน ครูจึงไม่ควรปิดกั้นโอกาสของศิษย์ ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ
 

3) ให้ความคิด
 
นอกจากความรู้ที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบังแล้ว ครูจะต้องให้ความคิดแก่ศิษย์ด้วย คือให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปขยายต่อ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในภาวะต่างๆได้ ครูจึงไม่ใช่ครูสอนหนังสือ แต่เป็นครูสอนคน และสอนคนให้เป็นมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนา
 

4) ให้ชีวิต
 
ครูเป็นผู้ให้ชีวิต ในที่นี้หมายถึง ให้จิตวิญญาณ และอุดมการณ์ ซึ่งเป็นสารัดถะสำคัญของชีวิต นักเรียน นักศึกษาหลายคนที่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีครูที่ให้อุดมการณ์ และให้จิตวิญญาณแก่ศิษย์ จนสามารถยึดเป็นหลักในการต่อสู้ และฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆของชีวิตได้
 

5) ให้กำลังใจ
 
ครูต้องเป็นผู้ให้กำลังใจศิษย์ โดยเฉพาะเมื่อศิษย์เกิดความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ หรือหมดหวัง การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม กำลังใจเปรียบเหมือนยาหอมที่ชโลมใจให้รู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ ศิษย์หลายคนที่เคยท้อแท้ในชีวิต แต่เมื่อได้กำลังใจจากครูก็กลับฮึดสู้จนประสบความสำเร็จได้
 

6) ให้อภัย
 
ครูต้องให้อภัยศิษย์เสมอ ไม่ว่าศิษย์จะทำความผิดมากน้อยเพียงใด การให้อภัยเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งของผู้ที่เป็นครู หากครูเป็นพ่อ ลูกศิษย์ก็คือลูก เมื่อลูกทำอะไรที่ผิดพลาด พ่อควรว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเอ็นดู ควรให้อภัย และให้โอกาส
 



ครุคือผู้เติมเต็ม... 


ศิษย์ทุกคนที่เราสอนล้วนมีความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ครูไม่รู้ ครูกับศิษย์จึงรู้กันคนละอย่าง มีความถนัดกันคนละอย่าง ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเติมเต็ม และต่อยอดความรู้ที่เรายังขาดกันคนละอย่าง
 

คำอธิบายนี้ทำให้ผมนึกถึงระบบครูกับศิษย์ในกระบวนการถ่ายทอดหะดีษในอิสลาม กล่าวคือ ในการรายงานหะดีษนั้น ครูกับศิษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้เติมเต็มให้กันและกัน ครูจะให้รายงาน (หะดีษ) แก่ศิษย์ ในขณะที่ศิษย์ก็จะให้รายงาน (หะดีษที่ครูไม่มี) แก่ครู ครูจึงเป็นทั้งครูทั้งศิษย์โดยทำหน้าที่เติมเต็มให้แก่กัน
 

ครูเติมเต็มอะไรให้แก่ศิษย์ ?
 

1) เติมเต็มความรู้
 

หมายถึง เติมเต็มความรู้ที่ศิษย์ไม่เคยรู้มาก่อน หรือเคยรู้มาอย่างผิดๆ หรืออย่างขาดๆ เกินๆ ครูต้องเป็นผู้เติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ศิษย์ ขณะเดียวกันศิษย์ก็อาจเติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ครูเช่นเดียวกัน เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้นที่บอกว่า เรารู้กันคนละอย่าง
 

2) เติมเต็มประสบการณ์
 

ครูมิใช่เป็นผู้เติมเต็มเฉพาะความรู้เท่านั้น แต่ครูจะต้องเติมเต็มประสบการณ์ให้แก่ศิษย์ด้วย ประสบการณ์ที่ครูถ่ายทอดให้แก่ศิษย์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และอาจมากกว่าความรู้ด้วยซ้ำไป ครูจึงไม่ควรหวงประสบการณ์ แต่ควรเติมในส่วนที่ศิษย์ยังขาดอยู่ และศิษย์ก็มีส่วนช่วยเติมในส่วนที่ครูขาดอยู่เช่นเดียวกัน
 

3) เติมเต็มสติปัญญา
 

ครูได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายสติปัญญาให้แก่ศิษย์ ให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกต้อง และครูยังได้ชื่อว่าเป็นผู้เติมเต็มสติปัญญาให้แก่ศิษย์อีกด้วย เนื่องจากพัฒนาการของสติปัญญานั้นจำต้องอาศัยแบบฝึกหัดต่างๆจากครู เพื่อสติปัญญาจะได้รับการพัฒนาไปสู่จุดที่สมบูรณ์ และสุกงอมที่สุด
 


ครูคือผู้มีเมตตา...
 

ความเมตตาเป็นคุณธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของครูที่จะขาดเสียมิได้ ครูที่สอนศิษย์ด้วยความเมตตาจะอยู่ในดวงใจของศิษย์ทุกคน และที่สำคัญคือ ครูจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺเป็นพิเศษ ดังหลักฐานจากอัลหะดีษบทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า:
 


"
اِرْحَمْ مَنْ فِيْ اْلأَرْضِ يَرْحَمُكَ مَنْ فِيْ السَّمَاءِ " 

ความว่า ท่านจงเมตตาผู้อยู่ในโลก(มนุษย์)แล้วผู้อยู่บนฟ้า (อัลลอฮฺ) จะเมตตาท่าน (บันทึกโดยติรมิซียฺ )
 


ใครบ้างที่ครูมีเมตตา ?
 

1) เมตตาต่อศิษย์
 

ครูควรมีเมตตาต่อศิษย์ทุกคน และควรถือว่าศิษย์ทุกคนเป็นเสมือนลูก เสมือนหลาน ความเมตตาที่มีต่อศิษย์จะทำให้ครูมีความกระตือรือร้นในการสอน และสอนด้วยความสุข เพราะในดวงจิตของครูมีแต่ความปรารถนาดีที่ต้องการให้ศิษย์มีความรู้ และมีอนาคตที่ดีในภายภาคหน้า ครูที่มีเมตตาจะพูดกับศิษย์ด้วยคำพูดที่มีความไพเราะสุภาพ และอ่อนโยน และจะให้กำลังใจศิษย์อยู่เสมอ
 

2) เมตตาต่อญาติ
 

ครูควรมีเมตตาต่อญาติพี่น้องด้วยการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และสนับสนุนให้ทุกคนมีการศึกษา มีความก้าวหน้าในชีวิต และการงาน และช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบาดหมางระหว่างเครือญาติ การมีเมตตาต่อญาติพี่น้อง จะทำให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และของคนทุกคน
 

3) เมตตาต่อมิตร
 

โดยธรรมชาติของอาชีพครู ครูจะมีแต่ผู้ที่เป็นมิตร ทั้งที่รู้จัก และไม่รู้จัก ดังนั้นครูจึงต้องมีเมตตาต่อมิตรทุกคน ด้วยการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ และอื่นๆ ตามอัตภาพ การมีเมตตาต่อมิตรจะบ่งบอกถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครู ทำให้ครูเป็นที่รักและเคารพแก่ศิษย์ แก่บุคคลทั่วไป
 

4) เมตตาต่อศัตรู
 

การมีเมตตาต่อศัตรูถือเป็นคุณธรรมขั้นสูงที่ครูทุกคนพึงมี เนื่องจากครูเป็นปูชนียบุคคล หมายความว่าเป็นบุคคลที่น่านับถือ ที่สำคัญคือครูเป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์ หากครูเป็นคนวู่วาม ใจร้อน และชอบผูกพยาบาท ครูก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ได้ การมีเมตตาต่อศัตรู คือการไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท และการให้อภัย ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณธรรมอิสลามที่ท่านนบีได้ทำเป็นแบบอย่างไว้แล้วทั้งสิ้น
 

5) เมตตาต่อคนทุกคน
 

เมื่อครูคือผู้ที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอน ครูจึงต้องมีความเมตตาต่อคนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะบทบาทของครูคือบทบาทของอุละมาอฺ (ผู้รู้) ในการเผยแพร่ เป็นบทบาทเดียวกับท่านนบี (ซ.ล.) ที่ถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมมตาต่อชาวโลกทั้งมวล ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า:
 

"
وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ " 

ความว่า และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาต่อชาวโลกทั้งมวล (21 : 107)
 

ท่านนบี(ซ.ล.) เป็นแบบอย่างของครูผู้มีเมตตาแก่คนทุกคน ท่านเคยกล่าวว่า:
 

"
وَلكِنْ بَعَثَنِيْ مُعَلِّمًا مُيَسِّرًا " 

ความว่า แต่(อัลลอฮฺ)ได้ส่งฉันมาเป็นครู และเป็นครูที่ง่ายๆ (บันทึกโดยอะห์หมัด)
 

คำว่า เป็นครูที่ง่ายๆ หมายความว่า เป็นครูที่สอนสิ่งที่ง่ายๆ หรือสอนสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งง่าย และหมายถึง ครูที่มีความเรียบง่าย ดูแลเอาใจใส่ลูกศิษย์ ให้ความเมตตาต่อลูกศิษย์โดยเสมอกัน



บทส่งท้าย
 
ครูคือผู้ให้ ครูคือผู้เติมเต็ม ครูคือผู้มีเมตตา ดังนี้อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ท่านนบี (ซ.ล.) นั้นให้เกียรติผู้ที่ทำหน้าที่เป็นครู แม้ว่าจะเป็นคนต่างศาสนิก หรือศัตรู ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ท่านได้ไถ่ตัวเชลยศึกในสงครามบะดัร ซึ่งเป็นมุชริกีน ชาวมักกะฮฺ โดยให้เป็นครูสอนเด็กมุสลิมชาวนครมะดีนะฮฺจำนวนสิบคน แบบอย่างของท่านนบีนี้เป็นแบบอย่างที่งดงามที่มุสลิมทุกคนควรตระหนัก หากมุสลิมได้ตระหนักแล้ว กรณีการฆ่าครู หรือทำร้ายครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้คงจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
 

ความสำคัญของครูในทัศนะอิสลาม 
จากท่านอะบีอุมามะฮ์ ท่านนบี กล่าวว่า
 
แท้จริง อัลลอฮฺ มะลาอิกะฮฺของพระองค์ และชาวฟ้าและแผ่นดิน จนแม้กระทั่งมดในรูของมัน และแม้กระทั่งปลา ต่างก็ปราสาทพรแก่ครูผู้ที่สอนมนุษย์ทั้งหลาย ให้ประสบความดี
 
ในทัศนะของอิสลาม การตอบแทนความดีให้แก่ครูซึ่งสอนลูกศิษย์ด้วยความอุตสาหะและความตั้งใจ สามารถทำได้ดังนี้
 
1. เชื่อฟังครู ตราบเท่าที่ครูไม่สอนให้ฝ่าฝืนคำสั่งของศาสนา
 

การเชื่อฟังครู เป็นสิทธิ์ของผู้ที่เรียน จำเป็นต้องเชื่อฟังครูผู้สอน หากแต่ว่าครูได้สั่งให้ปฏิบัติสิ่งที่ขัดกับหลักการ และบทบัญญัติของศาสนา เช่นนี้อนุญาตให้ฝ่าฝืนครูผู้สอนได้ และการฝ่าฝืนครูที่สอนหรือการบังคับให้ปฏิบัติสิ่งที่ขัดกับหลักการศาสนา ไม่ถือว่าเป็นการเนรคุณต่อครูอาจารย์ เพราะถือว่าคำสอนหรือการบังคับของครูจะต้องไม่นอกเหนือคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า อีกทั้งท่านนบีมุหัมมัดยังได้กล่าวไว้อีกว่าไม่มีการเชื่อฟังสิ่งที่ถูกสร้าง ให้ฝ่าฝืนผู้สร้างยกตัวอย่างเช่นครูสั่งให้ลูกศิษย์ไปซื้อสุรา หรือครูสอนให้ขโมยสิ่งของผู้อื่น เช่นนี้เป็นต้น
 
2. ให้เกียรติแก่ครู
 
อิสลามสอนให้ผู้ที่เป็นลูกศิษย์ให้เกียรติแก่ครูอาจารย์ ไม่ว่าจะเป็นการอยู่ต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม
 
จากท่านอุบาดะฮฺ บุตรของศอมิตฺ แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
 
ไม่ถือว่าเป็นประชาชาติของฉัน สำหรับบุคคลที่ไม่ให้เกียรติต่อผู้อาวุโสของเรา, ผู้ที่ไม่เมตตาเยาวชนของเรา และผู้ไม่รู้จักสิทธิต่อผู้มีความรู้ของเรา” 20
 
จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า
 
พวกท่านจงนอบนอมต่อบุคคลที่ศึกษาความรู้จากเขา” 21
 
จากท่านอบู อุมามะฮฺ จากท่านนบีมุหัมมัดกล่าวว่า
 
บุคคล 3 ประเภทที่จะต้องให้ความสำคัญ นอกจากมุนาฟิก(ผู้กลับกลอกที่ไม่ให้ความสำคัญ)ผู้อาวุโสที่อยู่ในครรลองของอิสลาม, ผู้มีความรู้ และผู้นำที่ยุติธรรม” 22
 
3. นอบน้อมถ่อมตนต่อครูอาจารย์
 
จากท่านอบู ฮูร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า
 
พวกท่านจงนอบน้อมต่อบุคคลที่ศึกษาความรู้จากเขา” 23
 
ท่านอิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า
 
ฉันเคยยื่นกระดาษแผ่นหนึ่งต่อหน้าท่านอิมามมาลิกฺ ด้วยความนอบน้อมและด้วยความเคารพ โดยหวังว่าไม่ทำให้เขาได้ยินเสียงหล่นของกระดาษ
 
4. ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูกำลังสอน
 
การตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน ถือว่าเป็นมารยาทของผู้เรียนที่มีต่อครู ซึ่งมีรายงานหะดีษบทหนึ่งกล่าวในทำนองที่ว่า บรรดาเศาะหาบะฮฺนั่งฟังท่านนบีมุหัมมัดสอนอย่างสงบนิ่ง จนนกมาเกาะที่ศีรษะของพวกเขาโดยนึกว่าเป็นตอไม้ นี่ก็แสดงให้เห็น ถึงการตั้งใจฟังคำสอนของอิสลาม อีกทั้งยังแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้สอนอีกด้วย
 
สรุปตรงนี้ว่า อิสลามส่งเสริมการให้เกียรติและเชื่อฟังครูผู้สอนตราบเท่าที่ครูผู้สอนไม่สั่งสอนหรือบังคับให้กระทำในสิ่งที่สวนทางกับคำสอนของอิสลาม โดยไม่พิจารณาว่าผู้สอนจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมก็ตาม ถือว่าอยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันทั้งสิ้น

คอลีฟะราชวงศ์อูมัยยะ


ราชวงศ์อุมัยยะฮ์
(The Umayyad Dynasty)
ครองราชย์ระหว่างปี ฮ.ศ. 41-132 / ค.ศ. 661-750
ศูนย์กลางการปกครองที่ซีเรีย

ปีครองราชย์   รายนามเคาะลีฟะฮ์
ฮิจเราะฮ์ศักราช   คริสต์ศักราช  
41-60   661-680   
มุอาวิยะห์ อิบนุ อบีสุฟยาน (มุอาวิยะห์ที่ 1)
60-64   680-683   
ยะซีด ที่ 1
64-64   683-684   
มุอาวิยะห์ ที่ 2
64-65   684-685   
มัรวาน อิบนุ อัลหากัม (มัรวานที่ 1)
65-86   685-705   
อับดุลมะลีก
86-96   705-715   
อัลวะลีด ที่ 1
96-99   715-717   
สุไลมาน
99-101   717-720   
อุมัร อิบนุ อัลอะซีซ
101-105   720-724   
ยะซีด ที่ 2
105-125   724-743   
ฮิซาม
125-126   743-744   
อัลวะลีดที่ 2
126-126   744-744   
ยะซีดที่ 3
126-127   744-744   
อิบรอฮีม
127-132   744-750   
มัรวาน อิลหิมาร์ (มัรวานที่ 2)
การขึ้นมาของราชวงศ์อับบาสิยะฮ์
  
   
การเสียชีวิตของท่านอุษมาน อิบนุ อัฟฟาน เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนคนที่ 3 เป็นมูลเหตุของการขัดแย้งระหว่างท่านมุอาวิยะห์ข้าหลวงแห่งเมืองชาม (ซีเรีย) กับท่านอะลี อิบนุ อบีตอลิบเคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนคนที่ 4 ท่านมุอาวิยะห์เป็นข้าหลวงแห่งเมืองชามตั้งแต่สมัยเคาะลีฟะฮ์ อุมัร อิบนุ อัลคอฎฎ็อบและดำรงตำแหน่งดังกล่าวเรื่อยมากว่า 20 ปี ท่านมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติอย่างใกล้ชิดกับเคาะลีฟะฮ์อุษมาน อิบนุ อัฟฟาน และทั้งสองสืบเชื้อสายจากตระกูล  อุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า ?ราชวงศ์อุมัยยะฮ์เมื่อเคาะลีฟะฮ์อุษมานถูกฆาตกรรมอย่างโหดร้ายโดยกลุ่มกบฏ พร้อมกับการขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์แทนของท่านอะลีโดยการสนับสนุนจากกลุ่มกบฏ ทำให้ท่านมุอาวิยะห์ปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อท่านอะลี โดยกล่าวหาท่านอะลีว่ามีส่วนรู้เห็นในเหตุการณ์ฆาตกรรมเหล่านี้  ความขัดแย้งระหว่างท่านอะลีกับท่านมุอาวิยะห์เป็นมูลเหตุเกิดสงครามซิฟฟีนและมัจญ์ลิสตะห์กีมในเวลาต่อมาซึ่งมุสลิมสูญเสียเลือดเนื้อเป็นจำนวนมาก หลังจากมัจญ์ลิสตะห์กีมท่านอะลีถูกกลุ่มเคาะวาริจญ์ลอบสังหารเสียชีวิต บรรดาผู้ติดตามท่าน อะลีก็ได้แต่งตั้งท่านหะสัน บุตรของท่านอะลีขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮ์แทน     ท่านหะสันดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้แท่ท่านมุอาวียะห์ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกและสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้

เมื่อได้ขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์แล้วท่านมุอาวิยะฮ์ก็ได้อุทิศตนให้แก่การทำให้อาณาจักรอิสลามผนึกเข้าเป็นปึกแผ่นเรียกร้องความสามัคคีในชาติ  ซึ่งแตกสลายและไร้ความสงบสุขมาตั้งแต่ท่านเคาะลีฟะฮ์อุษมานถูกฆาตกรรม  เมื่อตั้งตัวได้สำเร็จแล้วท่านมุอาวิยะฮ์เริ่มหาทางพิชิตดินแดนอื่นๆ สานต่อจากเคาะลีฟะฮ์ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิชิตแอฟริกาเหนือภายใต้การนำของแม่ทัพอุกบะฮ์ (Uqbah) ท่านอุกบะฮ์ได้ทำการต่อสู้กับชาวโรมันเป็นเวลานาน ในที่สุดก็เอาขณะชาวโรมันได้และได้เข้าครองแอฟริกาเหนือพร้อมกับสร้างเมืองก็อยรอวาน  (Qairawan) ขึ้นทางใต้ของตูนิสเมื่อปี  ฮ.ศ.50  นอกจากนี้ท่านมุอาวิยะฮ์ได้ขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออกอย่างกว้างขวาง  เมืองเฮรัต (Herat)  ซึ่งแข็งข้อขึ้นก็ถูกตีได้เมื่อปี  ฮ.ศ. 41 อีกสองปีต่อมาก็พิชิตเมืองกาบูลได้ ส่วนเมืองฆอซนา (Ghasna) เมืองบัลค์ (Balkh) กอนดาฮาร (Qandahar) บุคอรอ (Bukhara) สมรขันฑ์ (Samarkand) และเมืองติรมิดก็ถูกผนวกเข้าเป็นรัฐอิสลามในสมัยของเคาะลีฟะฮ์มุอาวิยะฮ์  อาณาจักรอิสลามไม่เพียงแต่รวมกำลังอย่างมั่นคงเท่านั้น  แต่ยังขยายอาณาเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวางอีกด้วย 

   
ท่านมุอาวิยะฮ์เป็นผู้บริหารที่ดี  ทรงเป็นท่านแรกที่จัดตั้งกรมสารบรรณ (Diwan al-Khatam) และกรมไปรษณีย์ขึ้น  จัดตั้งกองกำลังตำรวจและกองทหารองครักษ์  ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองให้ทำการบริหารส่วนท้องถิ่นและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิเศษให้เป็นผู้บริหารเงินรายได้ของแผ่นดิน  ท่านมุอาวิยะฮ์เป็นท่านแรกที่ทรงเปลี่ยนสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักรอิสลามและเป็นท่านแรกที่สร้างตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม    ท่านทรงแต่งตั้งท่าน ยะซิดโอรสให้เป็นเคาะลีฟะฮ์  ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างในการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์ต่อมาตลอดราชวงศ์อุมัยะฮ์ทั้งราชวงศ์อับบาสียะฮ์และอื่นๆ อีกด้วย

   
เมื่อท่านมุอาวิยะฮ์สิ้นชีพในปี ค.ศ. 680  ท่านยะซิดขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์ การแต่งตั้งยะซิดเป็นเคาะลีฟะฮ์ย่อมมีกลุ่มที่คัดค้านและต่อต้านอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อต้านจากกลุ่มของอับดุลลอฮ์  อิบนุ  ซุบัยรและกลุ่มของท่านหุสัยน์ อิบนุ อะลี  ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์โศกนาฏกรรมกัรบาลาอ์ (Karbala?)  ในวันที่ 10 เดือนมูหัรรอม ฮ.ศ. 61  ท่านหุสัยน์และพรรคพวกถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม  เหตุการณ์กัรบาลาอ์ไม่เพียงแต่สะเทือนขวัญชาวมุสลิมเท่านั้น  แต่ยังเป็นบาดแผลทางประวัติศาสตร์ระหว่างฝ่ายซุนนีย์และฝ่ายชีอะฮ์ที่ไปอาจลบความรู้นึกคิดที่เป็นปรปักษ์ต่อกันได้และดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

   
หลังจากยะซิดสิ้นพระชนม์มุอาวิยะฮ์ที่โอรสของยะซิดได้ขึ้นมาเป็นเคาะลีฟะฮ์ต่อ  แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็สละตำแหน่งและสิ้นชีวิตไปในเวลาต่อมา  ท่านมุอาวิยะฮ์ที่  2  ไม่มีโอรสและไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นรัชทายาท ฝ่ายราชสำนักจึงแต่งตั้งท่านมัรวาน  อิบนุ  อิลหากัม เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านที่ แห่งราชวงศ์อุบัยยะฮ์  ท่านมัรวานครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปีก็สิ้นพระชนม์และได้ทรงแต่งตั้งโอรสชื่ออับดุลมาลิกเป็นเคาะลีฟะฮ์ต่อไป

   
เมื่ออับดุลมาลิก (ค.ศ. 685 ? 705) สามารถปราบปรามกลุ่มที่เป็นปรปักษ์ต่อตนเองได้เสร็จสิ้นแล้ว  ท่านได้เริ่มงานบูรณะความเป็นระเบียบภายในราชอาณาจักรอิสลาม  พระองค์ได้ทำการปฏิรูปและนำเอามาตรการการบริหารแผ่นดินใหม่ๆ มาใช้  ท่านทรงปฏิรูปเหรียญอาหรับใหม่  ทั้งเหรียญเงินและเหรียญทองแดง ซึ่งมีชื่อว่าดินาร์  ดิรฮัมและฟอล  นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการปฏิรูปภาษาอาหรับโดยการนำเอาสระและเครื่องหมายจุดใส่ลงในตัวอักษรอย่างที่เห็นอยู่  ในปัจจุบันนี้  ในด้านสถาปัตยกรรม  พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างโดมออฟเดอะร็อค (Dome  of  the  Rock)  ซึ่งเป็นมัสยิดที่สวยงามและมีชื่อเสียงมากในกรุงเยรูซาเล็ม  เคาะลีฟะฮ์อับดุลมาลิกสิ้นพระชนม์ในปี  ค.ศ. 705  หลังจากครองราชย์ได้  21  ปี 

   
เมื่ออับดุลมาลิกสิ้นพระชนม์  วะลีดที่  1  ซึ่งเป็นโอรสก็ขึ้นครองราชย์ในดามัสกัส   ท่านวะลีดที่  1 นับเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งของโลกมุสลิม  ในรัชสมัยของพระองค์ (ค.ศ. 705?715) อาณาจักรอิสลามมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศ ท่านทรงปราบปรามการแข็งข้อของพวกชีอะฮ์และคอวาริจญ์จนราบคาบลง ราชอาณาจักรเต็มไปด้วยความสงบสันติ ทรงขยายอาณาจักรอิสลามออกไปอย่างกว้างขวาง  เมืองบุคอรอ  สมรขันฑ์  เมืองสินธ์  เอเชียกลางทั้งหมด  แอฟริกาและสเปนต่างก็ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรอิสลาม  อาณาจักรของท่านขยายจากชายแดนจีนไปจนถึงอ่าวบิสเคย (Biscay) และจากทะเลโอรอล (Oral  Sea) ไปจนถึงเขตแดนกุจญ์ราตและบอมเบย์ในอินเดีย พระองค์ทรงสร้างโรงเรียนและโรงพยาบาล  จัดหาเงินช่วยเหลือคนชราและคนพิการ  จัดให้มีโรงพยาบาลคนตาบอดโดยเฉพาะ  ในรัชสมัยของพระองค์ศิลปะและวัฒนธรรมเริ่มเจริญรุ่งเรือง  พระองค์ทรงเป็นนักสร้างที่ยิ่งใหญ่  ทรงบูรณะและขยายมัสยิดแห่งมะดีนะฮ์และมัสยิดอัลอักซอในเยรูซาเล็ม  พระองค์ทรงพัฒนาการค้าให้เจริญรุ่งเรืองและปลอดภัย  นับได้ว่ารัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์วะลีดที่  1  ราชอาณาจักรอิสลามมีความสงบรุ่งเรืองและเจริญก้าวหน้ามากกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา  เมื่อเคาะลีฟะฮ์วะลีดพี่ชายสิ้นชีพลง  ท่านสุไลมานก็ขึ้นครองราชย์  พระองค์เป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มีเมตตาต่อสหายแต่โหดร้ายต่อศัตรูมีชื่อเสียงในเรื่องฮาเร็มและการมีชีวิตอย่างหรูหรา  ในรัชสมัยของพระองค์ ไม่มีอะไรที่เป็นคุณประโยชน์ที่โดดเด่นต่อราชอาณาจักรอิสลามมากนัก  คุณประโยชน์อย่างเดียวที่ท่านทรงทำให้แก่รัฐอิสลามก็คือการแต่งตั้งให้ลูกพี่ลูกน้องของท่านที่ชื่อว่าอุมัร  อิบนุ  อัลอะซีซ  เป็นเคาะลีฟะฮ์  ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของอาณาจักรอิสลาม  ท่านสุไลมาน  สิ้นชีพหลังจากที่เป็นเคาะลีฟะฮ์ได้  2  ปีกับอีก  5  เดือน

   
ท่านอุมัรอิบนุ  อัลอะซีซ  ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์ในปี ค.ศ. 717  ท่านเป็นอนุชาของอับดุลมาลิก  บิดาของท่านเป็นผู้ปกครองอียิปต์มาเป็นเวลานานและมารดาของท่านเป็นหลานปู่ของเคาะลีฟะฮ์   อุมัร อิบนุ  อัลค็อฏฏอบ  ท่านเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนาเป็นอย่างมาก  ทรงบริหารอาณาจักรอิสลามอย่างยุติธรรมจนได้สมญานามว่า  เคาะลีฟะฮ์อัรรอชิดูนคนที่  5  ท่านพยายามจำกัดความไม่เสมอภาคระหว่างมุสลิมชาวอาหรับกับมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ  ทรงมีจิตใจเมตตาต่อผู้ที่ถูกกดขี่  มีความกรุณาปรานีต่อครอบครัวของท่านอะลี  โดยสั่งเลิกการประณามท่านอะลีในการละหมาดร่วมในวันศุกร์  นอกจากนี้ท่านอุมัรได้ทรงแต่งตั้งบุคคลสำคัญๆ ขึ้นครองตำแหน่งสูงๆ โดยเลือกเอาผู้ที่เที่ยงธรรมและซื่อตรงเป็นสำคัญ  ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขแก่เหล่าประชาราษฎร์ที่อยู่ใต้ปกครอง  พระองค์ทรงเห็นความสำคัญในการทนุบำรุงดินแดนที่ได้มาครอบครองแล้วให้เจริญรุ่งเรืองมากกว่าที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างไกลออกไปอีก  ผลงานที่สำคัญอีกประการหนึ่งของท่านอุมัรก็คือ การรวบรวมหะดีษอย่างเป็นทางการ ตลอดการปกครองของท่านอุมัรประชาชนในราชอาณาจักรอิสลามทั้งชาวมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมต่างก็มีความสุขและได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมกันทั่วหน้า

   
เมื่อท่านอุมัรสิ้นชีพลงยะชีดที่  2  ก็ขึ้นครองราชย์  ในรัชสมัยของท่านยะชีดที่  2  เกิดกลุ่มกบฏต่างๆ ที่ไม่พอใจในตัวเคาะลีฟะฮ์  ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและประเทศกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตในขณะเดียวกันเคาะลีฟะฮ์ไม่ค่อยสนใจในการบริหารประเทศมากนัก  ระหว่างนั้นพวกอับบาสียะฮ์เริ่มมีอำนาจและแข็งข้อขึ้น  ตอนแรกกระทำกันอย่างลับๆ แต่ต่อมาก็ทำอย่างเปิดเผยเพื่อโค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ลง  ท่านฮิชามอนุชาของยะซีดที่  2  ขึ้นครองราชย์ต่อจากท่านยะซีด  ต้องเผชิญหน้ากับความยุ่งยากลำบากทั้งภายในและภายนอกประเทศ  ในรัฐสมัยของท่าน  การต่อสู้ระหว่างพวกอุมัยยะฮ์กับพวกอับบาสียะฮ์ดำเนินไปอย่างรุนแรง มีการก่อการจลาจลวุ่นวายทั่วราชอาณาจักร  อย่างไรก็ตามท่านยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อาณาจักรมุสลิมแผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล  ในทวีปยุโรป ภาคใต้ของฝรั่งเศสและเกือบทั้งหมดของสเปนก็ตกอยู่ในความครอบครองของมุสลิม  ในแอฟริกาตั้งแต่ช่องแคบยิบรอลตาไปจนถึงคอคอดสุเอซก็เป็นอาณาจักรมุสลิม  และในทวีปเอเชียก็ตั้งแต่ทะเลทรายซีนายไปจนถึงทุ่งหญ้าแห่งมองโกเลีย  เคาะลีฟะฮ์ฮิชามสิ้นชีพในปี ฮ.ศ. 743  ท่านทรงเป็นเคาะลีฟะฮ์สำคัญสุดท้ายของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  ท่านทรงใช้จ่ายเงินรายได้ของแผนดินไปในการขุดคลองสร้างปราสาทและจัดสวน  ทรงมีขันติธรรมต่อชาวคริสเตียน  ทรงเป็นนักวิชาการและผู้อุปถัมภ์ศิลปะและวรรณกรรม  แต่ท่านทรงมีข้อเสียอยู่คือ เป็นคนขี้ระแวงและโลภมาก  จึงมีการเปลี่ยนผู้ปกครองแคว้นบ่อยครั้งเกินความจำเป็นและมีการเก็บภาษีเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ท่านไม่เป็นที่นิยมของประชาชน

   
เมื่อฮิชามสิ้นชีพ  วะลีดที่  2  ขึ้นครองราชย์  ในตอนแรกท่านพยายามเอาชนะใจประชาชน  โดยการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่คนยากจน คนชราและคนพิการแต่ความโหดร้ายที่พระองค์ทรงมีต่อครอบครัวท่านอะลีและบนีฮาชิมก็ทำให้ชื่อเสียงของท่านฉาวโฉ่ไปทั่วประเทศ  พระองค์ปกครองได้ไม่ถึงปีก็ถูกท่านยะซีดที่  3  โอรสของเคาะลีฟะฮ์วะลีดที่  1  ก่อการกบฏและถูกสังหารเสียชีวิต  เมื่อวะลีดที่ สิ้นชีพท่านยะซีดที่ ผู้ก่อการกบฏก็ขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์ ท่านเป็นคนใจบุญและเคร่งศาสนา เมื่อครองราชย์ก็ได้สัญญาว่าจะปลดเปลื้องความเดือดร้อนของประชาชน จะลดภาษีและจะปราบปราบข้าราชการที่ทุจริตคดโกง แต่ท่านอยู่ในราชสมบัติไม่นานพอที่จะทำตามที่ทรงสัญญาไว้ได้ ท่านต้องผจญกับความยากลำบากนานาประการมาตั้งแต่ต้น มีการกบฏทั้งในปาเลสไตน์และแอฟริกา ท่านครองราชย์ได้แค่ 6 เดือนก็สิ้นพระชนม์ และท่านอิบรอฮีมอนุชาของยะซิดขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์แทน แต่ได้รับการยอมรับจากคนเพียงบางส่วนเท่านั้น จนกระทั่งท่านมัรวานที่ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจ เคาะลีฟะฮ์มัรวาน ที่ 2 หรือมัรวานอัลหิมาร์ ได้ย้ายเมืองหลวงจากดามัสกัสไปอยู่ที่ฮัรรอน ซึ่งทำให้ชาวซีเรียไม่พอใจและรวบรวมกำลังขึ้นต่อต้านเคาะลีฟะฮ์  ท่านมัรวานต้องผจญกับความยากลำบากต่างๆ นานา มีการกบฏในปาเลสไตน์ พวกคอวาริจญ์ก็แข็งข้อขึ้น และพวกบานีฮาชิมก็แพร่ขยายตัวออกไปอย่างน่ากลัว เกิดความครุ่นแค้นคุกรุ่นขึ้นทั่วราชอาณาจักรอุมัยยะฮ์ กองทัพซีเรียก็อ่อนแอลง ฉะนั้นสมัยของมัรวานจึงเต็มไปด้วยการต่อสู้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 750 อบูมุสลิมซึ่งเป็นตัวแทนการเคลื่อนไหวของกลุ่มอับบาสีย์พร้อมกับพรรคพวกได้ก่อกบฎและยึดเมืองคูราซาน (Khurasan) ได้สำเร็จ พร้อมกับขับไล่นัศร์ อิบนุ สัยยาร ซึ่งเป็นข้าหลวงของเคาะลีฟะฮ์มัรวานที่ 2 ประจำแคว้นคูราซานออกจากพื้นที่ การก่อกบฏและยึดอำนาจได้ขยายไปเรื่อยๆ ยังแคว้นอื่นๆ จนกระทั่งเคาะลีฟะฮ์มัรวานที่ซึ่งเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์สุดท้ายของราชวงค์อุมัยยะฮ์ถูกสังหารเสียชีวิต เมื่อกลุ่มอับบาสีย์ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจและโค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ พวกเขาได้พยายามประหัตประหารล้างเผ่าพันธุ์ทุกคนในตระกูลอุมัยยะฮ์ มีคนในตระกูลอะมะวีย์ไม่กี่คนที่สามารถหนีรอดจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์นี้ได้   ในบรรดาผู้ที่หนีรอดเหล่านั้นคือท่านอับดุลเราะหมาน ซึ่งเป็นหลานปู่ของเคาะลีฟะฮ์ฮิซามได้หนีเอาชีวิตรอดไปที่แอฟริกาเหนือและต่อมาได้สร้างราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่สเปนขึ้น
ة )

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอฺะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "คิลาฟะฮฺในประชาชาติของฉันจะมีอยู่สามสิบปี แล้วจากนั้นก็จะเป็นระบบกษัตริย์" ( อัตติรมิซี : อัลฟิตัน )

ก็นับดูนะครับ...
อบูบักร์................ 2 ปี
อุมัร .................. 10 ปี
อุษมาน ............ 12 ปี
อฺะลี+ฮะซัน ........ 6 ปี
พอดีครับ 30 ปี 

อัล-อันดะลุส (อาหรับ: الأندلس, อังกฤษ: Al-Andalus) เป็นชื่อภาษาอาหรับของบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ (ที่เรียกโดยทั่วไปว่ามัวร์) ในช่วงเวลาต่างๆ กันระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492[1][2][3]
หลังจากการพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย อัล-อันดะลุสก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตบริหารห้าเขตที่ใกล้เคียงกับเขตในปัจจุบันที่เป็นแคว้นอันดาลูเซีย, แคว้นกาลิเซีย และ ลูซิตาเนีย, คาสตีล และ เลออน, แคว้นอารากอน และ แคว้นคาเทโลเนีย, และ เซ็พติเมเนีย[4] ซึ่งถือว่าเป็นเขตการบริหารของจักรวรรดิต่างๆ ที่ตามกันมาที่เริ่มด้วยจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ที่ก่อตั้งโดยอัล-วาลีดที่ 1 (ค.ศ. 711-ค.ศ. 750); อาราจักรอีเมียร์แห่งกอร์โดบา (ราว ค.ศ. 750-ค.ศ. 929); อาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบา (ค.ศ. 929-ค.ศ. 1031); และของราชอาณาจักรย่อยๆ ที่ตามมาจากอาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบา
ในช่วงเวลาหลายร้อยปีต่อมาอัล-อันดะลุสก็กลายเป็นจังหวัดของราชวงศ์เบอร์เบอร์มุสลิมแห่งอัลมอราวิยะห์ และ อัลโมฮัด ต่อมาก็แบ่งออกเป็นรัฐย่อยๆ แต่สำคัญที่สุดคืออาณาจักรอีเมียร์แห่งกรานาดา ตลอดช่วงเวลาต่างๆ ในประวัติศาสตร์โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบาอัล-อันดะลุสก็เป็นศูนย์กลางของการศึกษา และเมืองกอร์โดบาก็กลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของทั้งบริเวณเมดิเตอเรเนียนและโลกอิสลาม
อัล-อันดะลุสก็มีความขัดแย้งกับราชอาณาจักรคริสเตียนทางตอนเหนือตลอดมาในสมัยประวัติศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1085 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งคาสตีลก็ทรงยึดเมืองโทเลโดได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมโทรมของอำนาจของมุสลิมในไอบีเรีย เมื่อมาถึง ค.ศ. 1236 หลังจากเสียกอร์โดบา ราชอาณาจักรกรานาดาก็กลายเป็นเพียงดินแดนเดียวที่ยังเหลือเป็นของมุสลิมในดินแดนที่มารู้จักกันในปัจจุบันว่าสเปน
การพิชิตดินแดนคืนของโปรตุเกสเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1249 โดยการยึดอัลการ์ฟโดยพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 ในปี ค.ศ. 1238 กรานาดาก็กลายเป็นอาณาจักรบริวารของราชอาณาจักรคาสตีลที่ขณะนั้นปกครองโดยพระเจ้าเฟรนานโดที่ 3 เมื่อวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1492 , มุฮัมมัดที่ 12 แห่งกรานาดาก็ยอมแพ้ยกการปกครองกรานาดาให้แก่พระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอน และ สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีลผู้ได้รับสมญานามว่า “Los Reyes Católicos” (พระมหากษัตริย์โรมันคาทอลิก)


ก่อนหน้าอะลีจะสิ้นชีวิต มุอาวิยะฮ.ได้อ้างว่าตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ.ที่ถูกต้อง หลังจากนั้น ตระกูลอุมัยยะฮ.ของเขาได้มีเคาะลีฟะฮ.ปกครองมุสลิมสืบทอดต่อกันมาถึง 14 คน จนถึง ค.ศ. 750 มุอาวิยะฮ.ได้ย้ายเมืองหลวงของแผ่นดินอิสลามจากมะดีนะฮ.ไปที่ดามัสกัส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของซีเรีย เพราะเขาเคยเป็นผู้ปกครองอยู่ที่นั่นมาตั้งแต่สมัยของเคาะลีฟะฮ.อุษมาน และผู้สนับสนุนเขาก็อยู่ที่นั่นด้วย เคาะลีฟะฮ.ในสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ.แต่ละคนจะใช้วิธีการแต่งตั้งญาติใกล้ชิดของตัวเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากตน ก่อนที่จะเสียชีวิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการโต้แย้ง แต่ขณะเดียวกัน การทำเช่นนั้นก็เป็นการสร้างระบบการปกครองด้วยวงศ์ตระกูลขึ้นมา

ในระหว่างการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ. อำนาจของพวกอาหรับได้แผ่ขยายไปทางด้านตะวันตกจนถึงชายแดนของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน และไปถึงอินเดียทางด้านตะวันออก พวกอาหรับได้สร้างมัสญิดที่มีชื่อเสียงขึ้นมาหลายแห่ง เช่น มัสญิดโดมหิน (Dome of the Rock) ในเมืองเยรูซาเล็ม พวกเขาอนุญาติให้ประชาชนนำปัญหามาปรึกษาและรับฟังคำแนะนำของที่ปรึกษาที่พวกเขาตั้งขึ้น เช่นเดียวกับที่หัวหน้าเผ่าอาหรับในทะเลทรายเคยปฏิบัติกัน พนักงานชาวคริสเตียนของอาณาจักรไบแซนตินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จะถูกเลี้ยงดูและจะให้ตำแหน่งสูง ๆ แก่ชาวอาหรับเพื่อเป็นผู้คอยควบคุมพนักงานเหล่านี้ พวกอาหรับได้จัดให้มีระบบไปรษณีย์ขึ้นโดยใช้คนขี่ม้าเร็วไปยังส่วนต่าง ๆ ของแผ่นดินอิสลาม ภาษาอาหรับได้ถูกนำมาแทนภาษากรีกและเปอร์เซีย เหรียญกษาปณ์อาหรับ เช่น เหรียญทองคำดินาร์และเหรียญเงินดิร.ฮัมได้ถูกนำมาใช้ในสมัยนี้เป็นครั้งแรกก่อนหน้านี้ ชาวอาหรับได้ใช้เหรียญของประเทศอื่น นี่เป็นสิ่งที่แสดงว่าการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ.มีความเข้มแข็งมั่นคงกว่าเคาะลีฟะฮ.คนก่อน ๆ

แต่ขณะเดียวกัน ราชวงศ์อุมัยยะฮ.ก็เริ่มละทิ้งกฎระเบียบของอิสลาม คัมภีร์กุรอานมิได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของกฎหมาย และผู้ปกครองในราชวงศ์นี้มิได้เป็นมุสลิมที่ดีเหมือนกับเคาะลีฟะฮ.ในยุคต้น พวกเขาเริ่มสร้างวังหรูหราไว้นอกเมืองหลายแห่งเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการล่าสัตว์หรือการดื่มสิ่งมึนเมา และเต้นรำท่ามกลางผู้หญิงสวยงาม กวีและนักดนตรี สภาพเช่นนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ. ท้องพระโรงภายในวังของผู้ปกครองในสมัยนี้ปูด้วยหินอ่อนสีขาว กำแพงของมัสญิดถูกตกแต่งด้วยหินอ่อนสีสรรตระการตาและเหนือขึ้นไปก็จะประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีอื่น ๆ ที่ตกแต่งเป็นรูปต้นไม้ เมืองต่าง ๆ และตัวอักษรอย่างวิจิตรงดงาม ภาพต้นไม้และเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งหลายสามารถพบได้บนผนังสิ่งก่อสร้างเหล่านี้

มุสลิมหลายคนโดยเฉพาะพวกชีอ๊ะฮ.คิดว่าขณะนี้ผู้ปกครองมุสลิมได้หลงลืมอิสลามแล้ว พวกยิวและคริสเตียนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพวกอาหรับก็เริ่มไม่พอใจด้วยเช่นกัน คนพวกนี้ไม่พอใจที่พวกตนต้องจ่ายภาษีมากกว่ามุสลิม พวกเปอร์เซียก็เช่นกัน เพราะชาวเปอร์เซียเคยมีประวัติศาสตร์ที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนและคนพวกนี้ไม่พอในที่พวกอาหรับดูถูกพวกตน ขณะเดียวกันทหารอาหรับเร่ร่อนที่เคยต่อสู้ให้ราชวงศ์อุมัยยะฮ.ได้มีอำนาจปกครองก็เริ่มต้นตั้งหลักแหล่งประกอบอาชีพการเกษตร และไม่ต้องการที่จะทำสงครามเพื่อราชวงศ์อุมัยยะฮ.อีกต่อไป

ไม่นานนัก ได้มีชาวอาหรับกลุ่มหนึ่งใช้ความไม่พอใจนี้สร้างความปั่นป่วนวุ่นวายให้แก่ราชวงศ์อุมัยยะฮ. คนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแผ่นดินที่ยึดมาจากอาณาจักรเปอร์เซียและเป็นลูกหลานของอับบาสซึ่งเป็นลุงของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า อับบาซี คนกลุ่มนี้ได้เริ่มต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะฮ.ด้วยการประณามความเลวทรามของผู้ปกครองก่อน หลังจากนั้นก็รวมคนที่สนับสนุนพวกตนขึ้นเป็นกองทัพและโค่นอำนาจการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ. ในการทำสงครามครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 750 พวกอับบาซีได้รับชัยชนะและเมื่อเคาะลีฟะฮ.ถูกฆ่า อำนาจการปกครองมุสลิมของราชวงศ์อุมัยยะฮ.ก็ต้องสิ้นสุด